การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความสามารถเชิงสมรรถนะหลักของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา อิ่มน้อย
  • ธนิดา สถิตอุตสาหกร
  • พึงพิศ การงาม
  • สุภา อยู่ยืน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเชิงจริยธรรม, ความสามารถเชิงสมรรถนะ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความสามารถเชิงสมรรถนะหลักของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติ งานในหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหา วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมและแบบสอบถามความสามารถ เชิงสมรรถนะหลัก ของนักศึกษาพยาบาล ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน หาความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอบนบาค เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ที่ขึ้นปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โดยรวมอยู่ในระดับดี (= 4.45, SD = 0.17) ความสามารถเชิงสมรรถนะหลักของนักศึกษา พยาบาล ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โดยรวมอยู่ในระดับดี (= 4.22, SD = 0.14) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความ สามารถเชิงสมรรถนะหลักของนักศึกษาพยาบาล ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกใน ระดับปานกลาง (r = .522) และสามารถทำนายความสามารถเชิงสมรรถนะหลักของนักศึกษาพยาบาล ที่ขึ้นปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ได้ร้อยละ 27 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการศึกษาครั้งนี้ ใช้เป็นแนวทางพัฒนาการทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพการพยาบาลต่อไป

References

กัลยา วาริชย์บัญชา และฐิดา วานิชย์บัญชา. (2563). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : โรง

พิมพ์กัลยา วานิชย์บัญชา.

กาญจนา คิดสี. (2556). ความสามารถเชิงสมรรถนะหลักของพยาบาลที่ปฏิบัติงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงคำ

จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 9(3), 166-181.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ และคณะ. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความสามารถเชิง

สมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคใต้. วารสารวิชาการ

สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 17(2). 69-78.

กิ่งดาว การะเกตุ งามเอก ลำมะนา และจุไรรตน์ ชลกรโชติทรัพย์. (2558). พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา

พยาบาล : กรอบความคิดในการสร้างและพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมตามกรอบ

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF). วารสารเกื้อการุณย์, 22(2), 20-29

ชมนาค พัฒน์นิธิกุล และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความ

สามารถเชิงสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนราธิวาส. ราย

งานวิจัย.

ถนอม จันทกุล. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมจริยะรรมของพยาบาลจากประสบการณ์ของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับ

การรักษาในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์.

ปภัสวรรณ จันทวงศ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจทางจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรง พยาบาล

ศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17และ18. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 7(1),

พระบำรุง ปัญญาพโล (โพธิ์ศรี). (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโน

โลยีสยาม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

เพ็ญจันทร์ แสนประสานและสายสมร เฉลยกิตติ. 2560. การตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง

กับความเสี่ยงของพยาบาลไทย ตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพบาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1)

-205.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติมาตรฐานจริยธรม 2562. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2565, จาก D:/พฤติกรรม

จริยธรรม/จริยธรรมพฤตกรรมพยาบาล พรบ.

รัตนา ทองแจ่มและพระครูภาวนาโพธิคุณ. (2563). จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล. Jornal of Graduate MCU

KhonKaen Campus. 7(1).

วีรวรรณ เกิดทอง และวรรณดี เสือมาก. (2560). การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลเพื่อก้าวสู่พยาบาล

คุณธรรม. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี.

ศิริลักษณ์ เหรียญรุ่งโรจน์. (2559). การปฏิบัติการพยาบาลที่คำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพยาบาลแผนก

ฉุกเฉินในพื้นที่ภาคใต้และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมร พูนขวัญ. (2564). ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลชุม

ชนในจังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาล. 70(2), 1-9.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2563) บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ แนวโน้ม นโยบายและความ

ก้าวหน้า. การฟื้นฟูวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติ ค้นเมื่อ 26พ.ค.2565, จากhttps://documen.site/ download/ 5af84511470c8_pdf

สภาพยาบาล. (2558). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สอแลหะ เบ็ญอาหลี, นภชา สิงห์วีรธรรม และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการ

ทำนายของสมรรถนะทางวัฒนธรรมที่มีต่อความสามารถเชิงสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุ

ฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 13(2), 154-161).

สุภาภรณ์ ชาวนาฝ้าย. (2560). พฤติกรรมด้านจรรยาบรรณพยาบาลที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในจังหวัด

ราชบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

สุนีรัตน์ บุญศิลป์ หระกริต รัชวัตร์ และสุรางค์ เปรื่องเดช. (2556). ทัศนะคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลในวิทยา

ลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.

(1), 50-60

Best, J. W. and J. V. Kahn. (2014). Researc in Education. 10th ed. Harlow: Pearson Education

Limited.

Jindathong, B, (2011). Experience of service behavior complaints of professional nurses. (Thesis).

Bangkok: Chulalongkorn University printing House.

Kyunghee, K., Yonghee, H., & Ji-su, K. (2015). Korean nurses’ ethical dilemmas, professional values and

professional quality of life. Nursing Ethics, 22(4), 467-478.

Newport, F. (2012). Congress retains low honesty rating : Nurses have highest honesty rating ; care

salespeople, lovest. Gallup (internet). (2017 June 30); December 3. Avallable form http:// www.gallup. com /poll/159035/congress-retains-low-honesty-rating.aspx

Sangaunsiritham U, Sirakamom S. (2015). Ethical behavior of professional nurses. Chiang Mai : Siam

pimnana.

Thailand Nursing and Midwifery Council. (2008). Guidelines for promoting nursing practice in

accordance with professional ethics (Revised edition). 3rd edition). Bangkok: Golden Point

co., ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

How to Cite

อิ่มน้อย อ. . ., สถิตอุตสาหกร ธ., การงาม พ., & อยู่ยืน ส. . . (2022). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความสามารถเชิงสมรรถนะหลักของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา (Online), 9(1), 116. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/265