https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/issue/feed
วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
2023-11-25T10:06:24+07:00
ลัญจกร เสวตะ
lsewata@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชการเฉลิมกาญจนาเป็นวารสารวิชาการ ที่มุ่งเน้นการตีพิมพ์บทความ ทั้งบทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยมีการตีพิมพ์บทความในสาขารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p>
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/199
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
2023-11-03T13:23:42+07:00
โสภาพรรณ แก้วหาญ
b.kulinthorn@gmail.com
อรบุษป์ วีระสุนทร
b.kulinthorn@gmail.com
ณัฐธัญ โพธิชัย
b.kulinthorn@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ทางโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณะสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล แบบแจกแจงความถี่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ทางโภชนาการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)</p>
2022-06-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/202
การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่บ้านอู่ตะเภา ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
2023-11-03T13:37:13+07:00
ปรวุฒิ เมืองอู่
wiriya.choti@gmail.com
เนติมาย์ ไวยรัตน์
wiriya.choti@gmail.com
ทัศณา เกื้อเส้ง
wiriya.choti@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับปัจจัยด้านความรู้และเจตคติเรื่องโรคความดันโลหิตสูง (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับปัจจัยส่วนบุคคลเรื่องโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่บ้านอู่ตะเภา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่หมู่บ้านอู่ตะเภา ทั้งหมด 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม SPSS ในการแปลผลข้อมูลวิจัยจากแบบทดสอบของเครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัย ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมด้านความเครียด พฤติกรรมด้านการรับประทานยา พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง</p>
2022-07-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/204
ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
2023-11-03T13:42:51+07:00
ธนพร ศรีเบ็ญจา
wiriya.choti@gmail.com
ธันยมัย ฉันทวี
wiriya.choti@gmail.com
วาสินี ทีคำเกษ
wiriya.choti@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยเฉลิมกาญจนา กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล แบบแจกแจงความถี่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติ พบว่า ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 70.28 รองลงมา คือภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 56.47 ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 54.38 และภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 39.50 ตามลำดับ</p>
2022-08-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/205
เปรียบเทียบการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษ โดยใช้ตัวแบบ ARIMA ARIMAX
2023-11-03T13:48:14+07:00
พรพนา สระหารดิษ
audchara36@gmail.com
ชานนทร์ ศิริกุลสถิต
audchara36@gmail.com
ปรีดา มูสิกรักษ์
audchara36@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2560 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 เป็นจำนวน 72 เดือน ซึ่งตัวแปรต้นของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMA ได้แก่ ข้อมูลรายได้ทางหลวงพิเศษ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษด้วยตัวแบบ ARIMA และการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMAX ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMAX โดยใช้เกณฑ์ค่า MAPE MAE MSE RMSE Ljung-Box Q(18) และ BIC โดยเกณฑ์เหล่านี้เลือกจากค่าที่ต่ำที่สุด และค่า p-value มากกว่าหรือเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษด้วยตัวแบบ ARIMA(2,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(3,1,0) ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษตัวแบบ ARIMA(2,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(3,1,0) โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 0.661 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 0.123 มีค่า RMSE เท่ากับ 0.171</p>
2022-08-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/206
พยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทกับเงินตราของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
2023-11-03T13:58:41+07:00
บุษรินทร์ ฤทธิมนตรี
thatchai1972@hotmail.com
จุฬาเหมรัตน์ รัตนบุรี
thatchai1972@hotmail.com
นภสวรรณ ศรีสุข
thatchai1972@hotmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดในการพยากรณ์อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน โดยศึกษาข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นข้อมูลรายวันตั้งแต่วันที่ 4 เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 เป็นระยะเวลา 241 วัน โดยไม่นับรวมวันเสาร์และอาทิตย์ ซึ่งตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์ประกอบด้วย ตัวแบบวิธีการปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย วิธีการปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลปรับซ้ำสองครั้ง วิธีการปรับให้เรียบแบบโฮลต์-วินเทอร์ (บวก) วิธีการปรับให้เรียบแบบโฮลต์-วินเทอร์ (คูณ) และวิธีการรวมการถดถอยในตัวกับการเฉลี่ยเคลื่อนที่ จากนั้นเลือกตัวแบบที่ดีที่สุดโดยใช้เกณฑ์วัดความคลาดเคลื่อนประกอบด้วย ค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อน (MAPE) ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAE) ค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) และค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีสุดคือ ประเทศสิงคโปร์ มีค่า ARIMA (3, 1, 0) มึค่า MAPE เท่ากับ 0.259 MAE เท่ากับ 0.066 MSE เท่ากับ 0.007396 RMSE เท่ากับ 0.086000</p>
