การกลายเป็นเมืองในพื้นที่ย่านประตูน้ำ ระหว่างพ.ศ.2448-2550

Main Article Content

Yaninie Phaithayawat

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการกลายเป็นเมืองในพื้นที่ย่านประตูน้ำ ซึ่งเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2448 - 2550 ด้วยวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางกายภาพในของย่านประตูน้ำ 2) ศึกษาปัจจัยที่มาของการกลายเป็นเมืองในย่านประตูน้ำ จากการศึกษาพบว่า การกลายเป็นเมืองในพื้นที่ย่านประตูน้ำแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาใหญ่ 1) ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2448 - 2500 ซึ่งเป็นยุคกำเนิดพื้นที่ย่านประตูน้ำ การขุดคลองแสนแสบที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้ริมสองฝั่งคลองมีการจับจองที่ดินทำการเกษตร ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างประตูระบายน้ำชื่อว่า “ประตูน้ำวังสระปทุม” ในทุ่งบางกะปิ เพื่อการเพาะปลูก และการคมนาคม ทำให้พื้นที่ดังกล่าว กลายเป็นแหล่งชุมชน ตลาดน้ำ และเป็นที่ตั้งของ วังและที่พักข้าราชการ เมื่อมีการตัดถนนราชปรารถ และตัดถนนเพชรบุรี ส่งผลให้พื้นที่ประตูน้ำกลายเป็นเมือง มีการสร้างตลาดบนบก เรียกว่าตลาดเฉลิมโลกขึ้นบนถนนเพชรบุรี 2) ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500 - 2540 เป็นยุคทุนนิยมอุตสาหกรรม ที่ย่านประตูน้ำกลายเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เนื่องจากมี การตัดถนนเพชรบุรีตัดใหม่ตัดขึ้นในปี 2506 ซึ่งส่งผลให้มีการรื้อถอนตลาดเฉลิมโลภ ประกอบกับกลุ่มนายทุนได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ย่านประตูน้ำ เปลี่ยนให้ประตูน้ำกลายเป็นแหล่งบันเทิงที่มีทั้งโรงภาพยนตร์ ไนท์คลับและศูนย์การค้าที่ทันสมัย 3) ช่วงระหว่างปี 2540-2550 เป็นช่วงที่ธุรกิจในย่านประตูน้ำ อาทิ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เริ่มซบเซาและบางส่วนได้ปิดตัวลงเนื่องมาจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540        

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สำนัก. เอกสารรายงานการประชุมเสนาบดี รัชกาลที่ 6 กระทรวงคมนาคม มร.6 คค/7

เรื่องรวมโรงงานต่าง ๆ ของกรมรถไฟไว้ที่ตำบลมักกะสัน และจัดโรงงานวัดมักกะสันเป็นโรงงานกลาง (27 กรกฎาคม 2460 - 24 กันยายน 2461).

_______. เอกสารกระทรวงพาณิชย์ พณ 0301.1.1/8 (2470 - 72) เรื่องการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการของกรม.

หนังสือและบทความ

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรมศิลปากร. (2525). จดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ:

กรมศิลปากร.

ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2554, กรกฎาคม - ธันวาคม). ภาพยนตร์ไทยกับยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี. นิเทศ

ศาสตรปริทัศน์. 18(1). หน้า 10 - 11.

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2536). การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภูมิศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดอะเนชั่นรีวิว. (2520, 7 ตุลาคม). ศูนย์การค้าประตูน้ำ. เดอะเนชั่น.

เทพชู ทับทอง. (2545). อนุทินกรุงเทพฯ ภาพแห่งความทรงจำ. กรุงเทพฯ: ปิรามิด.

แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว, และคณะ. (2534). องค์ประกอบทางกายภาพกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชาชาติธุรกิจ. (2530, 22 สิงหาคม). เปิดโครงการจุลดิศ ทาวเวอร์ ที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ย่านประตูน้ำ. ประชา

ชาติธุรกิจ. 13(18).

