วารสารประวัติศาสตร์ มศว https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH <p>วารสารประวัติศาสตร์ มศว<br />Online ISSN 3027-7035</p> <p>กำหนดออกปีละ 1 ฉบับ มกราคม - ธันวาคม<br />ขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารประวัติศาสตร์</p> <p>วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมการศึกษา และค้นคว้าในสาขาวิชาประวัติศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัย รวมถึงบทความของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจทั่วไป</p> <p>วารสารประวัติศาสตร์ มศว เปิดรับบทความโดยไม่มีค่าใช้จ่าย</p> <p>บทความแต่ละบทความจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมิน 3 ท่าน โดยผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน</p> ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Department of History, Faculty of Social Science, Srinakharinwirot University) th-TH วารสารประวัติศาสตร์ มศว 0125-1902 การรับมือของสยามต่อฝรั่งเศสเหนือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงก่อนวิกฤติปากน้ำ ค.ศ. 1893 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/154 <p>บทความชิ้นนี้จึงมุ่งสำรวจการรับมือของสยามต่อฝรั่งเศสเหนือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงในความรับรู้ (perception) ของชนชั้นนำสยามไม่อาจรู้ถึงผลลัพธ์ของการกระทำและนโยบายต่างๆ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์เฉพาะเอกสารที่ชนชั้นนำสยามสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งคือเอกสารฝ่ายไทย เอกสารทางการทูตที่ใช้โต้ตอบกันระหว่างสยามและฝรั่งเศส และเอกสารที่เป็นสาธารณะในช่วงเวลาดังกล่าวเท่านั้น ผ่านการนำข้อวิพากษ์ของการถกเถียงปัญหาการได้หรือเสียดินแดนของสยามมาที่ฝ่ายหนึ่งมักระบุว่าสยามได้เสียดินแดนไปมากมาย และอีกฝ่ายระบุว่าสยามไม่ได้เสียดินแดนไปเลยกระทั่งได้ดินแดนมาเป็นฐานในการวิเคราะห์หลักฐานใหม่อีกครั้ง</p> <p>จากการศึกษาพบว่า 1) ชนชั้นนำสยามได้วางนโยบายในการครอบครองดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงโดยรับรู้ว่าดินแดนดังกล่าวไม่ใช่ของสยามแต่เพียงผู้เดียว เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการเจรจาเขตแดนระหว่างสยามกับเวียดนาม (อาณานิคมของฝรั่งเศส) และเพื่อป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสใช้แม่น้ำโขงเป็นเขตแดน 2) สยามได้ใช้การเกณฑ์กำลังพล การทำแผนที่ แนวคิดเรื่องเชื้อชาติ (เพื่อสร้างพวกเราและพวกอื่น) รวมทั้งการแย่งชิงประชากรในการสร้างข้อได้เปรียบในการเจรจาเขตแดนกับฝรั่งเศส 3) สยามได้วางแผนรับมือหากต้องเกิดการสู้รบกับฝรั่งเศสที่บริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและปากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยคาดหมายว่าจะสู้รบกับฝรั่งเศสให้ถึงที่สุด อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่สยามวางแผนไว้ ฝรั่งเศสได้ใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนถูกนำมาใช้ปลุกระดมให้ปารีสตัดสินใจดำเนินการยุติปัญหาขั้นเด็ดขาดกับสยาม ความผิดพลาดในการรับมือเรือรบฝรั่งเศสที่ปากน้ำและความขัดแย้งกันในราชสำนักได้นำมาสู่เหตุการณ์วิกฤติปากน้ำ ร.ศ.112 (ค.ศ.1893) ที่ทำให้สยามต้องสละการอ้างสิทธิ์เหนือฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดโดยที่ไม่ได้รบกับฝรั่งเศสดังที่วางแผนไว้</p> ฐนพงศ์ ลือขจรชัย Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 321 350 “สมาคมพ่อค้าอันยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งจักรวาล”: จุดเริ่มต้นและจุดจบของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/155 <p>ตลอดประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากกว่า 2 ศตวรรษ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1600 เพื่อทำการค้าเครื่องเทศในโลกตะวันออกได้พัฒนาสถานะจนได้เป็นผู้ปกครองที่แท้จริงเหนืออนุทวีปอินเดีย ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทำให้บริษัทได้รับสมญาว่าเป็น “สมาคมพ่อค้าอันยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งจักรวาล” การที่บริษัทแห่งนี้ได้รับสิทธิพิเศษในการควบคุมกองทัพและการทำสงครามกับชาวพื้นเมืองอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาลอังกฤษเปิดทางให้บริษัทจัดตั้งและขยายอำนาจในอนุทวีปได้อย่างต่อเนื่อง ชัยชนะของบริษัทในยุทธการที่ปลาสซี ค.