การประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของคนงาน บริษัท โรงสีข้าวราษีพาณิชย์ศรีสะเกษ จำกัด อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ภทรพล โพธิ์ม่วงพันธ์
  • ทัศณา เกื้อเส้ง

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์, อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ,คนงานโรงสีข้าว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาการประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของคนงาน บริษัท โรงสีข้าวราษีพาณิชย์ศรีสะเกษ จำกัด อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้ แบบประเมินทั่วทั้งร่างกาย (Rapid Entire Body Assessment: REBA) และแบบสอบถามมาตรฐานในการวิเคราะห์อาการผิดปกติของ กล้ามเนื้อและกระดูก (Standardized Nordic Questionnaires) ผลการศึกษาพบว่าคนงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.71 และเพศหญิง ร้อยละ 37.29 ทั้งหมดจะทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน ดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.50-24.90 กิโลกรัม/เมตร2 (โภชนาการปกติ) ร้อยละ 45.71 เคยมีการออกกำลังกาย ร้อยละ 48.57 โดยลักษณะท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์มากที่สุด คือ ท่าทางการตากข้าว มีความเสี่ยงสูงอยู่ในระดับ 4 ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและรีบปรับปรุง ร้อยละ 66.70 และมีอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อของคนงานโรงสีข้าวในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา บริเวณเข่ามีอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อมากที่สุด ร้อยละ 57.14 โดยมีอาการมากกว่า 1 ส่วนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 88.57 และพบว่าในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณคอมีอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อมากที่สุด ร้อยละ 45.71 โดยมีอาการมากกว่า 1 ส่วนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 82.86

References

กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และไพรสุวรรณ คะณะพันธ์. (2562). การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของคนงานตัดอ้อยและลำเลียงอ้อยขึ้นรถบรรทุกในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 3(1), 63-74.

ฐิติมา ช่วยชูเชิด และคณะ. (2563, สิงหาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในแรงงานนอกระบบอาชีพช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้จังหวัดสุโขทัย.วารสารสุขศึกษา, 43 (2), 58

ประกาศิต ทอนช่วย และเกษแก้ว เสียงเพราะ. (2562, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรเก็บลิ้นจี่ จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา, 42 (1), 119-134.

มนัส รงทอง และคณะ. (2562, มกราคม-มิถุนายน). ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในแรงงานใหม่เก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 23(1), 77-92

ยุพยง หมั่นกิจ และกติกา สระมณีอินทร์. (2561, 9พฤศจิกายน). การศึกษาอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ ตลาดเจริญศรี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 180-188.

อารยา วุฒิกุล ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2563). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในแรงงานหัตถกรรมไม้ไผ่. พยาบาลสาร ,47 (2), หน้า 42-45

Hignett, S. and McAtamney, L. (2000). Rapid Entire Body Assessment (Reba). Applied Ergonomics, 31(2), 201-205.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-24