พยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทกับเงินตราของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย

ผู้แต่ง

  • บุษรินทร์ ฤทธิมนตรี
  • จุฬาเหมรัตน์ รัตนบุรี
  • นภสวรรณ ศรีสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบที่ดีที่สุดในการพยากรณ์อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน โดยศึกษาข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นข้อมูลรายวันตั้งแต่วันที่ 4 เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 เป็นระยะเวลา 241 วัน โดยไม่นับรวมวันเสาร์และอาทิตย์ ซึ่งตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์ประกอบด้วย ตัวแบบวิธีการปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย  วิธีการปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลปรับซ้ำสองครั้ง วิธีการปรับให้เรียบแบบโฮลต์-วินเทอร์ (บวก) วิธีการปรับให้เรียบแบบโฮลต์-วินเทอร์ (คูณ) และวิธีการรวมการถดถอยในตัวกับการเฉลี่ยเคลื่อนที่ จากนั้นเลือกตัวแบบที่ดีที่สุดโดยใช้เกณฑ์วัดความคลาดเคลื่อนประกอบด้วย ค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อน (MAPE) ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAE) ค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) และค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีสุดคือ ประเทศสิงคโปร์ มีค่า ARIMA (3, 1, 0) มึค่า MAPE เท่ากับ 0.259 MAE เท่ากับ 0.066 MSE เท่ากับ 0.007396 RMSE เท่ากับ 0.086000

References

กุลนิดา แววรวีวงศ์ และพรเพ็ญ วรสิทธา. (2561). ผลได้ทางเศรษฐกิจของธรุกิจขนส่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย.

พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์. 12 (2):58-79

เกษร หอมขจร. (2550). ทฤษฎีการเงินระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ:คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคําแหง

กนกพร เฉลิมพนาพันธ์. (2559). การศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯค่าเงิน

บาทต่อยูโรค่าเงินบาทต่อเยนและค่าเงินบาทต่อหยวน.

http://2ebookssvr.utcc.ac.th/library/bookdetail/09001683, 20 มกราคม 2561

พิสุทธิ์ กุลธนวิทย์. (2560). เงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของไทย. คณะเศรษฐศาสตร์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงใจ มุ่งหมายผล. (2561). การพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระหว่างเงินบาทของไทยกับเงินเยนของญี่ปุ่น.

วารสารอิเล็กทรอนิกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม 2561.

ดวงพร หัชชะวณิช. (2556). การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือน: ตัวแบบบอกซ์-เจนกินส์ และ

ตัวแบบปรับให้เรียบเอกซ์โพเนนเชียล. วารสาวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 33, 2: 100-113.

ลักษมี ธนาบริบรูณ์. (2562). ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนรวมของทรัสต์เพื่อการลงทุนใน

อสังหาริมทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์ และฮ่องกง. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต(เศรษฐศาสตร์

การเงิน).

ธนินทร์ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวระยะสั้นของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์

สหรัฐอเมริกา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 30, 1: 1-10.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. ได้จาก

https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=123&language=TH สืบค้น

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-19

How to Cite

ฤทธิมนตรี บ. ., รัตนบุรี จ. ., & ศรีสุข น. . (2022). พยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทกับเงินตราของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา (Online), 9(2), 34. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/article/view/206