ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ความพึงพอใจ, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา ต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคืออาจารย์ 41 คน และนักศึกษา 413 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก ( = 4.34,
S.D.= 0.48, = 3.94, S.D.= 0.63) โดยทั้งอาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจด้านการบริการของเจ้าหน้าที่สูงที่สุด ( =4.75,S.D.=1.40, =4.09, S.D.=0.54) และมีความพึงพอใจด้านโปรแกรมการใช้งานต่ำที่สุด ( =4.26, S.D.=0.69, =3.93, S.D.=0.66) สำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจพบว่า ปัจจัยที่ศึกษาทั้ง5 ด้านมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านระบบเครือข่าย (r=.700, P-value <.01) รองลงมาคือปัจจัยด้านโปรแกรมการใช้งาน(r=.694, P-value <.01) ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (r=.668, P-value <.01) ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ (r=.640, P-value <.01) และด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (r=.624, P-value <.01) ตามลำดับ
References
จารุวรรณ รักเริ่มวงษ์. (2566). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ ปขมท., 12(3), 83-97.
เจษฎา มีช้าง. (2560). การศึกษาการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์อาคารปราบไตรจักร มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 3(1), 81-87.
ฉันทนา ปาปัดถา, วราพร ธนพิทักษ์, มานิตา กลับดี, จุฬามณี นาเวศ, นิภาภัทร์ สมชื่อ, และอภิศักดิ์ อิศรศักดิ์
ณ อยุธยา. (2561). การศึกษาความเพียงพอ ความขาดแคลน และความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 1(2), 98-108.
ณฐรักษ์ พรมราช. (2565). ระบบการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้: การให้บริการสิ่งสนับสนุนการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารมวลชน, 10(1), 123-156.
ประทุมวรรณ มูลศรี. (2563). การสำรวจความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการ ปขมท., 9(2), 66-75.
มะลิวรรณ พฤฒารา. (2561). การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ใน Proceeding National & International Conference (หน้า 1080-1091).
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วราภรณ์ จันทะศร. (2563). แนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1), 27-37.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง.