สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
คำสำคัญ:
สมรรถนะหลัก, ผู้บริหารสถานศึกษา, สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามเพศ และขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 97 คน .. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามลำดับ 2.ครูในกลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1ที่มีเพศต่างกันและขนาดของสถานศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3.ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกันกับครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจ และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน
References
กมลวรรณ สุขเกษม. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม.
ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ฉะเชิงเทรา.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ปนัดดา สาริคา. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร.วิทยานิพนธ์ค.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประเสริฐ. กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชนีกร แสงสว่าง. (2564). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566, 1-4.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). สมรรถนะของผู้บริหาสถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.
อับดุลรอมดัน บินเจะอาแว. (2565). สมรรถหลักรับความปรกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Krejcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, S. (1967). New patterns of management. New York: McGraw-Hill. Lunenberg, C. F. & Ornstein, C. A. (2004). Educational Administration: Concepts and practices(4th ed.). WadsWorth.
