ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำดิจิทัล, แนวทางการพัฒนา, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพป.เลย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพป.เลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ้างอิงใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า :
- ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการรู้ดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านการพัฒนาองค์กรด้วยดิจิทัล ตามลำดับ
- ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 1 ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านที่ 4 ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล และด้านที่ 5 ด้านการพัฒนาองค์กรด้วยดิจิทัล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมพบว่าแตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 3 ด้านการรู้ดิจิทัลมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 ผู้บริหารควรนำแนวคิดเกี่ยวกับดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน รู้ถึงข้อดีและข้อจำกัดของเทคโนโลยีแต่ละประเภท โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มีการกำหนดทิศทางดำเนินงานด้านดิจิทัล วางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนและส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในสถานศึกษาให้เป็นปกติ สนับสนุนครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาในการเข้าร่วมอบรมการใช้ดิจิทัล เพื่อยกระดับการบริหารและการเรียนการสอนให้ทันสมัยและมีคุณภาพให้ก้าวทันโลกดิจิทัล
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กลัญญู เพชราภรณ์. (2563). วิทยาการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นํา Leadership (ครั้งที่ 3). บริษัททริปเพิ้ล กรุ๊ป จํากัด.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศริธรรมออฟเซ็ท.
จีระศักดิ์ ชุมภู. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 52–54.
ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. (2565). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต1. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(3), 49-64.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีรพจน์ แนบเนียน. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิมพิลา อำนาจ. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 150-166.
ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วราภรณ์ พวงสำเภา. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออกสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2567). ระบบบริการข้อมูลภาครัฐ BIG DATA. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580). สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล School Management in Digital Era. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Authors who publish with Journal of TCI agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) that allows others to share the work with an acknowledgment of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgment of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work.