วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal <p>วารสารวิชการเฉลิมกาญจนาเป็นวารสารวิชาการ ที่มุ่งเน้นการตีพิมพ์บทความ ทั้งบทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยมีการตีพิมพ์บทความในสาขารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH lsewata@gmail.com (ลัญจกร เสวตะ) lsewata@gmail.com (ลัญจกร เสวตะ) Fri, 03 Nov 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/199 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ทางโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณะสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล แบบแจกแจงความถี่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ทางโภชนาการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> โสภาพรรณ แก้วหาญ, อรบุษป์ วีระสุนทร, ณัฐธัญ โพธิชัย Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/199 Sat, 18 Jun 2022 00:00:00 +0700 การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่บ้านอู่ตะเภา ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/202 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับปัจจัยด้านความรู้และเจตคติเรื่องโรคความดันโลหิตสูง (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับปัจจัยส่วนบุคคลเรื่องโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่บ้านอู่ตะเภา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่หมู่บ้านอู่ตะเภา ทั้งหมด 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม SPSS ในการแปลผลข้อมูลวิจัยจากแบบทดสอบของเครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัย ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมด้านความเครียด พฤติกรรมด้านการรับประทานยา พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง</p> ปรวุฒิ เมืองอู่, เนติมาย์ ไวยรัตน์, ทัศณา เกื้อเส้ง Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/202 Thu, 28 Jul 2022 00:00:00 +0700 ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/204 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยเฉลิมกาญจนา กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล แบบแจกแจงความถี่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติ พบว่า ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 70.28 รองลงมา คือภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 56.47 ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 54.38 และภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีสภาะสุขภาพจิต เหมือนปกติร้อยละ 39.50 ตามลำดับ</p> ธนพร ศรีเบ็ญจา, ธันยมัย ฉันทวี, วาสินี ทีคำเกษ Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/204 Sun, 14 Aug 2022 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษ โดยใช้ตัวแบบ ARIMA ARIMAX https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/205 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX &nbsp;ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2560 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 เป็นจำนวน 72 เดือน ซึ่งตัวแปรต้นของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMA ได้แก่ ข้อมูลรายได้ทางหลวงพิเศษ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษด้วยตัวแบบ ARIMA และการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMAX ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMAX โดยใช้เกณฑ์ค่า MAPE MAE MSE RMSE Ljung-Box Q(18) &nbsp;และ BIC โดยเกณฑ์เหล่านี้เลือกจากค่าที่ต่ำที่สุด และค่า p-value มากกว่าหรือเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษด้วยตัวแบบ ARIMA(2,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(3,1,0)&nbsp; ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์รายได้ทางหลวงพิเศษตัวแบบ ARIMA(2,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(3,1,0)&nbsp; โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 0.661 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 0.123 มีค่า RMSE เท่ากับ 0.171</p> พรพนา สระหารดิษ, ชานนทร์ ศิริกุลสถิต, ปรีดา มูสิกรักษ์ Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/205 Tue, 02 Aug 2022 00:00:00 +0700 พยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทกับเงินตราของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/206 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดในการพยากรณ์อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน โดยศึกษาข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นข้อมูลรายวันตั้งแต่วันที่ 4 เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 เป็นระยะเวลา 241 วัน โดยไม่นับรวมวันเสาร์และอาทิตย์ ซึ่งตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์ประกอบด้วย ตัวแบบวิธีการปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย&nbsp; วิธีการปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลปรับซ้ำสองครั้ง วิธีการปรับให้เรียบแบบโฮลต์-วินเทอร์ (บวก) วิธีการปรับให้เรียบแบบโฮลต์-วินเทอร์ (คูณ) และวิธีการรวมการถดถอยในตัวกับการเฉลี่ยเคลื่อนที่ จากนั้นเลือกตัวแบบที่ดีที่สุดโดยใช้เกณฑ์วัดความคลาดเคลื่อนประกอบด้วย ค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อน (MAPE) ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAE) ค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) และค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีสุดคือ ประเทศสิงคโปร์ มีค่า ARIMA (3, 1, 0) มึค่า MAPE เท่ากับ 0.259 MAE เท่ากับ 0.066 MSE เท่ากับ 0.007396 RMSE เท่ากับ 0.086000</p> บุษรินทร์ ฤทธิมนตรี, จุฬาเหมรัตน์ รัตนบุรี, นภสวรรณ ศรีสุข Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/206 Wed, 19 Oct 2022 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/208 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX &nbsp;ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566 เป็นจำนวน 136 เดือน ซึ่งตัวแปรต้นของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMA ได้แก่ ข้อมูลการซื้อขายราคาทองคำถัวเฉลี่ยทองคำรูปพรรณ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA และการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMAX ตัวแปรต้น ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA &nbsp;อัตราการแลกเปลี่ยนเงินUSD (บาท) ดัชนีค่าเงินบาท ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ และดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมัน (ดูไบ) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMAX โดยใช้เกณฑ์ค่า MAPE MAE <em>MSE</em> RMSE Ljung-Box Q(18) &nbsp;และ BIC โดยเกณฑ์เหล่านี้เลือกจากค่าที่ต่ำที่สุด และค่า p-value มากกว่าหรือเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ราคาซื้อทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0)&nbsp; โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 2.040 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 447.450 มีค่า RMSE เท่ากับ 447.450 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.384 มีค่า BIC เท่ากับ 12.873 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.990 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ&nbsp; การพยากรณ์ราคาขายทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0)&nbsp; โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 1.993 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 455.887 มีค่า RMSE เท่ากับ 592.078 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.139 มีค่า BIC เท่ากับ 12.885 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.992 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ&nbsp;</p> อมฤทธิ์ จันทนลาช , นงเยาว์ เจริญศรี, พูลศักดิ์ พลโกษฐ์ Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/208 Sat, 17 Sep 2022 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองคำแท่งด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/209 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบการพยากรณ์การซื้อขายราคาทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX &nbsp;ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566 เป็นจำนวน 136 เดือน ซึ่งตัวแปรต้นของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMA ได้แก่ ข้อมูลการซื้อขายราคาทองคำถัวเฉลี่ยทองคำรูปพรรณ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA และการพยากรณ์ด้วยตัวแบบ ARIMAX ตัวแปรต้น ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMA &nbsp;อัตราการแลกเปลี่ยนเงินUSD (บาท) ดัชนีค่าเงินบาท ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ และดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมัน (ดูไบ) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพยากรณ์การซื้อขายด้วยตัวแบบ ARIMAX โดยใช้เกณฑ์ค่า MAPE MAE <em>MSE</em> RMSE Ljung-Box Q(18) &nbsp;และ BIC โดยเกณฑ์เหล่านี้เลือกจากค่าที่ต่ำที่สุด และค่า p-value มากกว่าหรือเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ราคาซื้อทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0)&nbsp; โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 2.040 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 447.450 มีค่า RMSE เท่ากับ 447.450 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.384 มีค่า BIC เท่ากับ 12.873 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.990 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ&nbsp; การพยากรณ์ราคาขายทองรูปพรรณด้วยตัวแบบ ARIMA(1,1,0) มีความแม่นยำกว่าตัวแบบ ARIMAX(0,1,0)&nbsp; โดยมีค่า MAPE เท่ากับ 1.993 เปอร์เซ็นต์ มีค่า MAE เท่ากับ 455.887 มีค่า RMSE เท่ากับ 592.078 มีค่า Ljung-box Q(18) เท่ากับ 6.139 มีค่า BIC เท่ากับ 12.885 และมีค่า p-value เท่ากับ 0.992 หมายความว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในตัวที่ Lag มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: ดัชนีค่าเงินบาท ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมัน (ดูไบ)</p> ลัญจกร เสวตะ, จิตมาส อินทรสิงห์, ชัชฎารัตน์ ธวัลหทัยกุล Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/209 Thu, 24 Nov 2022 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันพุของเด็กอายุ 10-14 ปี ในเขตพื้นที่บ้านบางกระบือ ตำบลท่าไร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/212 <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างละ 70 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง มาตรฐาน และทดสอบสถิติไคสแควร์ (Chi-square Test) ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 10-14 ปี อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 91.43 ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 10-14 ปี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปากกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 10-14 ปี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> น่ารัก จุดาบุตร, ธัญพร พลโกษฐ์, ชญาดา ศิริภิรมย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/212 Fri, 03 Nov 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ตำบลห้วยยูงและ ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/210 <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุตำบลห้วยยูงและตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งประกอบด้วยแบบสำรวจข้อมูลทั่วไป แบบสำรวจด้านสุขภาพ และแบบสำรวจภาวะซึมเศร้าในผู้สุงอายุระหว่างเดือน เมษายน 2566 ถึง สิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ตำบลห้วยยูงและตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการวิจัยพบว่า แหล่งที่มาของรายได้ ความรู้สึกต่ออาการเจ็บป่วย ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และสัมพันธภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เมื่อพิจารณาจากผลการศึกษาแล้วปัจจัยของแหล่งที่มาของรายได้ ความรู้สึกต่ออาการเจ็บป่วย ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และสัมพันธภาพในครอบครัว เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุดังนั้นการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว&nbsp;</p> นารถฤดี จันทปสาร, พิชยา อุโฆษอารามิก, สุวะพิชชา ธนาวุฒิ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/210 Fri, 03 Nov 2023 00:00:00 +0700 การตรวจสอบกรดซาลิซิลิก (สารกันรา) ในอาหารประเภทผักดองและผลไม้ดอง ในเขตตลาดสดตำบลมะม่วงสองต้น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/213 <p>งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งจำหน่ายกรดซาลิซิลิค รวมถึงแหล่งจำหน่ายขายส่งผักและผลไม้ดอง พร้อมทั้งทดสอบการปนเปื้อนของกรคชาลิซิลิค ในตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอพระพรม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาทดสอบ ได้แก่ผักดอง 5 ชนิด (ขิง ผักกาด หน่อไม้ กระเทียม และหัวไชโป๊ะ) และผลไม้ดอง 5 ชนิด (องุ่น มะม่วง มะดัน มะยม และมะขามดอง) โดยนำตัวอย่างทั้งหมดมาทดสอบหาการปนเปื้อนของกรคซาลิซิลิค ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น จากการศึกษาพบว่า กรดซาลิซิลิคมีจำหน่ายโดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีชื่อเรียกทางการค้าว่าสารกันบูดหรือสารกันรา<br>มีชื่อทางเคมี คือ โซดียมเบนโซเนต และโซดียมโปรปี โอเนต ซึ่งแหล่งจำหน่ายขายส่งผักเละผลไม้ดองที่สำรวจนั้น พ่อค้าแม่ค้ารับมาจากแหล่งจำหน่ายขายส่งตลาดหัวอิฐ เมื่อทำการสุ่มตรวจตัวอย่างพบการปนเปื้อนในผักและผลไม้ดอง คิดเป็นร้อยละ 51.14 และ 60.00 จะเห็นได้ว่าพบการปนเปื้อนกรดซาลิซิลิตทั้งในผักเละผลไม้ดอง เนื่องจากในกระบวนการหมักดองจำเป็นต้องเติมสารเคมีลงไปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น</p> สมศักดิ์ บุตราช, ปฏิมา บุญล้อม, ประคองศรี ถนอมนวล Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/213 Sat, 24 Dec 2022 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมสุภาพชุมชน : มุมมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/262 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพรวมความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในมุมมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง ใน 5 จังหวัดซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปทำงานวิจัยและเข้าร่วมในกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาขับเคลื่อนองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีศักยภาพ มีคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน เป็นการวางรากฐานการเสริมสร้างความเข้มแข้งในการให้บริการดูแลขั้นพื้นฐานแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ตลอดจนช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ป่วยที่รักษาไม่หายและอยู่ในระยะสุดของท้ายชีวิต ในเขตที่ตนต้องรับผิดชอบ 8-15 ครัวเรือนให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความมั่นนใจในศักยภาพของตนเอง ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายการยกระดับศักยภาพอาสาสสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของกระทรวงสาธารณสุข ที่คาดหวังว่าจะมีความเชียวชาญ เป็นบุคคลต้นแบบ เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมสุขภาพ และมีภาวะผู้นำด้านสุขภาพ ซึ่งจะสามารถลดปัญหาสุขภาพในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน&nbsp;</p> ศรีงามลักษณ์ ศรีปวริศร Copyright (c) 2022 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/262 Tue, 13 Dec 2022 00:00:00 +0700 พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประชาชนตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/267 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประชาชนในเขตตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนอายุ 15-59 ปี ในเขตตำบลโพธิ์ อำเภอ เมืองจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสุ่มแบบง่ายจำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วนคือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของประชาชน แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ได้แก่ไควสแควร์ (Chi-Square Test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation : r )</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์กลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40 (S.D.= 0.49) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร ความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.82 (S.D.=1.81) ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของประชาชน พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร อย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ0.01 (r=.237),(p=.00) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ0.05 (r=.128),(p=.00 ), ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r=.210), (p=.62 )</p> อัจฉรา อิ่มน้อย, ศิวิไล โพธิ์ชัย, ภิรมย์ รชตะนันท์, จิตราภรณ์ โพธิ์อุ่น Copyright (c) 2022 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/267 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0700