การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

                    บทความที่ส่งมาขอรับการเผยแพร่ในวารสารสินธุ์โสธร ควรมีเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์  ทั้งนี้บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความและบทวิจารณ์หนังสือของวารสารสินธุ์โสธร อย่างเคร่งครัด

                     ผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เช่น การปลอมแปลง บิดเบือน เป็นต้น ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความของวารสารสินธุ์โสธร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวารสารสินธุ์โสธร รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ในระดับไม่เกิน 25%

                     วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเผยแพร่ จำนวน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์หากผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินบทความแล้ว วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียม

  1. การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อรับการตีพิมพ์

          การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของวารสารสินธุ์โสธร ได้ที่ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS

  1. การจัดเตรียมบทความ

1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 8-15 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง)  พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดท่ากับ 1 และ เว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า ย่อหน้าห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย 0.5 นิ้ว หรือ 1.27 ซม.

2) การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัด พร้อมระบุหมายเลขกำกับตารางไว้ด้านบน ส่วนหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ  Table 1 และ ภาพที่ 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วน และมีความสัมพันธ์หรือสื่อถึงเนื้อความ

3) ชื่อเรื่อง (หน้าแรก) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางหน้าแรก ภาษาไทย ขนาดอักษร 20 pt ภาษาอังกฤษ ขนาดอักษร 18 pt

4) ชื่อผู้เขียน ชื่อสังกัดหรือหน่วยงาน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมอีเมล ให้เรียงชิดขวา ขนาดอักษร 14 pt

5) บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนคำไม่เกิน 350

6) คำสำคัญ (Keywords) 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

7) ใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด

  1. บทความวิจัย กำหนดรูปแบบ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract) ผลการวิจัยครบตามวัตถุประสงค์ มีเนื้อหาประกอบด้วยวัตถุประสงค์การวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และผลการวิจัย

2) บทนำ (Introduction) กล่าวถึงความเป็นมา ความสำคัญของปัญหาการวิจัย และเรียงลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา

3) วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives) มุ่งตอบปัญหาการวิจัย

4) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

5) ผลการวิจัย (Results) ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย

6) อภิปรายผล (Discussion) อภิปรายผลตามลำดับวัตถุประสงค์การวิจัย และมีการอ้างอิงเชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี ผลการวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้อง

7) องค์ความรู้ใหม่ (ถ้ามี) (Originality and Body of Knowledge) เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย สามารถแสดงในรูปแบบของแผนภาพ หรือโมเดล

8) สรุป (Conclusion)  สรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย และมีเนื้อหากระชับ ได้ใจความ

9) ข้อเสนอแนะ (Recommendation) เสนอแนะให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์การวิจัย

10) เอกสารอ้างอิง (References) อ้างอิงแบบ APA เรียงตามลำดับอักษรทั้งไทยและอังกฤษ มีความทันสมัย

  1. บทความวิชาการ กำหนดรูปแบบ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract) สังเคราะห์ และแสดงผลการศึกษาครบตามเนื้อหา

2) บทนำ (Introduction) กล่าวถึงความเป็นมา ความสำคัญของปัญหา และเรียงลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา

3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงถึงสาระสำคัญตามหลักวิชาการ และควรมีมุมมองหรือข้อคิดเห็นของผู้เขียนด้วย หัวข้อหรือประเด็นศึกษามีความเหมาะสมกับจำนวนหน้าของบทความตามที่วารสารกำหนด

4) สรุป (Conclusion) สรุปให้มีเนื้อหาครอบคลุมผลการศึกษาที่นําเสนอ สะท้อนคุณค่า การนําไปใช้ประโยชน์ เขียนเป็นความเรียง ไม่แทรกภาพ

5) เอกสารอ้างอิง (Reference) อ้างอิงแบบ APA เรียงตามลำดับอักษรทั้งไทยและอังกฤษ มีความทันสมัย

  1. บทวิจารณ์หนังสือ กำหนดรูปแบบ ดังนี้

                    1) บทนำ  กล่าวถึงลักษณะและความสำคัญของหนังสือ และประเด็นที่ศึกษา  

                    2) ความเป็นมาของหนังสือ และภูมิหลังผู้เขียน  กล่าวถึงความเป็นมาของหนังสือ ประวัติและผลงานของผู้แต่ง   

                    3) บทวิจารณ์  นําเสนอหลักการ แนวคิด ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ ที่สะท้อนมุมมอง เหตุผล ความคาดหวัง ผลกระทบ สาระสําคัญ ตามหลักทฤษฎีเชิงวิชาการ พร้อมเสนอแนะแนวทางเพื่อการแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนาต่อยอด รวมทั้งจุดเด่น และจุดด้อยของหนังสือ

                    4) สรุป  มีเนื้อหาครอบคลุมผลการศึกษาที่นําเสนอ สะท้อนคุณค่า การนําไปใช้ประโยชน์ เขียนเป็นความเรียง ไม่แทรกภาพ

5) อ้างอิงแบบ APA เรียงลำดับตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มีความทันสมัย และต้องเป็นรายการอ้างอิงที่มีในบทความเท่านั้น                  

  1. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการพร้อมตัวอย่างประกอบ

ข้อมูลการอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้อง   เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด

6.1 การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบ นาม-ปี หรือ APA ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน และปีที่พิมพ์ เอกสารที่นำมาอ้างอิงจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้

1) พระไตรปิฎกและอรรถกถาให้อ้างชื่อผู้พิมพ์ และ พ.ศ. เช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539); (อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560)

2) ผู้เขียนหนึ่งคนให้อ้างชื่อผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) และตามด้วยเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พุทธทาสภิกขุ, 2523)

