ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของประชาชน ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของประชาชนในตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชากรทั้งหมดจำนวน 400 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้คำนวณจากสูตรการกำหนดขนาดตัวอย่างของทาโรยามาเน่ (Yamane 1973: 580-581) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีแอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติไคว์สแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
คำผลการวิจัย พบว่า
- พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.76 (S.D=0.80)
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มตัวอย่าง โดยรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.69 (S.D=0.47)
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองในด้านระบบทางเดินปัสสาวะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพ การศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจําตัว รายได้ อาชีพ และประสบการณ์การใช้สมุนไพร ไม่มีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง
References
กนกกาญจน์ วิชาศิลป์และคณะ.(2559); การรับรู้ถึงสมุนไพรรักษาโรคของผู้บริโภคในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. แก่นเกษตร. 44 ฉบับพิเศษ 1
กมลาภรณ์ คงสุขวิวัฒน์และคณะ.(2554). รายงานการวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้าน: กรณีศึกษาอาหารพื้นบ้าน
ไทยภาคเหนือ ตําบลแม่ทา กิ่งอําเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ และตําบลเขาทอง อําเภอพยุหะศิรจังหวัดนครสวรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์.
กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน 2559. [อินเตอร์เน็ต]. [ สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ม.ค.
. จาก: http://rdo.psu.ac.th/images/D2/budget/strategic issues/5559 9.pdf
กองคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก. อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ม.ค.2564 ]; จากhttp://ptmk.dtam.moph.
go.th/home.php
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2558) พหุลักษณ์ทางการแพทย์: มุมมองมานุษยวิทยากับความหลากหลายของ
วัฒนธรรมสุขภาพในพหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร. .
จารุวรรณ ศรีสร้อย, พิไลวรรณ ลี้พล, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์.(2556) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคยาต้มสมุนไพร
ของประชาชนบ้านโคกลาย ตําบลม่วงลาย อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564]. จาก: http://cph.snru.ac.th.
เตือนใจ อยู่ดี.(2554). ความรู้ในการใช้สมุนไพรของผู้มารับบริการจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
อําเภอเมืองจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.นโยบายและทิศทางการขับเคลื่อนกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกปี 2558 – 2559. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564]; จาก: https://www.dtam.moph.go.th/index.php?lang=th
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ตั้ม บุญรอด, วิชชาดา สิมลา, (2554) .ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมุนไพรในการดูแล
สุขภาพเบื้องต้นของประชาชน ตําบลแหลมโตนด อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง [อินเตอร์เน็ต].
[สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มี.ค 2564]. จากhttp://digital_collect.lib.buu.ac.th/o js/index.php/health/article/view/2603
พาณี ศิริสะอาด. ภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ. ไทยนิวส์. 7 ม.ค. 2564: น. 5.
มาลิน จุลศิริ.(2557). รายงานการวิจัยเรื่องสารสกัดจากพืชเพื่อแก้โรคท้องร่วงท้องเดิน. ศูนย์ฝึกอบรมและ
พัฒนาสาธารณสุขอาเซียน.กรุงเทพฯ:. มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิไลวรรณ ชัยณรงค์.(2554).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาเบื้องต้นของ
ประชาชนในเขต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศันสนีย์ ฤทธิ์ทองพิทักษ์.(2556).การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการใช้สมุนไพรไทยของคนกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ.(2557). การสํารวจพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองด้วยแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
ของครัวเรือน พ.ศ. 2556. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564. จาก: https://www.m-society.go.th/article_attach/11617/15921.pdf
สุกิจ ไชยชมภู.(2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนในเขต
กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์.;19(2):60-74.
สุนีย์ แป้นทะเล.(2552) การศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเครือข่าย
ป่าตะวันออก กรณีศึกษา บ้านนาอีสาน หมู่ที่ 16 ตําบลท่ากระดาน อําเภอสนามชัย จังหวัดฉะเชิงเทรา.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. .
Gedif, T. and J. Hahn. (2003). The use of medicinal plants in self-care in rural central
Ethiopia. Journal of Ethnopharmacology.6(8):155-61.
Taro Yamane. (1967). Statistics: An Intro-ductory Analysis.N.Y. Harper and Row 1967 p.886 (Mimeographed.)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.