การบริหารจัดการวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวารสารระดับชาติ TCI กลุ่ม 1
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, วารสารกฎหมาย, ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย, ฐานข้อมูลTCI, วารสารระดับชาติบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ และเสนอแนะมาตรการบริหารจัดการวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวารสารระดับชาติ TCI กลุ่ม 1 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างคือตัวแทนวารสารด้านกฎหมาย ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 7 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีค่า IOC ระหว่าง 0.50-1.00 ผลการศึกษาพบว่า วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ประสบกับปัญหาและอุปสรรคบางประการเรื่องการบริหารจัดการในประเด็นด้านทรัพยากรบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านบทความ ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ และด้านกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์เลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการ 1) ด้านทรัพยากรบุคคลด้วยการเพิ่มจำนวนคนทำงานและการทำงานให้เกิดความต่อเนื่อง 2) ด้านงบประมาณด้วยการประสานงานกับผู้ประเมินบทความ การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัย การไม่มีเงินสมนาคุณผู้เขียน กำหนดจำนวนค่าตอบแทนประเมินบทความให้มีความแตกต่างกัน 3) ด้านบทความด้วยการประสานงานกับผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเฉพาะทาง วิธีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ให้เขียนบทความ การประกาศหยุดรับพิจารณาบทความใหม่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การปฏิเสธการรับพิจารณาบทความ และแจ้งเตือนกำหนดระยะเวลาการประเมินบทความ 4) ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในบางช่วงเวลา และการพิจารณาซื้อบริการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ 5) ด้านกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างเข้มงวด และวิธีการบังคับใช้ประกาศคณะนิติศาสตร์ เรื่อง การจัดทำวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2564
References
กัญญาภัค สระแก้ว, นวลพรรณ ชำนิ, และอนันตญา ขจัดโรคา. (2562). การพัฒนาคุณภาพวารสารรามาธิบดีเวชสาร: จากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(1), 18–19.
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2566). วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/index
จุฑารัตน์ จัตุกูล. (2561). การบริหารจัดการระบบการกำกับและติดตามการประเมินบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(2), 35–36.
เนติบัณฑิตยสภา. (2566). บทบัณฑิตย์. http://www.thethaibar.org/botbundit/
เวคิน นพนิตย์. (2556). ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการจัดทำวารสารวิชาการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 8(2), 91–94.
ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย. (2566ก). ประวัติความเป็นมา. https://tci-thailand.org/?page_id=21
ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย. (2566ข). ภารกิจของศูนย์ Tci. https://tci-thailand.org/?page_id=23
Babor, T., Tsiboukli, A., Hellman, M., & Bahji, A. (2023). Ways to get a more balanced gender representation in addiction journals’ management and workforce. NAD Nordic Studies on Alcohol and Drugs, 40(6), 560–567. https://doi.org/10.1177/14550725231181440
Huang, Y., Li, R., Liu, X., & Zhang, L. (2022). Journal evaluation systems: evolution and practices in China’s social sciences. In Handbook on Research Assessment in the Social Sciences. Edward Elgar Publishing.
Veretennik, E., & Yudkevich, M. (2023). Inconsistent quality signals: Evidence from the regional journals. Scientometrics, 128(6), 3675–3701. https://doi.org/10.1007/s11192-023-04723-4
Verma, L. (2021). OJS security analysis: Issues, reasons, and possible solutions. DESIDOC Journal of Library and Information Technology, 41(5), 391–396. https://doi.org/10.14429/djlit.41.5.15975
Yeon, A. L. (2021). An overview of high impact law journals in Asian countries. UUM Journal of Legal Studies, 12(2), 253–282. https://doi.org/10.32890/UUMJLS2021.12.2.11
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.