วารสารสินธุ์โสธร
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS
<p>วารสารสินธุ์โสธร<br />Journal of Sinsothon<br />ISSN .................... (Print)<br />ISSN .................... (Online)</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ คือ</strong><br />- ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม)<br />- ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน)<br />- ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน)<br />- ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความ ดังนี้</strong></p> <p>-พระพุทธศาสนา ปรัชญา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์</p> <p>-ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์</p> <p>-สหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์</p> <p>-การบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน</p> <p><strong>ประเภทของบทความ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท</strong> </p> <p>-บทความวิจัย และ บทความวิชาการ</p> <p>-บทความปริทัศน์ และ บทความวิจารณ์หนังสือ</p> <p>รับตีพิมพ์บทความ ทั้งบทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ<br /></strong> -บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน</p> <p> -บทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละหนึ่งท่าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อยสองท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์</p> <p> -รูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร</p> <p> -บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ สำหรับทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <ol> <li class="show">ผลงานที่ส่งต้องไม่เคยตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้ส่งบทความ</li> <li class="show">ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์จะต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น</li> <li class="show">ต้นฉบับจะต้องผ่านการคัดกรองโดยบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับการอนุมัติจากคณะบรรณาธิการ</li> <li class="show">กรณีเป็นบทความแปล จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักจริยธรรมสากล</li> <li class="show">ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ และตารางที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว ไม่ใช่ความเห็นและความรับผิดชอบของบรรณาธิการวารสาร </li> <li class="show">ผลงานตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</li> </ol> <p><strong>ทั้งนี้</strong> วารสารสินธุ์โสธร ยังไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</p>
th-TH
<p>Authors who publish with Journal of TCI agree to the following terms:</p> <p>- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/">Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</a> that allows others to share the work with an acknowledgment of the work's authorship and initial publication in this journal.</p> <p>- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgment of its initial publication in this journal.</p> <p>- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work.</p>
pago.pttd@gmail.com (Phramaha Pongtaratid Kongseang. Dr)
pantalee200134go@gmail.com (Phra Natthawut Phanthali)
Sun, 29 Jun 2025 00:00:00 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1667
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพป.เลย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพป.เลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ้างอิงใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า :</p> <ol> <li>ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการรู้ดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านการพัฒนาองค์กรด้วยดิจิทัล ตามลำดับ</li> </ol> <ol start="2"> <li>ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 1 ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านที่ 4 ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล และด้านที่ 5 ด้านการพัฒนาองค์กรด้วยดิจิทัล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมพบว่าแตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 3 ด้านการรู้ดิจิทัลมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> <li>แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสพป.เลย เขต 2 ผู้บริหารควรนำแนวคิดเกี่ยวกับดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน รู้ถึงข้อดีและข้อจำกัดของเทคโนโลยีแต่ละประเภท โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มีการกำหนดทิศทางดำเนินงานด้านดิจิทัล วางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนและส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในสถานศึกษาให้เป็นปกติ สนับสนุนครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาในการเข้าร่วมอบรมการใช้ดิจิทัล เพื่อยกระดับการบริหารและการเรียนการสอนให้ทันสมัยและมีคุณภาพให้ก้าวทันโลกดิจิทัล</li> </ol>
ฉัตรฑริกา สุขเสน
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1667
Fri, 27 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1668
<p><strong> </strong>บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยพิจารณาแยกตามตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมและต่อยอดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสังกัดเดียวกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,(S.D.) ค่า t–test, (Independent Samples) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>(1) ผลการศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า จากภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 5 ด้านการเชื่อมโยงและร่วมมือเพื่อพัฒนานวัตกรรม รองลงมา คือ ด้านที่ 3 ด้านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่ 4 ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ด้านที่ 2 ด้านการเชื่อมโยงความรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ตามลำดับและด้านที่ต่ำสุด คือ ด้านที่ 1 ด้าน การกล้าคิด กล้าทำ ด้วยจินตนาการ</p> <p>(2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนก ตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งประสบการณ์และขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน สอดคล้องกับสมมติฐาน ของการวิจัยที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>(3) วิธีการส่งเสริมและต่อยอดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ต้องอาศัยแนวทางที่หลากหลายและต่อเนื่องตั้งแต่การส่งเสริมความกล้าคิดกล้าทำการบูรณาการความรู้การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์การพัฒนาวิธีการสอนและการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาหากสามารถดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบจะช่วยให้ครูสามารถสร้างสรรค์การจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคต</p> <p> </p>