ศ. 1757 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ “สมัยการปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออก” ที่บริษัทมีบทบาทในฐานะผู้ปกครองอินเดียแทนเจ้าเมืองท้องถิ่น อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษไม่ได้เป็นเพียงบริษัทการค้าอีกต่อไป แต่เป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจเต็มเหนืออนุทวีปอินเดียด้วย ทำให้รัฐบาลอังกฤษพยายามเข้าแทรกแซงกิจการของบริษัทหลายครั้งเพื่อเพิ่มบทบาทของรัฐบาลในการบริหารปกครองอินเดีย บทความชิ้นนี้มุ่งสำรวจประวัติศาสตร์ของบริษัทอินเดียตะวันออกนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในฐานะบริษัทการค้าทางทะเล จนถึงช่วงที่อำนาจของบริษัทรุ่งเรืองถึงขีดสุดเมื่อบริษัทมีอำนาจปกครองครอบคลุมทั้งอนุทวีป และรวมถึงจุดเสื่อมของบริษัทใน ค.ศ. 1858 หลังรัฐบาลอังกฤษเข้าควบคุมการบริหารอินเดียทั้งหมด แม้ประวัติศาสตร์ของบริษัทอินเดียตะวันออกจะเป็นเรื่องราวของสงครามและความรุนแรงที่บริษัทได้กระทำต่อเจ้าเมืองและผู้คนในอนุทวีป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเวลา 2 ศตวรรษที่บริษัทมีบทบาทในอนุทวีปเป็นการวางรากฐานให้อังกฤษได้ครอบครองอินเดียซึ่งถือว่าเป็น “เพชรยอดมุงกุฎ” แห่งจักรวรรดิอังกฤษโดยสมบูรณ์</p> รัชตพงศ์ มะลิทอง Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 351 378 พระสนมมุสลิมในราชสำนักรัตนโกสินทร์ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/156 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาการมีตัวตนและบทบาทเท่าที่ปรากฏตามหลักฐานของพระสนมมุสลิมในราชสำนักรัตนโกสินทร์ โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า พระสนมมุสลิมมีตัวตนและบทบาทในราชสำนักรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็นพระสนมมุสลิมนิกายชีอะห์ 3 ท่าน คือเจ้าจอมหงส์ ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจอมจีบ ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมลม้าย ในรัชกาลที่ 5 และพระสนมมุสลิมนิกายสุหนี่ 1 ท่าน คือเจ้าจอมตนกูสุเบีย ในรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้พระสนมมุสลิมทั้ง 4 ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าจอมมารดา กล่าวคือไม่มีพระราชโอรสธิดาถวายพระมหากษัตริย์ สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะกฎของศาสนาอิสลามที่ห้ามมุสลิมสมรสกับบุคคลนอกศาสนา ดังนั้นการเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระสนมของสตรีมุสลิมทั้ง 4 ท่านจึงไม่ได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา แต่เป็นไปเพื่อการเชื่อมสัมพันธ์ทางการเมือง และเพื่อเป็นหลักประกันในการแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์</p> พีรพัฒน์ เพชราบรรพ์ Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 379 408 บทบรรณาธิการ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/163 <p><span style="font-weight: 400;">วารสารประวัติศาสตร์ ของภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย</span><span style="font-weight: 400;">ศรีนครินทรวิโรฒเปลี่ยนรูปแบบวารสารจากฉบับพิมพ์ มาเป็นออนไลน์ตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป แต่ยังคงมีจุดประสงค์ที่จะเสนอบทความวิชาการ และบทความวิจัยในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ และ สาขาที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อ่านบทความสามท่านต่อบทความ หวังว่าการทํางานของเราจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาประวัติศาสตร์และผู้สนใจทั่วไป</span></p> สัญญา ชีวะประเสริฐ Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 การก่อตัวทางความคิด และความหมายว่าด้วย "ความอับอาย" ของชนชั้นนำสยาม ตั้งแต่ปลายอยุธยาจนถึง ต้นรัตนโกสินทร์ก่อนทศวรรษที่ 2390 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/139 <p>บทความนี้เป็นการศึกษาความคิด และความหมายเกี่ยวกับ “ความอับอาย” ของชนชั้นนำ ตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ก่อนทศวรรษที่ 2390 โดยใช้แนวคิดประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึก คือ การมองการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ผ่านอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางสังคม ผ่านเอกสารจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก คือ เอกสารทางศาสนา ที่เน้นย้ำการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และเกิดการแบ่งกาละและเทศะ ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ กลุ่มที่สอง คือ งานเขียนวรรณกรรม ได้ช่วยอธิบายให้เห็นอารมณ์ความรู้สึก "อับอาย"&nbsp;ของชนชั้นนำที่สะท้อนความคิด และความหมายในวรรณกรรม ซึ่งเอกสารกลุ่มอื่นไม่ได้กล่าวถึง กลุ่มที่สาม คือ เอกสารพระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ ได้บันทึกให้เห็นพฤติกรรมที่น่าอับอายของชนชั้นนำ และการลงโทษในลักษณะรัฐนาฏกรรม ซึ่งเป็นมหรสพแสดงบุญบารมี ได้เชื่อมโยงไปยังเอกสารกลุ่มสุดท้าย คือ เอกสารกฎหมาย แสดงให้เห็นการลงโทษ ในลักษณะการประจานความผิดบนพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ผู้กระทำผิดรู้สึกอับอาย และผู้ชมรู้สึกว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องน่าอับอาย ภายใต้มาตรฐานของชนชั้นนำ ซึ่งทุกคนในสังคมต่างยอมรับมาตรฐานมาเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ความรู้สึก</p> พีรพัฒน์ อินทรัตนรังษี Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 7 30 การเมืองท้องถิ่นกับการจัดการขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2479-2518) https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/141 <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ของการเมืองท้องถิ่นกับการจัดการขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2479-2518 ซึ่งเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อมภายใต้บทบาทของหน่วยการเมืองระดับท้องถิ่นในกรุงเทพฯ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการของการจัดการขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของการเมืองระดับท้องถิ่น และชี้ให้เห็นพลวัตของการจัดการขยะมูลฝอยที่สัมพันธ์อยู่กับการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติซึ่งเป็นปัจจัยฉับพลันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในแต่ละช่วงเวลา บทความนี้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งเอกสารราชการ งานวิจัยร่วมสมัยที่ศึกษาการดำเนินงานของเทศบาล หนังสือพิมพ์ และหนังสือที่ระลึกต่างๆ จากการศึกษาพบว่า โครงการจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพฯ ล้วนเกิดจากปัจจัยทางการเมืองที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจอย่างฉับพลันท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเมือง ทั้งการกำหนดสถานที่เทขยะมูลฝอยของเทศบาลนครกรุงเทพ โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขยะมูลฝอย ตลอดจนการต่อรองกับรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ของเทศบาล และปฏิสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากขยะมูลฝอย</p> วิภพ หุยากรณ์ Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 31 60 เวชกรรมเมืองร้อนกับความรู้ทางแพทย์ ในจดหมายเหตุทางแพทย์ของสภากาชาดสยาม, พ.