https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/issue/feed
วารสารสินธุ์โสธร
2025-06-29T00:00:00+07:00
Phramaha Pongtaratid Kongseang. Dr
pago.pttd@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารสินธุ์โสธร<br />Journal of Sinsothon<br />ISSN .................... (Print)<br />ISSN .................... (Online)</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ คือ</strong><br />- ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม)<br />- ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน)<br />- ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน)<br />- ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความ ดังนี้</strong></p> <p>-พระพุทธศาสนา ปรัชญา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์</p> <p>-ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์</p> <p>-สหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์</p> <p>-การบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน</p> <p><strong>ประเภทของบทความ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท</strong> </p> <p>-บทความวิจัย และ บทความวิชาการ</p> <p>-บทความปริทัศน์ และ บทความวิจารณ์หนังสือ</p> <p>รับตีพิมพ์บทความ ทั้งบทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ<br /></strong> -บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน</p> <p> -บทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละหนึ่งท่าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อยสองท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์</p> <p> -รูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร</p> <p> -บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ สำหรับทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <ol> <li class="show">ผลงานที่ส่งต้องไม่เคยตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้ส่งบทความ</li> <li class="show">ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์จะต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น</li> <li class="show">ต้นฉบับจะต้องผ่านการคัดกรองโดยบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับการอนุมัติจากคณะบรรณาธิการ</li> <li class="show">กรณีเป็นบทความแปล จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักจริยธรรมสากล</li> <li class="show">ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ และตารางที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว ไม่ใช่ความเห็นและความรับผิดชอบของบรรณาธิการวารสาร </li> <li class="show">ผลงานตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</li> </ol> <p><strong>ทั้งนี้</strong> วารสารสินธุ์โสธร ยังไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</p>
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1688
การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ
2025-03-31T11:23:30+07:00
บุญเพ็ง สิทธิวงษา
boonpeng.sit@neu.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนและการวิเคราะห์โครงการถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จขององค์กร และกลไกในการขับเคลื่อนระบบการทำงานในหน่วยงานที่มีระบบบริหารที่มีความสอดคล้องกับการทำงานทุกระดับชั้นและขั้นตอนต่าง ๆ ที่เข้ามาขับเคลื่อนนโยบายของหน่วยงานนั้น ๆ อย่างมีคามยึดหยุ่น การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการเป็นกระบวนการคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมาย เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ เป็นกระบวนการที่อาศัยการสร้างและรักษาแผนการ เป็นการเตรียมขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย และเป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดต่อการจัดการโครงการและเวลา ดังนั้น คนวางแผนดีจะสามารถลดเวลาและพลังงานในการบรรลุเป้าหมาย การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการทำให้สามารถกำหนดมาตรการในการปฏิบัติงาน รวมทั้งแผนกลยุทธ์เพื่อรองรับหรือรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือสามารถหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิผล ที่ตอบสนองความต้องการของเพื่อนร่วมงานและหน่วยงานในองค์กรนั้น ๆ อย่างมีความคุ้มค่าในการวางแผนและการวิเคราะห์โครงการและการนำไปปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1746
การยกระดับความนึกคิดและสภาวะทางอารมณ์ด้วยหลักธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
2025-06-19T10:38:54+07:00
พระวิชรญาณ วิสุทธิญาโณ (โม้แหยม)
paiwicharayan@gmail.com
ดร.อภิชิต เหมือยไธสง
paiwicharayan@gmail.com
พระมหาวิรุธ วิโรจโน (นิลเพ็ชร)
paiwicharayan@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อยกระดับความนึกคิดและสภาวะทางอารมณ์ของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของสังคมไทยร่วมสมัยซึ่งมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าแนวคิดด้านพุทธศาสนาและจิตวิทยา การศึกษาพบว่า หลักธรรมสำคัญ เช่น สติ สมาธิ และปัญญา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิดและการจัดการอารมณ์ ซึ่งการบูรณาการหลักธรรมเข้ากับเทคนิคทางจิตวิทยาสมัยใหม่สามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน ลดจำนวนผู้ป่วยที่กำลังเป็นจะเป็นโรคซึมเศร้าได้เพิ่มมากขึ้น บทความนี้นำเสนอกรอบแนวคิดและแนวทางปฏิบัติสำหรับการประยุกต์ใช้หลักธรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและการดำเนินชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1667
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
2025-06-21T07:34:47+07:00
ฉัตรฑริกา สุขเสน
