วารสารประวัติศาสตร์ มศว https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH <p>วารสารประวัติศาสตร์ มศว<br />Online ISSN 3027-7035</p> <p>กำหนดออกปีละ 1 ฉบับ มกราคม - ธันวาคม<br />ขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารประวัติศาสตร์เปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ในภาษาไทย และอังกฤษ วารสารแต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความโดยประมาณ 9-12 บท</p> <p>วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมการศึกษา และค้นคว้าในสาขาวิชาประวัติศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัย รวมถึงบทความของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจทั่วไป</p> <p>วารสารประวัติศาสตร์ มศว เปิดรับบทความโดยไม่มีค่าใช้จ่าย</p> <p>บทความแต่ละบทความจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมิน 3 ท่าน โดยผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน</p> th-TH sanyache@g.swu.ac.th (สัญญา ชีวะประเสริฐ) nattapol@g.swu.ac.th (ณัฐพล อิศรางกูร ณ อยุธยา) Mon, 09 Dec 2024 11:04:37 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 วัฒนธรรมของแฟนคลับไอดอลสไตล์ญี่ปุ่นในสังคมไทยช่วงกลางทศวรรษ 2000-ค.ศ. 2020: กรณีศึกษาแฟนคลับไอดอล AKB48 และแฟนคลับ BNK48 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/165 <p>บทความนี้ต้องการศึกษาวัฒนธรรมของแฟนคลับวงไอดอลสไตล์ญี่ปุ่นในสังคมไทยช่วงกลางทศวรรษ 2000 - ค.ศ. 2020 โดยศึกษากรณีแฟนคลับวงไอดอล AKB48 และแฟนคลับวงไอดอล BNK48 เพื่อทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของแฟนคลับวงไอดอลสไตล์ญี่ปุ่นนับตั้งแต่วัฒนธรรมบันเทิงแบบศิลปินไอดอลของญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในสังคมไทยช่วงกลางทศวรรษ 2000 ในบริบทที่ญี่ปุ่นใช้นโยบาย cool Japan ส่งออกวัฒนธรรมสมัยนิยม (pop culture)ไปยังต่างประเทศเพื่อหารายได้เข้าประเทศญี่ปุ่น เมื่อวัฒนธรรมบันเทิงแบบศิลปินไอดอล AKB48 เข้ามาในสังคมไทยได้เกิดแฟนคลับที่มีวัฒนธรรมย่อยเฉพาะกลุ่ม (sub culture) โดยแฟนคลับเหล่านี้มีลักษณะเป็น “สาวก” (cultist) ผู้บริโภคสินค้าและมีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กันภายในกลุ่ม ต่อมาในช่วงกลางทศวรรษ 2010 ได้มีนักธุรกิจชาวไทยซื้อลิขสิทธิ์จากญี่ปุ่นมาตั้งวงไอดอล BNK48 ขึ้น จึงเกิดแฟนคลับขึ้นโดยวัฒนธรรมของแฟนคลับ BNK48 มีทั้งส่วนที่มาจากวัฒนธรรมของแฟนคลับ AKB48 และวัฒนธรรมเฉพาะของแฟนคลับ BNK48 ที่สร้างขึ้นในบริบทเฉพาะของสังคมไทย เช่น การนำเอาวัฒนธรรมแฟนโปรเจกต์ (fan project) ของแฟนคลับศิลปิน K-pop ของเกาหลีมาใช้ในการเชียร์วง BNK48 อีกทั้งแฟนคลับ BNK48 มีลักษณะเป็น “ผู้บริโภคที่กระตือรือร้น” (active consumer) ต่างจากแฟนคลับ AKB48 ช่วงก่อนหน้า</p> เจตณรงค์ ลิขิตบัณฑูร, โดม ไกรปกรณ์ Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/165 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 4 ทศวรรษ กลุ่มศิลปินหญิงไทย : จาก “คณะนักร้อง” สู่ “ไอดอล-เกิร์ลกรุ๊ป” https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/454 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มศิลปินหญิงที่เรียกว่า “เกิร์ลกรุ๊ป” ในประวัติศาสตร์วงการเพลงไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปี พ.ศ. 2565 โดยพิจารณาข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในฐานะ “หลักฐานร่วมสมัย” ที่ทำให้เห็นบริบทที่อยู่โดยรอบเกิร์ลกรุ๊ปไทย ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่า เกิร์ลกรุ๊ปไทยประกอบสร้างขึ้นจากองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ผู้ผลิต ได้แก่ 1. ค่ายเพลงหรือค่ายไอดอล ที่ผลิตงานเพลงและดูแลบริหารจัดการศิลปิน 2. สมาชิก ที่มีเกณฑ์พิจารณาออกเป็น 2 ส่วนคือ อายุของสมาชิก กับการเข้ามาเป็นศิลปินหรือไอดอล ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ก่อนจะกลายเป็นศิลปินที่นำเสนอตามแนวคิดของค่ายเพลงหรือค่ายไอดอล 3. ช่องทางในการนำเสนอ ได้แก่ สื่อดั้งเดิม เช่น สิ่งพิมพ์, วิทยุกระจายเสียง, โทรทัศน์ กับสื่อใหม่ เช่น เว็บไซต์, สื่อสังคมออนไลน์, ยูทูบ, แอปพลิเคชั่น รวมถึงกิจกรรมภายนอก เช่น เทศกาลดนตรี, อีเวนท์ต่าง ๆ ทั้งนี้ การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปไทยในแต่ละช่วงเวลา ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนค่านิยมในช่วงเวลานั้น ขณะที่อิทธิพลของวัฒนธรรมสมัยนิยมจากต่างประเทศ อาทิ ชาติตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ ต่างมีส่วนสำคัญต่อการผลิตงานเพลงและสร้างเกิร์ลกรุ๊ปไทย โดยปรากฏการนำเสนอผ่านแนวดนตรี, การแต่งกายตามสมัยนิยม ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางหรือแนวโน้มของธุรกิจดนตรีและบันเทิงในระดับสากล รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคที่มีลักษณะปัจเจกมากขึ้น</p> Thanapiti Thipa Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/454 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 การกลายเป็นเมืองในพื้นที่ย่านประตูน้ำ ระหว่างพ.