ศ. 2461-2467 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/142 <p>บทความชิ้นนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ด้านเวชกรรมเมืองร้อน (Tropical Medicine) ที่เผยแพร่ใน<em>จดหมายเหตุทางแพทย์ของสภากาชาดสยาม</em> (Medical Journal of the Siamese Red Cross) ซึ่งออกพิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2461–2467 เวชกรรมเมืองร้อนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโรคเมืองร้อนที่พัฒนาขึ้นในโลกตะวันตกในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19) บนฐานของทฤษฎีเชื้อโรคและการปกครองอาณานิคม แพทย์ชาวตะวันตกเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำความรู้ด้านเวชกรรมเมืองร้อนเข้ามาเผยแพร่ในสังคมสยาม โดยพื้นที่แรกๆ ของการเผยแพร่ความรู้ด้านเวชกรรมเมืองร้อนคือ <em>จดหมายเหตุทางแพทย์ของสภากาชาดสยาม</em> ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ฉบับแรกของไทย นอกจากแพทย์ชาวตะวันตก ผู้เขียนบทความลงพิมพ์ยังมีแพทย์ชาวไทยด้วย โดยที่ความสนใจของแพทย์ชาวตะวันตกมีความสัมพันธ์กับความสนใจเรื่องโรคเมืองร้อนของแพทย์ในเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุขนานาชาติ/นานาอาณานิคมและของรัฐอาณานิคม ขณะที่แพทย์ชาวไทยให้ความสนใจกับโรคที่เป็นปัญหาทางการแพทย์และการสาธารณสุขของสยามมากกว่า</p> สุวัสดี โภชน์พันธุ์ Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 61 90 บทสำรวจประเด็นคุณภาพการศึกษาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2503-2514 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/143 <p>บทความวิจัยนี้ต้องการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างความคิดทางการศึกษา ปฏิบัติการทางการศึกษา และความรับรู้ของสังคมที่มีต่อปัญหาคุณภาพในสังคมไทย ในบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ระหว่าง พ.ศ. 2503-2514</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าสงครามเย็นทำให้การเมืองและองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของไทยเปลี่ยนไป นำไปสู่การร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบอเมริกัน โดยเฉพาะในระบอบเผด็จการทหารนับตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จนถึงจอมพลถนอม กิตติขจร (พ.ศ. 2502-2516) ซึ่งระบบการศึกษาประสบปัญหาครูขาดสมรรถนะ นักเรียนและผู้ปกครองนิยมการศึกษาสายสามัญมากเกินไป ส่งผลทำให้นักเรียนมุ่งเรียนสายสามัญอย่างเดียวแม้จะไม่รู้จักตัวเอง นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ตกต่ำ และภาวะปริญญาเฟ้อ ทั้งยังทำให้เกิดชนชั้นในโรงเรียน ส่งผลเสียต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเพราะการผลิตช่างเทคนิคขาดแคลนและไม่ได้การยอมรับ แม้รัฐจะดำเนินโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมแล้วแต่ปัญหาก็ยังไม่ทุเลา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบการบริหารการศึกษาของรัฐถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ทำให้ไม่เป็นเอกภาพ และสามารถประสานงานได้ยาก ระดับคุณภาพการศึกษาที่สังคมรับรู้มาจากผลการสอบ</p> ชัยชาญ ปรางค์ประทานพร ศิริพร ดาบเพชร Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 91 118 ตัวกระทำการภูมิอากาศ น้ำท่วม ฝนแล้งกับวิกฤตเศรษฐกิจสังคมสยามที่ก่อเกิดการปฏิวัติ 2475 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/144 <p>การศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมไทยที่ผ่านมาจะให้ความสำคัญกับการพรรณนาวิเคราะห์ตัวกระทำการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นมนุษย์หรือมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แต่บทความนี้มีข้อเสนอหลักว่า ตัวกระทำการทางประวัติศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2475 นั้นคือ สภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศ การเกิดฝนตกหนักน้ำท่วม การเกิดฝนแล้งและอากาศแห้งแล้งเป็นสาเหตุตั้งต้นของเหตุการณ์ลูกโซ่ต่อมาคือเกิดผลผลิตทางเกษตรโดยเฉพาะเศรษฐกิจข้าวเกิดความเสียหายหนัก จนนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในทศวรรษ 2470 และยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกไปพร้อมกันด้วย โดยวิกฤตเศรษฐกิจของสยามก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่โครงสร้างระบบราชการที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ศักดินาแบบชนชั้นที่อาศัยชาติวุฒิแต่กำเนิดมากกว่าคุณวุฒิตามคุณธรรมความสามารถ ทำให้การสนองตอบต่อปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไม่สามารถแก้ไขได้ทันต่อความปรารถนาของประชาชน จนก่อให้เกิดระบอบอารมณ์ความรู้สึกความสิ้นหวังเบื่อหน่ายกระจายไปทั่วสังคม จนนำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นความหวังให้ประชาชนส่งเสียงมีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมืองมาแล้วอย่างเห็นได้ชัดเจนจากฎีกาของชาวนาและชนชั้นกลางที่ส่งมายังผู้ปกครองก่อนหน้านั้น</p> ชาติชาย มุกสง Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 119 158 “ศิวิไลซ์” โดยเสนา: เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ กับการนำเสนอความรู้วิทยาศาสตร์ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/145 <p>บทความนี้ต้องการเสนอว่าเมื่อความสัมพัทธ์ของความศิวิไลซ์ได้นำไปสู่การท้าทายอำนาจของตน ชนชั้นนำสยามก็ได้พยายามปรับเปลี่ยนนิยามของความศิวิไลซ์ จากเดิมที่กำหนดเพื่อสร้างความแตกต่างทางอัตลักษณ์ของชนชั้นนำสยามกับคนภายในราชจักร มาสู่เรื่องของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ นิยามที่เปลี่ยนไปนี้ถูกแสดงออกอยู่ในการพิมพ์วารสารของโรงเรียนนายร้อยทหารบก คือ <em>เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์</em> โดยวารสารดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อเสริมความรู้วิทยาศาสตร์แก่นักเรียนนายร้อยทหารบก รวมไปถึงการเป็นพื้นที่เผยแพร่ข่าวสารวิทยาศาสตร์นานารูปแบบให้แก่คนที่สนใจ ดังนั้น <em>เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์</em> จึงเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทำหน้าที่ทั้งเสริมความรู้วิทยาศาสตร์ภายในหน่วยงานและเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนชาวสยาม ภายใต้นิยามใหม่ของความศิวิไลซ์และความเป็นสมัยใหม่ของชนชั้นนำสยาม</p> สถาปนา เชิงจอหอ Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 159 182 ราชบัณฑิตยสถาน สำนักวิทยาศาสตร์กับการสร้างรัฐด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของรัฐบาลคณะราษฎร https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/147 <p>บทความนี้นำเสนอบริบทการสร้างรัฐภายใต้ระบอบการปกครองใหม่ของรัฐบาลคณะราษฎรหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสร้างการเมือง เศรษฐกิจและสังคมแบบใหม่ ราชบัณฑิตยสถาน สำนักวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนบุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ได้ทำหน้าที่ค้นคว้าความรู้ใหม่และเผยแพร่สู่สังคม อย่างไรก็ตาม การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลงานของราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นไปที่การผลิตความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐด้านการสร้างความอยู่ดีกินดีและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ</p> ดารุณี สมศรี Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 183 202 กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ: การรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/148 <p>บทความชิ้นนี้ต้องการศึกษาการสร้างและการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในช่วงทศวรรษ 2460 จนถึงทศวรรษ 2500 โดยนับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานถึง 4 ทศวรรษ กว่าที่กรมอุทกศาสตร์จะสามารถกระทำการตรวจสอบและรักษาเวลามาตรฐานของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากกรมอุทกศาสตร์ประสบปัญหาขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้และความชำนาญในการใช้งานเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงส่งผลให้การปฏิบัติงานดังกล่าวได้รับผลกระทบไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกัน หน้าที่การตรวจสอบและรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้เป็นมาตรฐานสากลและเที่ยงตรงอยู่เสมอนั้น ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการความก้าวหน้าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการทหารเรือสมัยใหม่</p> พรนภา ทัดดอกไม้ Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 203 226 บทบาททางเศรษฐกิจของคนเชื้อสายจีนในเมืองร้อยเอ็ด ทศวรรษ 2470-2530 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/150 <p>บทความนี้ศึกษาบทบาททางเศรษฐกิจของคนเชื้อสายจีนในเมืองร้อยเอ็ด ระหว่างทศวรรษ 2470 ถึงทศวรรษ 2530 โดยต้องการชี้ให้เห็นสัมพันธภาพทางเศรษฐกิจระหว่างคนเชื้อสายจีนกับคนท้องถิ่น ความสำคัญของคนเชื้อสายจีนในฐานะพ่อค้าหรือนักธุรกิจ และความเปลี่ยนแปลงของเมืองอันเนื่องมาจากคนเชื้อสายจีน เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ทำให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นหนึ่งในจุดหมายของชาวจีนอพยพ การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่ระบบทุนนิยม การเคลื่อนที่ของย่านการค้า การนำอาชีพสมัยใหม่เข้าสู่ร้อยเอ็ด ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของคนเชื้อสายจีน เป็นต้น ผลจากการศึกษาพบว่า ร้อยเอ็ดมีความเหมาะสมหลายประการสำหรับการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพหลังการสร้างทางรถไฟเข้าสู่ภาคอีสาน คนเชื้อสายจีนกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของเมืองร้อยเอ็ดเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบทุนนิยมโดยการรับหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางผู้เชื่อมต่อเศรษฐกิจระหว่างเมืองกับชนบท นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มประกอบอาชีพสมัยใหม่หลายอาชีพ ชุมชนชาวจีนจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองมาโดยตลอด ในขณะที่กลุ่มคนเชื้อสายจีนก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองร้อยเอ็ด โดยอาศัยกลยุทธ์ทางการค้า ความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนเชื้อสายจีนกับคนท้องถิ่น ผลจากนโยบายบางประการของรัฐบาล และความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในกลุ่มคนเชื้อสายจีนซึ่งมีส่วนช่วยในการสนับสนุนธุรกิจการค้าซึ่งกันและกัน</p> พีรวัฒน์ พูนสวัสดิ์พงศ์ Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 227 250 การสร้างชุมชนมุสลิมที่เข้มแข็งภายใต้รัฐที่ไม่ใช่อิสลาม: มองผ่านประวัติศาสตร์การก่อตั้งชุมชนมุสลิมภายใต้ราชวงศ์หยวน https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/151 <p>ชุมชนมุสลิมในจีน ก่อตั้งมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 8 และเป็นชุมชนมุสลิมที่ประสบความสำเร็จในการดำรงอยู่ภายใต้รัฐที่ไม่ใช่อิสลาม พวกเขาถือเป็นมุสลิมกลุ่มแรกที่ต้องมีการปรับตัวกับวัฒนธรรมจีน ซึ่งชุมชนมุสลิมในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง กระทั่งราชวงศ์หยวน ต่างได้รับการปฏิบัติและบทบาทที่แตกต่างกัน บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การก่อตั้งชุมชนมุสลิมในจีนตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง และจะมุ่งเน้นการศึกษาไปในช่วงราชวงศ์หยวน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การก่อตั้งชุมชนมุสลิมที่มีประสิทธิภาพในจีนประกอบด้วย 3 ด้าน นั่นคือด้านความเชื่อ ที่ชุมชนมุสลิมมุ่งเน้นด้านจิตวิญญาณ การปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับชาวพื้นเมือง และกลุ่มรัชทายาทมองโกล แม้จะพิชิตดินแดนของมุสลิม แต่พวกเขาก็ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ส่วนด้านสังคม ชุมชนมุสลิมประกอบขึ้นด้วยกับ 3 ชาติพันธุ์ที่มาจาก กลุ่มทหาร กลุ่มพ่อค้า และกลุ่มนักวิชาการที่เข้ามาเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนชุมชนมุสลิม และสุดท้ายคือ ด้านการเมืองที่โลกมุสลิมตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมาไร้ซึ่งเอกภาพและเสถียรภาพจนเกิดความขัดแย้งที่รุนแรง และสงครามกลางเมือง นำไปสู่ความอ่อนแอและการอพยพของกลุ่มมุสลิม อย่างไรก็ตามการที่กลุ่มรัชทายาทของเจงกิสข่านเข้ารับอิสลามและส่งเสริมให้กลุ่มมุสลิมเข้าไปมีบทบาททางการเมือง จึงถือเป็นกระบวนการที่สำคัญในการทำให้ชุมชนมุสลิมในจีนเติบโตอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ</p> ธนโชติ ประหยัดทรัพย์ อับดุลรอนิง สือแต Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 251 282 ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในอัตลักษณ์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/152 <p>จังหวัดน่านในอดีตเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของคนหลายกลุ่ม ดังปรากฏชื่อเมืองโบราณที่หลากหลายในเอกสารชั้นต้น สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองน่าน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของอาณาจักรล้านนาและอยู่ติดกับเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง ทำให้มีการติดต่อค้าขายและสัมพันธไมตรีกับเมืองหลวงพระบางมาตลอด การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ปรากฏหลักฐานตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 และมีการกระจายไปบนพื้นที่สูงของภาคเหนือ งานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ลัวะ เมี่ยน ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่ พื้นที่ทำการวิจัยอยู่ในบริเวณอำเภอเมือง อำเภอท่าวังผา และอำเภอปัว จังหวัดน่าน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยมี 2 ประการ คือเพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏในอัตลักษณ์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน และเพื่อศึกษาการผสมผสานทางวัฒนธรรมในอัตลักษณ์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน</p> ปิยะนาถ อังควาณิชกุล Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 283 306 บทบาทศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอิหร่าน https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/153 <p>ศูนย์วัฒนธรรมทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมอิสลาม และการโฆษณาชวนเชื่อในการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศต่าง ๆ</p> <p>การดำเนินงานของศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านได้แสวงหาความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศไทยด้วยเช่นกัน&nbsp; เพื่อทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศสามารถเข้าใจและรับรู้วัฒนธรรมของกันและกัน&nbsp; อีกทั้งยังทำหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลในมิติของวัฒนธรรมให้ถูกต้องและทันกับยุคสมัย มีโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศไทยมาตั้งแต่อดีต&nbsp; รวมถึงการพิมพ์หนังสือไทยศึกษา แปลหนังสือทั้งด้านศิลปะ&nbsp; บทกวี วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีการจัดสัมมนา นิทรรศการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่น โครงการสอนภาษาเปอร์เซีย&nbsp; โครงการนำภาพยนตร์ที่สะท้อนถึงสังคมและสะท้อนค่านิยมอิหร่าน มาฉายให้ชาวไทยได้รับชมเพื่อความรู้ความเข้าใจและมีสาระบันเทิง โครงการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์&nbsp; เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่า วัฒนธรรมอิหร่าน&nbsp; ซึ่งอิหร่านนำมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่าน &nbsp;กิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างมุสลิมไทยผู้ปฎิบัติตามแนวทางสำนักคิดชีอะห์และมุสลิมอิหร่าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอัตลักษณ์ของมุสลิมผู้ปฏิบัติตามแนวสำนักคิดชีอะห์</p> <p>แต่สิ่งที่สำคัญที่ปรากฎจากการศึกษาคือ&nbsp;&nbsp; ศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านได้ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันนี้ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศโดยนำรูปแบบของวัฒนธรรมมาดำเนินกิจกรรมจนบรรลุเป้าหมายของประเทศได้</p> พรพรรณ โปร่งจิตร Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 307 320 เป็นจีนเพราะรู้สึก : ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่พึ่งสร้าง https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/161 <p>เป็นจีนเพราะรู้สึก : ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่พึ่งสร้าง เป็นงานที่มุ่งเน้นบุกเบิกการศึกษาชนชั้นกลางไทยเชื้อสายจีน ผ่านกรอบแนวพินิจประวัติศาสตร์ความรู้สึก โดยมีมุมมองที่ต้องการวิธีวิทยาที่แตกต่างออกไปจากการศึกษาประวัติศาสตร์แบบเดิมที่มักตั้งต้นจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งการตั้งคำถามของผู้เขียนผ่านการทบทวนวรรณกรรมหรือองค์ความรู้การศึกษาเรื่องจีนในไทย เห็นถึงมุมมองต่าง ๆ มากมาย หากทว่าอารมณ์ความรู้สึกกลับถูกมองข้าม หรือถูกทำให้เป็นเพียงอาภรณ์ของความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นแนวพินิจประวัติศาสตร์ความรู้สึกจึงช่วยเปิดพื้นที่ให้แก่การทบทวนแนวคิด และการอ่านข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับจีนในไทยจากแง่มุมใหม่</p> สหฤทธิ์ รวยรื่น Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 409 416 ประวัติศาสตร์แมว https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/162 <p>แมว คือ สัตว์ที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกับเสือ เรียกกันว่า วงศ์ Felidae ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร หรือถ้าหากจะพูดให้ถูกต้องยิ่งกว่านี้แล้ว ก็คือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่กินเนื้อสัตว์ด้วยกันเป็นอาหาร เชื่อกันว่า สัตว์กินเนื้อทุกประเภท รวมถึงพวกสุนัข ซึ่งถูกจัดให้อยู่ภายในวงศ์ Canidae&nbsp; ล้วนแล้วแต่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า พวก&nbsp; miacids อาศัยอยู่ในป่าทึบ ตรงย่านอเมริกาเหนือ และแถวๆ ยูเรเซีย ตั้งแต่เมื่อราวๆ 60 ล้านปีที่ผ่านมา สัตว์ในยุคดึกดําบรรพ์จำพวกนี้ มีขนาดของลำตัวและหางยาว แต่ขาสั้น&nbsp; ส่วนรูปร่างหน้าตาของพวกมันนั้น หากจะเปรียบเทียบกับพวกสัตว์ในปัจจุบันแล้ว ก็จะดูละม้ายคล้ายกับสัตว์จำพวกนาก พวกพังพอน หรือแม้แต่พวกชะมด แต่ที่สำคัญสุดก็คือ พวก miacids นี้&nbsp; ไม่เพียงแต่จะมีลักษณะของฟันโดยทั่วไป เหมือนกับพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบัน ราวกับถูกถอดแบบออกมาจากแม่พิมพ์ภายในชุดเดียวกันแล้ว พวกมัน ยังมีกรามชั้นดีเลิศ ที่จะกลายมาเป็นกรามต้นแบบ ให้กับพวกสัตว์กินเนื้อ ใช้สำหรับฉีก กระชาก กัดกินเนื้อเป็นอาหาร สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันกันอีกด้วย</p> จีรพล เกตุจุมพล Copyright (c) 2023 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 48 1 417 438