chattarikasuksen@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพป.เลย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพป.เลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ้างอิงใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า :</p> <ol> <li>ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการรู้ดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านการพัฒนาองค์กรด้วยดิจิทัล ตามลำดับ</li> </ol> <ol start="2"> <li>ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 1 ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านที่ 4 ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล และด้านที่ 5 ด้านการพัฒนาองค์กรด้วยดิจิทัล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมพบว่าแตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 3 ด้านการรู้ดิจิทัลมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> <li>แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 ผู้บริหารควรนำแนวคิดเกี่ยวกับดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน รู้ถึงข้อดีและข้อจำกัดของเทคโนโลยีแต่ละประเภท โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มีการกำหนดทิศทางดำเนินงานด้านดิจิทัล วางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนและส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในสถานศึกษาให้เป็นปกติ สนับสนุนครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาในการเข้าร่วมอบรมการใช้ดิจิทัล เพื่อยกระดับการบริหารและการเรียนการสอนให้ทันสมัยและมีคุณภาพให้ก้าวทันโลกดิจิทัล</li> </ol>
2025-06-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1668
แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
2025-06-21T07:46:31+07:00
ขวัญธิดา ภวภูตานนท์
k.kwantida39@gmail.com
<p><strong> </strong>บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยพิจารณาแยกตามตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมและต่อยอดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสังกัดเดียวกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,(S.D.) ค่า t–test, (Independent Samples) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>(1) ผลการศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า จากภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 5 ด้านการเชื่อมโยงและร่วมมือเพื่อพัฒนานวัตกรรม รองลงมา คือ ด้านที่ 3 ด้านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่ 4 ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ด้านที่ 2 ด้านการเชื่อมโยงความรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ตามลำดับและด้านที่ต่ำสุด คือ ด้านที่ 1 ด้าน การกล้าคิด กล้าทำ ด้วยจินตนาการ</p> <p>(2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนก ตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งประสบการณ์และขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน สอดคล้องกับสมมติฐาน ของการวิจัยที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>(3) วิธีการส่งเสริมและต่อยอดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ต้องอาศัยแนวทางที่หลากหลายและต่อเนื่องตั้งแต่การส่งเสริมความกล้าคิดกล้าทำการบูรณาการความรู้การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์การพัฒนาวิธีการสอนและการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาหากสามารถดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบจะช่วยให้ครูสามารถสร้างสรรค์การจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคต</p> <p> </p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1676
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
2025-06-28T23:45:48+07:00
พรวารีญา กิตติธรรม
Pornwareeya.kit@student.mbu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 (2) เปรียบเทียบภาวะผู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที, (t–test, แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F – test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า :</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและด้านการทำงานเป็นทีมเชิงนวัตกรรม และที่ต่ำสุด คือ ด้านบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ประสบการณ์ทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</span></p> <p>3.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ผู้บริหารควรนำหลักแนวคิดของภาวะผู้นำสถานศึกษาที่มีวิสัยทัศน์จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การคิดสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีช่วยให้เกิดนวัตกรรมในการบริหารและการเรียนการสอน รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะทำให้สถานศึกษาพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1690
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี
2025-03-31T13:46:56+07:00
บุญเพ็ง สิทธิวงษา
boonpeng.sit@neu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดงนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี ในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน และกลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูลในการสัมภาณ์ ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติที่ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า :</p> <p>1) สภาพการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.07 S.D.=0.52) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านกัลยาณมิตตตา (ถึงพร้อมคบหาคนดีเป็นมิตร) ด้านสมชีวิตา (ถึงพร้อมด้วยเลี้ยงชีวิตแต่พอดี) ด้านอารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา) และด้านอุฎฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น) ตามลำดับ</p> <p>2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ อย่างมีนียสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านการประยุกต์ใช้ (X2) ปัจจัยด้านการประเมิน ติดตาม (X4) ปัจจัยด้านการวางแผน (X1) และปัจจัยด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล (X5) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .540 .403 .393 และ .014 ตามลำดับ </p> <p>3) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ คือ ผู้บริหารควรกำหนดนโยบาย สร้างความอดทนและความขยันหมั่นเพียรในการทำงานเพื่อความสำเร็จของงาน มีความรักและหวงแหนทรัพย์สินของทางราชการเปรียบเสมือนทรัพย์สินของทางราชการ โดยรู้จักวิธีใช้และรักษาให้ใช้การได้เป็นอย่างดี เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือกับบุคคล/ส่วนราชการ ประชาชนที่มาติดต่องาน โดยได้น้อมนำเอาพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และรู้จักเก็บออมเพื่อใช้ในเวลาที่จำเป็น</p> <p> </p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร