ประสิทธิผลของการนวดแผนไทยแบบราชสำนักในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขนุน ตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ: การนวดแผนไทยแบบราชสำนัก, ประสิทธิผล, อาการปวดกล้ามเนื้อหลัง
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกมาประสิทธิผลของการนวดแผนไทยเเบบราชสำนักในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อหลังก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยการนวดแผนไทยแบบราชสำนักในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขนุน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่คืนที่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที่ผลการศึกษาประสิทธิผลของการนวดแผนไทยแบบราชสำนักในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง พบว่า ก่อนการนวดกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความปวดอยู่ในระดับ 6 คิดเป็นร้อยละ 32.00 และหลังการนวดกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความปวดอยู่ในระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 40.00 ผลการศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อหลังก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยการนวดแผนไทยแบบราชสำนักในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง พบว่าอาการปวดกล้ามเนื้อหลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
References
นพวรรณ บัวตูม และคณะ. (2559). ศึกษาภูมิปัญญาการนวดรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยวิธีของหมอพื้นบ้านใน
จังหวัดสงขลา, วิทยานิพนธ์
ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล, สาขาการวัดและประเมินผล คณะครุ
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
ศิลดา การะเกตุ และคณะ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนปละหลังจากการรักษาโคลนสมุนไพร
พอกเย็นร่วมกับการนวดแผนไทยในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า, วิทยานิพนธ์.
ศิวรี เอี่ยมฉวี และคณะ. (2559). ศึกษาผลทันทีของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดสารคาม, วิทยานิพนธ์.
สายชล ศรีแพ่ง. (2555). ผลการนวดประคบสมุนไพรต่ออาการปวดเข่า อาการข้อเข่าฝืดปฎิกิริยาสะท้อนความตึงตัวของ
กล้ามเนื้อและความยากลำบากในการปฎิบัติกิจวัติประจำวันในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ.
สุรชัย โชคครรชิตชัย. (2561). คู่มือแนวทางเวชปฎิบัติการแพทย์แผนไทยพื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่
, คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน.
อุบลกาญจน์ ยอดต่อ. (2555). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับ Myofascial Pain Syndrome ในผู้ป่วยที่เข่ารับการ
รักษา ที่คลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.