2022-10-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/208
เปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX
2023-11-03T14:04:00+07:00
อมฤทธิ์ จันทนลาช
audchara36@gmail.com
นงเยาว์ เจริญศรี
audchara36@gmail.com
พูลศักดิ์ พลโกษฐ์
audchara36@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566 เป็นจำนวน 136 เดือน ซึ่งตัวแปรต้นของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMA ได้แก่ ข้อมูลการซื้อขายราคาทองคำถัวเฉลี่ยทองคำรูปพรรณ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA และการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMAX ตัวแปรต้น ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA อัตราการแลกเปลี่ยนเงินUSD (บาท) ดัชนีค่าเงินบาท ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ และดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมัน (ดูไบ) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMAX โดยใช้เกณฑ์ค่า MAPE MAE <em>MSE</em> RMSE Ljung-Box Q(18) และ BIC โดยเกณฑ์เหล่านี้เลือกจากค่าที่ต่ำที่สุด และค่า p-value มากกว่าหรือเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ราคาซื้อทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0) โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 2.040 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 447.450 มีค่า RMSE เท่ากับ 447.450 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.384 มีค่า BIC เท่ากับ 12.873 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.990 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ การพยากรณ์ราคาขายทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0) โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 1.993 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 455.887 มีค่า RMSE เท่ากับ 592.078 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.139 มีค่า BIC เท่ากับ 12.885 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.992 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ </p>
2022-09-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/209
เปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองคำแท่งด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX
2023-11-03T14:07:38+07:00
ลัญจกร เสวตะ
audchara36@gmail.com
จิตมาส อินทรสิงห์
audchara36@gmail.com
ชัชฎารัตน์ ธวัลหทัยกุล
audchara36@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566 เป็นจำนวน 136 เดือน ซึ่งตัวแปรต้นของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMA ได้แก่ ข้อมูลการซื้อขายราคาทองคำถัวเฉลี่ยทองคำรูปพรรณ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA และการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMAX ตัวแปรต้น ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA อัตราการแลกเปลี่ยนเงินUSD (บาท) ดัชนีค่าเงินบาท ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ และดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมัน (ดูไบ) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMAX โดยใช้เกณฑ์ค่า MAPE MAE <em>MSE</em> RMSE Ljung-Box Q(18) และ BIC โดยเกณฑ์เหล่านี้เลือกจากค่าที่ต่ำที่สุด และค่า p-value มากกว่าหรือเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ราคาซื้อทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0) โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 2.040 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 447.450 มีค่า RMSE เท่ากับ 447.450 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.384 มีค่า BIC เท่ากับ 12.873 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.990 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ การพยากรณ์ราคาขายทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0) โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 1.993 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 455.887 มีค่า RMSE เท่ากับ 592.078 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.139 มีค่า BIC เท่ากับ 12.885 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.992 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: ดัชนีค่าเงินบาท ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมัน (ดูไบ)</p>
2022-11-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/212
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันพุของเด็กอายุ 10-14 ปี ในเขตพื้นที่บ้านบางกระบือ ตำบลท่าไร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2023-11-03T14:16:32+07:00
น่ารัก จุดาบุตร
atiyaporn.ni@gmail.com
ธัญพร พลโกษฐ์
atiyaporn.ni@gmail.com
ชญาดา ศิริภิรมย์
atiyaporn.ni@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างละ 70 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง มาตรฐาน และทดสอบสถิติไคสแควร์ (Chi-square Test) ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 10-14 ปี อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 91.43 ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 10-14 ปี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปากกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 10-14 ปี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p>
2023-11-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/210
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ตำบลห้วยยูงและ ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
2023-11-03T14:11:38+07:00
นารถฤดี จันทปสาร
nattawut.jittra@gmail.com
พิชยา อุโฆษอารามิก
nattawut.jittra@gmail.com