ขวัญธิดา ภวภูตานนท์
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1668
Sun, 29 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1676
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 (2) เปรียบเทียบภาวะผู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที, (t–test, แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F – test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า :</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและด้านการทำงานเป็นทีมเชิงนวัตกรรม และที่ต่ำสุด คือ ด้านบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ประสบการณ์ทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</span></p> <p>3.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ผู้บริหารควรนำหลักแนวคิดของภาวะผู้นำสถานศึกษาที่มีวิสัยทัศน์จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การคิดสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีช่วยให้เกิดนวัตกรรมในการบริหารและการเรียนการสอน รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะทำให้สถานศึกษาพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน</p>
พรวารีญา กิตติธรรม
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1676
Sun, 29 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1690
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดงนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี ในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน และกลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูลในการสัมภาณ์ ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติที่ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า :</p> <p>1) สภาพการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.07 S.D.=0.52) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านกัลยาณมิตตตา (ถึงพร้อมคบหาคนดีเป็นมิตร) ด้านสมชีวิตา (ถึงพร้อมด้วยเลี้ยงชีวิตแต่พอดี) ด้านอารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา) และด้านอุฎฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น) ตามลำดับ</p> <p>2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ อย่างมีนียสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านการประยุกต์ใช้ (X2) ปัจจัยด้านการประเมิน ติดตาม (X4) ปัจจัยด้านการวางแผน (X1) และปัจจัยด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล (X5) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .540 .403 .393 และ .014 ตามลำดับ </p> <p>3) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมของข้าราชการ คือ ผู้บริหารควรกำหนดนโยบาย สร้างความอดทนและความขยันหมั่นเพียรในการทำงานเพื่อความสำเร็จของงาน มีความรักและหวงแหนทรัพย์สินของทางราชการเปรียบเสมือนทรัพย์สินของทางราชการ โดยรู้จักวิธีใช้และรักษาให้ใช้การได้เป็นอย่างดี เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือกับบุคคล/ส่วนราชการ ประชาชนที่มาติดต่องาน โดยได้น้อมนำเอาพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และรู้จักเก็บออมเพื่อใช้ในเวลาที่จำเป็น</p> <p> </p>
บุญเพ็ง สิทธิวงษา
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1690
Sun, 29 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การยกระดับความนึกคิดและสภาวะทางอารมณ์ด้วยหลักธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1746
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อยกระดับความนึกคิดและสภาวะทางอารมณ์ของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของสังคมไทยร่วมสมัยซึ่งมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าแนวคิดด้านพุทธศาสนาและจิตวิทยา การศึกษาพบว่า หลักธรรมสำคัญ เช่น สติ สมาธิ และปัญญา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิดและการจัดการอารมณ์ ซึ่งการบูรณาการหลักธรรมเข้ากับเทคนิคทางจิตวิทยาสมัยใหม่สามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน ลดจำนวนผู้ป่วยที่กำลังเป็นจะเป็นโรคซึมเศร้าได้เพิ่มมากขึ้น บทความนี้นำเสนอกรอบแนวคิดและแนวทางปฏิบัติสำหรับการประยุกต์ใช้หลักธรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและการดำเนินชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น</p>
พระวิชรญาณ วิสุทธิญาโณ (โม้แหยม); ดร.อภิชิต เหมือยไธสง, พระมหาวิรุธ วิโรจโน (นิลเพ็ชร)
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1746
Sun, 29 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1688
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนและการวิเคราะห์โครงการถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จขององค์กร และกลไกในการขับเคลื่อนระบบการทำงานในหน่วยงานที่มีระบบบริหารที่มีความสอดคล้องกับการทำงานทุกระดับชั้นและขั้นตอนต่าง ๆ ที่เข้ามาขับเคลื่อนนโยบายของหน่วยงานนั้น ๆ อย่างมีคามยึดหยุ่น การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการเป็นกระบวนการคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมาย เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ เป็นกระบวนการที่อาศัยการสร้างและรักษาแผนการ เป็นการเตรียมขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย และเป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดต่อการจัดการโครงการและเวลา ดังนั้น คนวางแผนดีจะสามารถลดเวลาและพลังงานในการบรรลุเป้าหมาย การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการทำให้สามารถกำหนดมาตรการในการปฏิบัติงาน รวมทั้งแผนกลยุทธ์เพื่อรองรับหรือรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือสามารถหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิผล ที่ตอบสนองความต้องการของเพื่อนร่วมงานและหน่วยงานในองค์กรนั้น ๆ อย่างมีความคุ้มค่าในการวางแผนและการวิเคราะห์โครงการและการนำไปปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน</p>
บุญเพ็ง สิทธิวงษา
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOS/article/view/1688
Sun, 29 Jun 2025 00:00:00 +0700