หลักในการรับฟังพยานหลักฐานในชั้นศาล
คำสำคัญ:
ศาล,พยาน,หลักฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักในการรับฟังพยานหลักฐานคดีอาญาในชั้นศาล(ชั้นพิจารณา) ซึ่งจะศึกษาเฉพาะหลักเกณฑ์การรับฟังพยานบุคคลในคดีอาญาชั้นพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ เท่านั้น
ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าที่รับฟังพยานบุคคลในชั้นศาล หลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานชั้นศาลนั้นผู้พิพากษาหรือศาลต้องใช้ดุลพินิจไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นหลักในการรับฟังพยานบุคคลในคดีอาญาและในคดีอาญาเป็นเรื่องการกระทำที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ประเด็นในคดีจึงมีอยู่ ๒ ประการ คือ หลักข้อกฎหมาย จำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ซึ่งเป็นประเด็นตายตัวไม่มีทางเป็นอื่นไปได้และหลักข้อเท็จจริงกล่าวคือ
(๑) หลักข้อกฎหมาย ในชั้นพิจารณาหลักเกณฑ์การรับฟังพยานหลักฐานคดีอาญาในชั้นศาล (ชั้นพิจารณา) ทางกฎหมายอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นหลักทั่วไปในการรับฟังพยานหลักฐานกล่าว คือ ต้องเป็นพยานหลักฐานซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ โดยแยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พยานหลักฐานซึ่งความผิดหรือบริสุทธิ์จำเลยโดยตรงและส่วนที่สองเป็นข้อยกเว้นของส่วนแรกห้ามมิให้รับฟังเพราะเป็นการได้มาโดยมิชอบหรือมิได้มาด้วยความสมัครใจ
(๒)หลักข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานบุคคลในชั้นศาล (ชั้นพิจารณา) การรับฟังการพิจารณาคดีคือ หลักการเป็นข้อเท็จจริงนั้น หลักปัญหาเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของศาลตามรูปคดีโดยความเป็นอิสรภาพและเสมอภาค หลักความใกล้ชิดกับเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หลักตรรกวิทยาหรือหลักเหตุและผล หลักธรรมชาติหรือปรากฏการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งนี้ต้องประกอบกับตัวของพยานเองด้วย คือ
๑) มีความสามารถที่จะเป็นพยานได้ สามารถที่จะเข้าใจและตอบคำถามได้
๒) มีลักษณะของความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงของพยาน เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองมาโดยตรง
๓) มีความสามารถในการถ่ายทอด ข้อเท็จจริง จากการสัมผัสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถจดจำและถ่ายทอดเหตุการณ์นั้นได้
References
Charoenboon, K. (2006). Guide of disciplinary investigation, National Police Act B. C. 2547. 21 Century. [In Thai]
Jintasatean, C. (2010). The exception of exclusionary rule on improperly obtained evidence under section 226/1 of Thai criminal procedure code. Master’s Thesis of Law, Thammasat University. [In Thai]
ชีพ จุลมนต์. (2556). ความเป็นกลางและความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีภายใต้. หลักนิติธรรม. เอกสารวิชาการส่วนบุคคล.
ธานิศ เกศวพิทักษ์. (2558). คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2 ภาค 3-4. กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยามพับลิชชิ่ง จำกัด.
วิภา ปิ่นวีระ. (2551). บทบาทของศาลในการพิจารณาคดีอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ. (2550). “กฎหมายว่าด้วยคำรับสารภาพ: บทนำและความสำคัญของ คำรับสารภาพ”. บทบัณฑิตย์เล่มที่ 63 ตอนที่ 1.
อรรถพล ใหญ่สว่าง. (2560). คำอธิบายวิชาสัมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักอบรม กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.