คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • ทิพย์มณี สีหาบุตร นักศึกษาปริญญาโท ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความคิดเห็นของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการสอน ของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 295 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1. ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร สถานศึกษาในสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการประสานสังคมและชุมชน 2) ด้านวิชาการ 3) ด้านพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร 4) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 5) ด้านบริหารจัดการ และ 6) ด้านการจัดระบบที่ดี  2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขต นวสิรินครินทร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างผู้ตอบที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกันมี ทั้งโดยรวมและรายด้าน 3 ด้านคือ 1) ด้านบริหารจัดการ 2) ด้านการจัดระบบที่ดี 3) ด้านการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร และ 4) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

References

ไชยยันต์ เกิดเหมาะ. (2554). ปัจจัยของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิราวรรณ โคทนา. (2553). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญา

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ดนัย เทียนพุฒ. (2543). ข่าวการศึกษาศูนย์บรรสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : e-Leadership. ผู้จัดการรายวัน. 12 เมษายน หน้า 5-26.

ธนวัฒน์ สายนภา. (2559). การพัฒนาการจัดการเชิงยุทธศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถาวร ไทยเจริญ. (2556). การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพและแนวทางการพัฒนาของ ผู้บริหารในสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.

บุญเพ็ง พิลาล้ำ. (2547). คุณสมบัติของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ประยุกต์ ประทุมทิพย์. (2544). โรงเรียนที่ปราศจากความล้มเหลว. สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า.

ประยุทธ ชูสอน. (2548). พฤติกรรมภาวะผู้นำ และแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร-ดุษฎีบัณฑิต.

ประเสริฐ อินทะมนต์. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รุ่งทิพย์ ปินะสา. (2557). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพในทรรศนะของครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหา-บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2555). ความเป็นผู้นำมืออาชีพ : แนวคิดและการปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาบันพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา. (2548). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ.คุรุสภาลาดพร้าว.

สุรวาท ทองบุ. (2555). วิจัยทางการศึกษา. อภิชาตการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543). แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.สำนักนายกรัฐมนตรี. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 .(2548). แผนปฏิบัติการกลุ่มนโยบาย และแผนงานประจำปีการศึกษา 2558. สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.

เหมรัฐส์ อินสุข, นิรุตติ ครุฑหลวง และสมชาติ บุญมัติ. (2552). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนุชา กอนพ่วง. (2550). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนุชิต วรรณสุทธิ์. (2545). การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในอนาคต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14