ศ.2448-2550 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/460 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการกลายเป็นเมืองในพื้นที่ย่านประตูน้ำ ซึ่งเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2448 - 2550 ด้วยวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางกายภาพในของย่านประตูน้ำ 2) ศึกษาปัจจัยที่มาของการกลายเป็นเมืองในย่านประตูน้ำ จากการศึกษาพบว่า การกลายเป็นเมืองในพื้นที่ย่านประตูน้ำแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาใหญ่ 1) ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2448 - 2500 ซึ่งเป็นยุคกำเนิดพื้นที่ย่านประตูน้ำ การขุดคลองแสนแสบที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้ริมสองฝั่งคลองมีการจับจองที่ดินทำการเกษตร ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างประตูระบายน้ำชื่อว่า “ประตูน้ำวังสระปทุม” ในทุ่งบางกะปิ เพื่อการเพาะปลูก และการคมนาคม ทำให้พื้นที่ดังกล่าว กลายเป็นแหล่งชุมชน ตลาดน้ำ และเป็นที่ตั้งของ วังและที่พักข้าราชการ เมื่อมีการตัดถนนราชปรารถ และตัดถนนเพชรบุรี ส่งผลให้พื้นที่ประตูน้ำกลายเป็นเมือง มีการสร้างตลาดบนบก เรียกว่าตลาดเฉลิมโลกขึ้นบนถนนเพชรบุรี 2) ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500 - 2540 เป็นยุคทุนนิยมอุตสาหกรรม ที่ย่านประตูน้ำกลายเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เนื่องจากมี การตัดถนนเพชรบุรีตัดใหม่ตัดขึ้นในปี 2506 ซึ่งส่งผลให้มีการรื้อถอนตลาดเฉลิมโลภ ประกอบกับกลุ่มนายทุนได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ย่านประตูน้ำ เปลี่ยนให้ประตูน้ำกลายเป็นแหล่งบันเทิงที่มีทั้งโรงภาพยนตร์ ไนท์คลับและศูนย์การค้าที่ทันสมัย 3) ช่วงระหว่างปี 2540-2550 เป็นช่วงที่ธุรกิจในย่านประตูน้ำ อาทิ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เริ่มซบเซาและบางส่วนได้ปิดตัวลงเนื่องมาจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> Yaninie Phaithayawat Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/460 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 การเมืองวัฒนธรรมของการเสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2469 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/459 <p>บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเสด็จฯมณฑลพายัพ (ล้านนา) ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2469 ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประกอบกับการนำเอาแนวคิดว่าด้วยการเมืองวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการตีความ&nbsp; ข้อเสนอของบทความคือ การเสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. 2469 มีนัยยะทางการเมืองวัฒนธรรมของการสร้างความหมายขององค์พระมหากษัตริย์สยามที่มีอำนาจเหนือบ้านเมืองในมณฑลพายัพ (อาณานิคมล้านนาเดิม) ภายใต้บริบทที่รัฐบาลสยามกำลังจัดระเบียบการปกครองมณฑลพายัพ รวมทั้งบริบททางการเมืองส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงขาดประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นการเสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพจึงมีการจัดพิธีการต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาและสัญลักษณ์สื่อถึงความรุ่งเรืองของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “ยุคทอง” ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสานต่อ</p> โดม ไกรปกรณ์ Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/459 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 การก่อร่างและการเปลี่ยนแปลงของระบบเกียรติยศในสังคมไทย (พ.ศ. 2394 - 2468) https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/329 <p>บทความนี้ศึกษาการก่อตัวและการเปลี่ยนแปลงของระบบเกียรติยศในสังคมไทยระหว่าง พ.ศ. 2394 – 2469 ผ่านการจัดการต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ศึกษาจากหลักฐานชั้นต้นและชั้นรองที่เกี่ยวข้อง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภณ์ของชนชั้นนำในช่วง พ.