                   3) ผู้เขียนสองคนให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองคน ให้ใส่คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่ง เช่น (สุชีพ ปุญญานุภาพ และ วศิน อินทสระ, 2523) หากเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใส่ครื่องหมาย “&” เช่น (Barry & Rawls, 2010) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิงเช่น (พุทธทาสภิกขุ, 2523; สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2524)

                   4) ถ้ามีผู้เขียนมากกว่า 2 คนให้อ้างชื่อของผู้เขียนคนแรก และเพิ่มคำว่า “และคณะ” เช่น (พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร และคณะ, 2561) หากเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใส่คำย่อว่า “et al.” เช่น (Rawls et al., 2020)

          5) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

                   (1) บริษัท นานมีบุ๊คส์จำกัด ใช้เป็น นานมีบุ๊คส์

                   (2) สำนักพิมพ์เทียนวรรณ ใช้เป็น เทียนวรรณ

                   (3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

6.2 เอกสารอ้างอิง

(1) พระไตรปิฎก และอรรถกถา

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อพระไตรปิฎก หรืออรรถกถา. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(2) หนังสือ

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง : วิทย์ วิศทเวศย์. (2553). ปรัชญาปริทรรศน์ : พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                   (3) บทความในหนังสือ

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ ใน ชื่อบรรณาธิการ. ชื่อเรื่อง. (เลขหน้าที่อ้าง).  สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง : ดำคง คงเดช. (2560). การสร้างความปรองดองในสังคมไทยด้วยหลักพุทธศาสนา. ใน อนันต์ แจ่มชื่น. ธรรโอสถกับการเยียวยาสังคม. (หน้า 112). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์.

(4) บทความในวารสาร

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าแรก – เลขหน้าสุดท้าย ที่ตีพิมพ์.

ตัวอย่าง : จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 5(3), 83-106.

                   (5) หนังสือพิมพ์

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.

ตัวอย่าง : อเนก พูลทรัพย์. (10 สิงหาคม 2560). ปัญหาการเมืองไทย. มติชน, น.10.

(6) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายงานการวิจัย

รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าอิสระ. ชื่อมหาวิทยาลัย/หน่วยงาน.

ตัวอย่าง: ภีรนัย โชติกันตะ. (2531). นิยายปรัมปราเรื่องแถน: วิเคราะห์ความเชื่อตามพงศาวดารล้านช้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                   (7) สัมภาษณ์

รูปแบบ: ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1 (หมายเลขโค้ดคนที่). (ปี). สัมภาษณ์.วัน/เดือน/ปี.

ตัวอย่าง : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1. (2567). สัมภาษณ์. 5 มีนาคม 2567.

(8) สื่อออนไลน์

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. เรียกใช้เมื่อ วันที่ เดือน ปี จาก แหล่งที่อยู่ข้อมูล  (URL)

ตัวอย่าง : อารีวรรณ ประสาน. (2553). การจัดการความรู้. เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2563 จาก http//www.eme2.dbec.go.th

 

ตัวอย่าง เอกสารอ้างอิง

จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 5(3), 83-

106.

ภีรนัย โชติกันตะ. (2531). นิยายปรัมปราเรื่องแถน: วิเคราะห์ความเชื่อตามพงศาวดารล้านช้าง. วิทยานิพนธ์

ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ดำคง คงเดช. (2560). การสร้างความปรองดองในสังคมไทยด้วยหลักพุทธศาสนา ใน อนันต์ แจ่มชื่น. ธรรมโอสถ

          กับการเยียวยาสังคม. (หน้า 112). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์.

พระมหาวสันต์ ญาณเมธี, ดร.. (2558). เจ้าอาวาส วัดศรีศาสดา. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม 2562. 

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

          กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทย์ วิศทเวศย์. (2553). ปรัชญาปริทรรศน์ : พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อเนก พูลทรัพย์. (10 สิงหาคม 2560). ปัญหาการเมืองไทย. มติชน, น.10.

อารีวรรณ ประสาน. (2553). การจัดการความรู้. เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2563 จาก http//www.

eme2.dbec.go.th

  1. รูปแบบการนำบทความลงตีพิมพ์ในวารสารสินธุ์โสธร

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร  *.docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า และ ไฟล์เอกสาร *.PDF  ในเบื้องต้นกองบรรณาธิการจะพิจารณารูปแบบบทความ ถ้าไม่ผ่าน จะส่งกลับไปให้แก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการประเมินแล้วจะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ

  1. สิทธิของบรรณาธิการ

          กรณีมีผู้ทรงประเมินให้ “ไม่ผ่าน” บรรณาธิการจะตัดสินตามเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อบทความได้รับการพิจารณาให้เผยแพร่ตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสาร คลิก

 

 

บทความวิจัย

บทความวิจัยหมายถึง บทความซึ่งนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วย บทคัดย่อ (Abstract)  บทนำ (Introduction) ที่กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology)  ผลการวิจัย (Results)  อภิปรายผล (Discussion)  องค์ความรู้ใหม่  สรุป (Conclusion)  ข้อเสนอแนะ (Recommendation) ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยอันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ (Academic Article) คือ งานเขียนที่มีความน่าสนใจ มุ่งเสนอความรู้ใหม่ ประกอบด้วยบทนำ เนื้อหาต้องชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจนด้วยการลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม ควรใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ สรุปผลและข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน

บทความปริทัศน์

บทความปริทัศน์ (review article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการทบทวนเอกสารวิชาการ ทั้ง ทางด้านทฤษฎีและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ โดยมีการทบทวนวรรณกรรม ค้นคว้า รวบรวม ข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ และนามาประมวลเรียบเรียงในรูปบทความ

บทวิจารณ์หนังสือ

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หมายถึงการเขียนเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งโดยเจตนาจะแนะนำหนังสือเล่มนั้นให้ผู้อ่านรู้จัก

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