_______. (2531, 30 เมษายน). ทำเลห้างสรรพสินค้า สายทางที่เปลี่ยนทิศ. ประชาชาติธุรกิจ. หน้า 19

_______. (2531, 22 ตุลาคม). ทุ่มพันล้านเนรมิต ใบหยก 2 สูง 80 ชั้นรับนักธุรกิจนอก. ประชาชาติธุรกิจ. .......

_______. (2531, 26 - 28 ตุลาคม). ราชปรารภสุดเฟื่อง ตึกสูงสะพรั่งสองฝาก. ประชาชาติธุรกิจ. 14(12).

ปิยนาถ บุนนาค, ดวงพร นพคุณ และสุวัฒนา ธาดานิติ. (2525). คลองในกรุงเทพฯ: ความเป็นมาการ

เปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ในรอบ 200 ปี (พ.ศ. 2325 - 2525). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พอพันธ์ อุยยานนท์. (2564). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มติชน. (2550, 14 ตุลาคม). พันธ์เลิศ ใบหยก ผู้ชายบนตึกสูงที่สุดในประเทศไทย. มติชน. หน้า 17-18.

โรม บุนนาค. (2563, 19 - 25 ธันวาคม). จากทุ่งปทุมวัน มาเป็นราชประสงค์ในวันนี้. ผู้จัดการสุดสัปดาห์. 12

(582).

ลาวัณย์ โชตามระ. (2529). ชีวิตชาวกรุงเมื่อค่อนศตวรรษมาแล้วและชีวิตชาวกรุงสมัยสงคราม. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์แพร่พิทยา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2565). พจนานุกรมศัพท์ผังเมือง ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงาน

ราชบัณฑิตยสภา,

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2546). ชื่อบ้านนามในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สยามโพสต์. (2538, 21 กรกฎาคม). สยามโพสต์. 3(1066).

สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร. (2557). ตำนานงานโยธา. กรุงเทพฯ: สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. (2555). ปทุมวนานุสรณ์: โครงการบูรณปฎิสังขรณ์วัดปทุมวนาราม

Thai collection architecture. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อเนก นาวิกมูล. (2542). วังบ้านฐานถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

(2510). โสภาราตรีที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่. อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ 7 (6) : 69 - 75.

(2515). อนุสรณ์ 100 ปี พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร). นครหลวงฯ: คณะกรรมการบริษัทนายเลิศ.

(2566). หนังสือที่ระลึกในพิธีพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์ นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัท

พิมพ์ดี จำกัด.

วิทยานิพนธ์และงานวิจัย

พิมพ์อุมา โตสินธพ. (2548). คลองเชื่อมกับพัฒนาการของชุมชนในลุ่มแม่น้ำบางปะกงระหว่าง พ.ศ. 2420 –

วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิสุทธา กฤตยาพิมลพร. (2550). พัฒนาการธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปย่านประตูน้ำ. วิทยานิพนธ์ ศ.ม.

(เศรษฐศาสตร์การเมือง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรรัตน์ การะเวก. (2549). พัฒนาการของย่านการค้าประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ผ.ม.

(การวางผังเมือง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัมภาษณ์

กัลยาณี อาชาวรัตน์, การสื่อสารส่วนบุคคล, 19 พฤศจิกายน 2566.

พีระพงษ์ เต็มบุญเกียรติ, การสื่อสารส่วนบุคคล, 6 พฤศจิกายน 2566.

แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ปริญญา ตรีน้อยใส. (2526). คอลัมน์มองบ้านมองเมือง. มติชนสุดสัปดาห์. ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม - 2

มิถุนายน 2565. จาก www.matichonweekly.com.

โลจน์ นันทิวัชรินทร์. (2567). พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม. จาก https://readthecloud.co/sa-pathum-

palace/

BeerBaiyoke. (2565, 20 เมษายน). History of Baiyoke Sky tower ต้องผ่านอุปสรรค และเรื่องราวอะไร

มาบ้าง. (Video). YouTube, https://youtu.be/ON-DBMcxEXk?si=I98yLs_EaGAcrUU7