ศ. 2394 – 2469 แสดงให้เห็นการก่อร่าง การวางรูปแบบและการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับระบบเกียรติยศแบบใหม่ในสังคมไทยตั้งแต่การริเริ่มสถาปนาเครื่องหมายสัญลักษณ์แบบใหม่คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพัฒนาแบบแผนของเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อสร้างเป็นระบบความสัมพันธ์ภายในระบบเกียรติยศที่ชัดเจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการใช้คุณสมบัติการเป็นเครื่องแสดงความสัมพันธ์ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในการคัดแยกกลุ่มคนออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่รับรู้ในสังคมเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน</p> Ekkaluk Loysak, Siriporn Dabphet Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/329 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 ฟ้าดินและกลิ่นหอม: https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/138 <p>บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสของพันธมิตรพรรคฟ้าดิน-ลัทธิบื๋วเซินกี่เฮืองในนครไซ่ง่อนช่วงคริสต์ทศวรรษ 1910&nbsp; โดยชี้ให้เห็นว่า แม้งานวิชาการหลายชิ้นจะศึกษาและอธิบายขบวนการต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศสทั้งแบบจารีต สมัยใหม่ รวมถึงที่ศึกษาการเปลี่ยนผ่านจากขบวนการฯ จารีตสู่ขบวนการฯ สมัยใหม่ รวมทั้งคืนบทบาทการต่อสู้ให้แก่พื้นที่เวียดนามตอนใต้แล้ว แต่ก็ยังไม่มีงานใดที่จะอธิบายถึงการเปลี่ยนผ่านจากการเคลื่อนไหวต่อต้านอาณานิคมในพื้นที่ชนบทสู่การเคลื่อนไหวในพื้นที่เมือง&nbsp; ทั้งนี้ การศึกษาความร่วมมือระหว่างสองขบวนการข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างขบวนการชนบทเช่นลัทธิบื๋วเซินกี่เฮืองที่นำโดยฟานซิกลองม์กับพรรคฟ้าดินที่แฝงตัวแทรกซึมในนครไซ่ง่อนและคุ้นเคยกับพื้นที่เมืองเป็นอย่างดีนั้นได้สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์การต่อต้านอาณานิคมของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงจากเดิมที่เคยจำกัดแต่ในพื้นที่ชนบทอันห่างไกลมาสู่พื้นที่ใจกลางอาณานิคมเช่นนครไซ่ง่อน</p> กาญจนพงค์ รินสินธุ์, ทวีศักดิ์ เผือกสม Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/138 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 MILLET: THE FORGOTTEN GRAIN AND ITS POSSIBLE REVIVAL AS AN ANSWER TO FOOD SHORTAGE IN THE PHILIPPINES https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/504 <p>Millet was one of the grains produced in the Philippines during the pre-colonial era. &nbsp;Though it is described in ancient Egyptian and Babylonian texts, millet’s origin and introduction in the &nbsp;Philippines remain shrouded in history.&nbsp; Its cultivation and use, however, were described by early Spanish missionaries.&nbsp; Along with rice, millet was one of the festal foods of the Philippines which were consumed only during times of feasts and merry-making.&nbsp; &nbsp;In the course of centuries, the Filipinos were drawn towards a wider utilization of rice and the farming and consumption of millet has become more of a rarity as it became confined to a few remote areas in the islands.&nbsp; &nbsp;Meanwhile millet is still being grown in various countries of Southeast Asia like Malaysia and Indonesia.&nbsp; Beyond the region, millet is a major grain in India and China which are its biggest producers as well as various countries in Africa.&nbsp; This paper examines the reasons for the decline of the cultivation of millet and discusses the possibilities and benefits of its revival and popularization. Compared to rice millet requires less water and fertilizer and it is more tolerant of hot and dry climates and increased soil salinity.&nbsp; The article also compares the nutritive value of millet compared to other grains and its popular cultivation could become a solution for the food shortage and malnutrition in the Philippines</p> Augusto de Viana Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/504 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 เสด็จประพาสต้นฉบับนายบ่าย ทบทวนภาพลักษณ์รัชกาลที่ 5 ในประวัติศาสตร์เสด็จประพาสต้น https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/331 <p>บทความนี้นำเสนอหลักฐานการเสด็จประพาสต้น ร.