พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประชาชนตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา อิ่มน้อย
  • ศิวิไล โพธิ์ชัย
  • ภิรมย์ รชตะนันท์
  • จิตราภรณ์ โพธิ์อุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประชาชนในเขตตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนอายุ 15-59 ปี ในเขตตำบลโพธิ์ อำเภอ เมืองจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสุ่มแบบง่ายจำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วนคือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของประชาชน แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ได้แก่ไควสแควร์ (Chi-Square Test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation : r )

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์กลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40 (S.D.= 0.49) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร ความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.82 (S.D.=1.81) ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของประชาชน พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร อย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ0.01 (r=.237),(p=.00) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ0.05 (r=.128),(p=.00 ), ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r=.210), (p=.62 )

References

กระทรวงสาธารณสุข.(2556) แผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สถาบันมะเร็ง

แห่งชาติ.

กำไล ตรีชัยศรี.(2536) การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่

รถจักรยานยนต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

กุลธิดา ท่าทราย, พิรัชฏา มุสิกะพงศ์, ฤทธิรงค์ พันธ์ดี.(2542). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใน

การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2564;14: 65

ธัญลักษณ์ จันทร์มาก, กชนิภา โฮกขาวนา, อภิชัย สุขเกษม, พิณรัตน์ นุชโพธิ์, ศุภศิว์ สุวรรณเกษร.

(2560).วิธีการป้องกันพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดสุวรรณประดิษฐ์ หมู่3. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่9:8-9 สิงหาคม 2560; ปทุมธานี:อิมแพ็ค อารีนา..

แท้จริง ศิริพานิช.(2563). เมาแล้วขับ.(2548). ไทยรัฐออนไลน์ 2563 ธ.ค.27; อุบัติเหตุ : 1(คอลัมน์2).

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ และคณะ.(2564) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจาก

รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และ

วิทยาการสุขภาพ;16:16-22.

นิภา เสียงสืบชาติ.(2549) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ แผนก

อุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลเลิดสิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต].

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงษ์สิทธิ บุญรักษา, พิรัชภา มุสิกะพงศ์, ทัดขวัญ มธุรชน, รักษา ศิวาพรรักษ์.(2555).ปัจจัยที่มี

ความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี;

พรพิมล หงส์เทียมจันทร์.(2538).การศึกษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศรีษะใน ไอ.ซี.ยู.ศัลยกรรมของ

โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 7; 4: 387-395.

ยุพา หงษ์วชิน. (2542). พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขต

เทศบาลเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิจิตร บุณยโหตระ. ปัญหาจากการจราจรทางบก [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม

:1. เข้าถึงได้จาก : dc220.4 shared.com/doc/cihttipk/preview.html.

วรรณา อึ้งสิทธิพูนพร.(2543).พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง

อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. [ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สุขศึกษา)]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี

นครินทรวิโรฒ.

ศูนย์ข้อมูล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.(2563). สถิติอุบัติเหตุจราจรทางบก. กรุงเทพฯ..

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2557). สถานการณ์และปัจจัยเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ

ของรถพยาบาลในประเทศไทย [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18ธันวาคม 2564]:1. เข้าถึง

ได้จาก:https:// www.hfocus.org/content/2015/10/11136

เสน่ห์ จรรยาสถิต.(2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์

รับจ้างในเขตสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].

กรุงเทพฯ:สาขาพัฒนาสังคมโครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ (2558). สถิติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร

จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2558. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.

Chumpawadee, U., Homchampa, P., Thongkrajai, P., Suwanimitr, A., & Chadbunchachai,

W.(2015).Factors related to motorcycle accident risk behavior among university

students in northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health.; 46: 805-21. Yamane, Taro. Statistic. (1967): Introductory Analysis. 2 nd ed. New York: Harper and Row;.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

อิ่มน้อย อ. . ., โพธิ์ชัย ศ. ., รชตะนันท์ ภ. . ., & โพธิ์อุ่น จ. . . (2022). พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประชาชนตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา (Online), 9(2). สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/267