คุณภาพการให้บริการของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ: ศาลเยาวชน, ครอบครัว, คุณภาพ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของศาลเยาวชนและครอบครัว และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของศาลยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ผู้รับบริการได้รับ กลุ่มประชากร คือ ประชาชนผู้มาติดต่อและขอรับบริการด้านต่างๆ ณ ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 332 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อแจกแจงความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน และสถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผู้วิจัยทำการจำแนกเป็นรายคู่ด้วยวิธี ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการให้บริการของศาลยาวชนและครอบครัว โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า มีคุณภาพการให้บริการตามลำดับดังนี้ (1) ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ ระดับดี (2) ความเป็นรูปธรรมของบริการ ระดับดี (3) การให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ระดับดี (4) การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ระดับปานกลาง และ (5) ความเชื่อถือไว้วางใจ ระดับปานกลาง ตามลำดับ และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อาชีพต่างกันได้รับคุณภาพการบริการของศาลยาวชนและครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสำคัญทางสถิติระดับ .05 โดยที่เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว ไม่มีผลต่อการให้รับคุณภาพการบริการของศาลยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครศรีธรรมราชแตกต่างกัน
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมอง นนทบุรี.
วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพ
วรลักษณ์ แฝงมณี. (2549). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานประกันสังคม จังหวัดยโสธร.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2549). ศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์.ศาลเยาวชนและครอบครัว
กลาง. (2549). คู่มือการติดต่อราชการศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. กรุงเทพฯ :จิรรัชการพิมพ์ กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.