ศ. 123/พ.ศ. 2447 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผ่านเอกสารรายงานของนายบ่าย เจ้าพนักงานรักษาคลองดำเนินสะดวกตอนใน กรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการ ที่ให้ข้อมูลการเสด็จประพาสต้นครั้งนั้นเพิ่มเติมไปจากจดหมายนายทรงอานุภาพ พระนามแฝงของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงใช้นิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้น เมื่อ ร.ศ. 123 รายงานของนายบ่ายมีรายละเอียดขบวนเรือพระที่นั่งทั้งหมด 59 ลำ ตรงข้ามกับความรับรู้ตามพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงนำเสนอการเสด็จฯ อย่างเงียบ ๆ ไม่ต้องการให้ใครล่วงรู้ จนกลายเป็นภาพลักษณ์รัชกาลที่ 5 มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับราษฎรของพระองค์ ขณะที่รายงานอย่างตรงไปตรงมาของนายบ่ายได้ให้ภาพลักษณ์การเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องถิ่นสยามอย่างสมพระเกียรติยศ เป็นที่ชื่นชมพระบารมีแก่อาณาประชาราษฎร์เสียยิ่งกว่าการเสด็จฯ อย่างเงียบ ๆ ด้วยเหตุนี้ ภาพลักษณ์รัชกาลที่ 5 จึงถูกชนชั้นนำสร้างขึ้นและผลิตซ้ำเพื่อประโยชน์ทางการเมือง แทนที่ความรับรู้ของสามัญชนร่วมสมัยอย่างนายบ่าย และกรณีจดหมายนายทรงอานุภาพเล่าเรื่องประพาสต้นสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นยอดของความเรียงเรื่องนิทาน (ในฐานะเรื่องแต่ง) ที่ดำรงราชานุภาพมาตราบปัจจุบัน</p> Bhanubongs Siddhisara Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/331 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 ภูมิเบ็งเมลูในบันทึกการเดินทางของเอเจียน ฟร็องซิส แอมอนิเย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/333 <p>บทความนี้พิจารณาบทบาทของเอเจียน ฟร็องซิส แอมอนิเย (Étienne François Aymonier) นักสำรวจชาวฝรั่งเศสกับการสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับชุมชนชายขอบอำนาจรัฐสยามในเขตเทือกเขาพนมดงรัก โดยวิเคราะห์จากหลักฐาน 2 ฉบับ คือ <em>บันทึกการเดินทางในลาวภาคหนึ่ง </em><em>2438</em> และ<em> บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง </em><em>2440</em> บันทึกทั้งสองฉบับนี้เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนอิทธิพลของอาณานิคมฝรั่งเศสที่พยายามบริหารจัดการพื้นที่ผ่านการเดินทาง การสำรวจแหล่งประวัติศาสตร์ การเก็บข้อมูลเส้นทาง การจัดลำดับความสำคัญของเมืองและชุมชน การวิเคราะห์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดถึงการบรรยายลักษณะทางภูมิศาสตร์และกายภาพของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การสร้างชุดความรู้ดังกล่าวเน้นย้ำให้เห็นถึงสถานภาพของชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจรัฐสยาม รวมถึงการศึกษาสารัตถะหรือรูปแบบขั้นมูลฐานของสถาบันทางสังคมในชนบทด้วย บทความต้องการเสนอว่า<em> ภูมิเบ็งเมลู </em>หรือ<em> บ้านบึงมะลู </em>เป็นชุมชนขนาดเล็กในเขตเทือกเขาพนมดงรักที่มีความสำคัญต่อการสร้างชุดความรู้ดังกล่าวอย่างมาก เพราะมีนัยสำคัญต่อระบอบอาณานิคมในฐานะชุมชนที่ถูกละเลยจากความสนใจของรัฐพื้นเมือง แต่อาณานิคมฝรั่งเศสสามารถเข้าถึงและทำให้ชุมชนที่เคยเป็นอิสระจากรัฐถูกเปิดเผยตัวตนผ่านการบันทึกในรูปแบบเอกสารอย่างเป็นทางการ การผลิตชุดความรู้นี้เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ และพยายามผูกชุมชนที่อยู่ห่างไกลในเทือกเขาพนมดงรัก ให้เป็นพื้นที่ต่อรองทางอำนาจของรัฐสมัยใหม่ในการกำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 &nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> Wuttichai Nakkiew Copyright (c) 2024 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/333 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 บ่วงหนี้: ปัญหา “กยศ.” ในอเมริกา https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/1099 <p>-</p> อาวุธ ธีระเอก Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/1099 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 "แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการท􀅉ำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น” โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/1100 <p>-</p> ปัณณทัต จิตตกูล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/1100 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700