ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ความคาดหวัง, การให้บริการ, งานการเงิน, การคลังและพัสดุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากร อาจารย์/คณาจารย์ ประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ สายปฏิบัติการ อาจารย์/คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่/ลูกจ้างโครงการ จำนวน 50 คน และ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินออนไลน์ วิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมของงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความพึงพอใจของหน่วยการเงินและบัญชี พบว่า มีความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ความพึงพอใจของหน่วยพัสดุ พบว่า มีความพึงพอใจต่อกระบวนการ/ขั้นตอนในการให้บริการ และความพึงพอใจของหน่วย One Stop Service พบว่า มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ 2) มีความคาดหวัง ต่อการให้บริการของงาน โดยรักษาระดับการให้บริการ และเพิ่มช่องทางการทำงานในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น 3) ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน จากผลการวิจัยพบว่า มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ ในระดับมากในทุกด้าน และมีความคาดหวังต่อการให้บริการด้านความถูกต้อง รวดเร็ว และการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการให้บริการ ซึ่งผลการวิจัยที่ได้จะช่วยพัฒนาการบริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ ต่อไป
References
จีราภรณ์ พยัคมะเริง. (2560). การสำรวจความพึงพอใจและความคาดหวังต่อระบบการทำงาน และการให้บริการของงานสารบรรณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(1), 13–23.
นพดล อินจันทร์, ปิยวดี มากพา, และกานต์รวี ชมเชย. (2554). การศึกษาการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด, และคณะ. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปภากรณ์ พรจิตไพศาล. (2562). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของสำนักงานคลังจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปวีณา จันทร์วิจิตร. (2565). รายงานผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการ กองคลัง มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565.
ภัณฑิรา วิเชียร, และคณะ. (2563). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(3), 188–195.
วรวรรณ ไกรนรา. (2564). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการบริการของกลุ่มงานการเงินโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. Journal of Health Sciences and Pedagogy, 1(1), 50–63.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ คำคนซื่อ, และมนตรี อนันตรักษ์. (2558). ความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผลของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 137–145.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York, NY: Harper and Row.