สุวะพิชชา ธนาวุฒิ
nattawut.jittra@gmail.com
<p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุตำบลห้วยยูงและตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งประกอบด้วยแบบสำรวจข้อมูลทั่วไป แบบสำรวจด้านสุขภาพ และแบบสำรวจภาวะซึมเศร้าในผู้สุงอายุระหว่างเดือน เมษายน 2566 ถึง สิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ตำบลห้วยยูงและตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการวิจัยพบว่า แหล่งที่มาของรายได้ ความรู้สึกต่ออาการเจ็บป่วย ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และสัมพันธภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เมื่อพิจารณาจากผลการศึกษาแล้วปัจจัยของแหล่งที่มาของรายได้ ความรู้สึกต่ออาการเจ็บป่วย ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และสัมพันธภาพในครอบครัว เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุดังนั้นการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว </p>
2023-11-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/213
การตรวจสอบกรดซาลิซิลิก (สารกันรา) ในอาหารประเภทผักดองและผลไม้ดอง ในเขตตลาดสดตำบลมะม่วงสองต้น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น
2023-11-03T14:25:39+07:00
สมศักดิ์ บุตราช
research@cnu.ac.th
ปฏิมา บุญล้อม
research@cnu.ac.th
ประคองศรี ถนอมนวล
research@cnu.ac.th
<p>งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งจำหน่ายกรดซาลิซิลิค รวมถึงแหล่งจำหน่ายขายส่งผักและผลไม้ดอง พร้อมทั้งทดสอบการปนเปื้อนของกรคชาลิซิลิค ในตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอพระพรม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาทดสอบ ได้แก่ผักดอง 5 ชนิด (ขิง ผักกาด หน่อไม้ กระเทียม และหัวไชโป๊ะ) และผลไม้ดอง 5 ชนิด (องุ่น มะม่วง มะดัน มะยม และมะขามดอง) โดยนำตัวอย่างทั้งหมดมาทดสอบหาการปนเปื้อนของกรคซาลิซิลิค ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น จากการศึกษาพบว่า กรดซาลิซิลิคมีจำหน่ายโดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีชื่อเรียกทางการค้าว่าสารกันบูดหรือสารกันรา<br>มีชื่อทางเคมี คือ โซดียมเบนโซเนต และโซดียมโปรปี โอเนต ซึ่งแหล่งจำหน่ายขายส่งผักเละผลไม้ดองที่สำรวจนั้น พ่อค้าแม่ค้ารับมาจากแหล่งจำหน่ายขายส่งตลาดหัวอิฐ เมื่อทำการสุ่มตรวจตัวอย่างพบการปนเปื้อนในผักและผลไม้ดอง คิดเป็นร้อยละ 51.14 และ 60.00 จะเห็นได้ว่าพบการปนเปื้อนกรดซาลิซิลิตทั้งในผักเละผลไม้ดอง เนื่องจากในกระบวนการหมักดองจำเป็นต้องเติมสารเคมีลงไปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น</p>
2022-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/262
การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมสุภาพชุมชน : มุมมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง
2023-11-24T15:53:36+07:00
ศรีงามลักษณ์ ศรีปวริศร
mam9pichayapa@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพรวมความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในมุมมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง ใน 5 จังหวัดซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปทำงานวิจัยและเข้าร่วมในกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาขับเคลื่อนองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีศักยภาพ มีคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน เป็นการวางรากฐานการเสริมสร้างความเข้มแข้งในการให้บริการดูแลขั้นพื้นฐานแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ตลอดจนช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ป่วยที่รักษาไม่หายและอยู่ในระยะสุดของท้ายชีวิต ในเขตที่ตนต้องรับผิดชอบ 8-15 ครัวเรือนให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความมั่นนใจในศักยภาพของตนเอง ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายการยกระดับศักยภาพอาสาสสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของกระทรวงสาธารณสุข ที่คาดหวังว่าจะมีความเชียวชาญ เป็นบุคคลต้นแบบ เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมสุขภาพ และมีภาวะผู้นำด้านสุขภาพ ซึ่งจะสามารถลดปัญหาสุขภาพในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน </p>
2022-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/267
พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประชาชนตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
2023-11-25T10:06:24+07:00
อัจฉรา อิ่มน้อย
nattawut.jittra@gmail.com
ศิวิไล โพธิ์ชัย
siwilaipu@gmail.com
ภิรมย์ รชตะนันท์
nattawut.jittra@gmail.com
จิตราภรณ์ โพธิ์อุ่น
nattawut.jittra@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประชาชนในเขตตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนอายุ 15-59 ปี ในเขตตำบลโพธิ์ อำเภอ เมืองจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสุ่มแบบง่ายจำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วนคือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของประชาชน แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ได้แก่ไควสแควร์ (Chi-Square Test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation : r )</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์กลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40 (S.D.= 0.49) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร ความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.82 (S.D.=1.81) ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของประชาชน พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร อย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ0.01 (r=.237),(p=.00) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ0.05 (r=.128),(p=.00 ), ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r=.210), (p=.62 )</p>
2022-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022