ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้แต่ง

  • จารุวัฒน์ สอนมนต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี 22000
  • ดวงนภา ประดิษฐศิลป์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี 22000
  • กนกพร เชิญกลาง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี 22000

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน, ทัศนะ, ผู้มีส่วนได้เสีย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย  2)  เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามผู้มีส่วนได้เสีย  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  179 ราย ได้รับแบบสอบถามคืนกลับมาอย่างสมบูรณ์จำนวน 127 ฉบับ แบ่งเป็นคณาจารย์ จำนวน  20 ราย และนักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวน  81  ราย และตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 26 แห่ง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ และร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า  1) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.51)  อาจารย์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.53)  รองลงมา คือ นักศึกษา และตัวแทนสถานประกอบการ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  (x = 4.47  และ x  = 4.43)  )  ตามลำดับ  2)  ผู้มีส่วนได้เสียทั้งสามกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563–2570. https://www.mhesi.go.th/index.php/stg-policy/930-2563-2570.html

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2562). รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL). https://anyflip.com/idvh/otye/basic

นิธิภักดิ์ กทิศาสตร์, ธารีรัตน์ ขูลีลัง, และนนทภรณ์ บุญจึงเจริญรัตน์. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระหว่างการทำงานกับการเรียนการสอน สำหรับสาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรนภา เตียสุทธิกุล, พัฒนา พรหมณี, จานนท์ ศรีเกตุ, นาวิน มีนะกรรณ, และสุวุฒิ พงษ์วารินศาสตร์. (2561). การวัดระดับเจตคติในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุข. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(4), 214-225.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). แนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. https://reg.kpru.ac.th/regkpru/gallery/g_data/wil4/w_04.pdf

วาสิณี มหาพีราภรณ์ และวิรงรอง มีศรีสุข. (2562). ความคาดหวังและการรับรู้เรื่องการฝึกงานของนักศึกษาในหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร [จุลนิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2562). แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน. https://qa.kpru.ac.th/docqaii/doc/KPRU2562_5.1-1-04.pdf

สุไฮลา หมัดเลียด. (2562). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสนับสนุนการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-01-2025

How to Cite

สอนมนต์ จ. ., ประดิษฐศิลป์ ด. ., & เชิญกลาง ก. . (2025). ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(1). สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1343