ภูมิเบ็งเมลูในบันทึกการเดินทางของเอเจียน ฟร็องซิส แอมอนิเย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้พิจารณาบทบาทของเอเจียน ฟร็องซิส แอมอนิเย (Étienne François Aymonier) นักสำรวจชาวฝรั่งเศสกับการสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับชุมชนชายขอบอำนาจรัฐสยามในเขตเทือกเขาพนมดงรัก โดยวิเคราะห์จากหลักฐาน 2 ฉบับ คือ บันทึกการเดินทางในลาวภาคหนึ่ง 2438 และ บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง 2440 บันทึกทั้งสองฉบับนี้เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนอิทธิพลของอาณานิคมฝรั่งเศสที่พยายามบริหารจัดการพื้นที่ผ่านการเดินทาง การสำรวจแหล่งประวัติศาสตร์ การเก็บข้อมูลเส้นทาง การจัดลำดับความสำคัญของเมืองและชุมชน การวิเคราะห์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดถึงการบรรยายลักษณะทางภูมิศาสตร์และกายภาพของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การสร้างชุดความรู้ดังกล่าวเน้นย้ำให้เห็นถึงสถานภาพของชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจรัฐสยาม รวมถึงการศึกษาสารัตถะหรือรูปแบบขั้นมูลฐานของสถาบันทางสังคมในชนบทด้วย บทความต้องการเสนอว่า ภูมิเบ็งเมลู หรือ บ้านบึงมะลู เป็นชุมชนขนาดเล็กในเขตเทือกเขาพนมดงรักที่มีความสำคัญต่อการสร้างชุดความรู้ดังกล่าวอย่างมาก เพราะมีนัยสำคัญต่อระบอบอาณานิคมในฐานะชุมชนที่ถูกละเลยจากความสนใจของรัฐพื้นเมือง แต่อาณานิคมฝรั่งเศสสามารถเข้าถึงและทำให้ชุมชนที่เคยเป็นอิสระจากรัฐถูกเปิดเผยตัวตนผ่านการบันทึกในรูปแบบเอกสารอย่างเป็นทางการ การผลิตชุดความรู้นี้เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ และพยายามผูกชุมชนที่อยู่ห่างไกลในเทือกเขาพนมดงรัก ให้เป็นพื้นที่ต่อรองทางอำนาจของรัฐสมัยใหม่ในการกำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลภาษาไทย
ไกรฤกษ์ นานา. (2563). สยามรัฐท่ามกลางจักรวรรดินิยม. กรุงเทพฯ: มติชน.
กำพล จำปาพันธ์. (2558). นาคยุดครุฑ: “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
จา เอียน ชง. (2565). บงการธิปไตย: การแทรกแซงจากจักรวรรดินิยมตะวันตกกับการก่อรูปของรัฐสยาม. แปลโดย ธรรมชาติ กวีอักษร และคณะ. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์.
จอห์น โมนาแกน และปีเตอร์ จัสต์. (2563). มานุษยวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา. แปลโดย วิภาส ปรัชญาภรณ์. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.
ฐนพงศ์ ลือขจรชัย และคณะ. (2565). สยามเขตร: หลายมิติเขตแดนสยาม. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์.
เดวิด เค. วัยอาจ. (2562). ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับสังเขป. พิมพ์ครั้งที่ 4. แปลโดย กาญจนี ละอองศรี และคณะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2552). สยามประเทศไทยกับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ธงชัย วินิจะกูล. (2556). กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. แปลโดย พวงทอง ภวัครพันธุ์ และคณะ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟและอ่าน.
_________. (2559). โฉมหน้าราชาชาตินิยม: ว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). ปากไก่และใบเรือรวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ. (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ดวงดีการพิมพ์.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2565). ประวัติศาสตร์ผู้คนบนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร. กรุงเทพฯ: มติชน.
ยอร์ช เซเดย์. (2556). เมืองพระนคร นครวัด นครธม. พิมพ์ครั้งที่ 9. แปลโดย ปราณี วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ: ดรีม แคทเชอร์.
วุฒิชัย นาคเขียว. (2560). กัมพุชสุริยา: การผลิตและการเผยแพร่งานเขียนประวัติศาสตร์ในกัมพูชาสมัยอาณานิคม ค.ศ. 1926-1953. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ มหาบัณฑิต (สาขาประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ เรืองศรี. (2564). กาดก่อเมือง: ชาติพันธุ์และคาราวานการค้าล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน.
สิริฉัตร รักการ. (2561). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปินส์กับชะตากรรมของชาติ: อาการตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคม. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์.
สมเกียรติ วันทะนะ และคณะ.(2564). เมื่อใดจึงเป็นชาติไทย. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์.
สมหมาย ชินนาค. (2562). “ปลา” กับ “เกลือ” วัฒนธรรมสายสัมพันธ์สองฝั่งพนมดองแร็ก (อีสานใต้-กัมพูชา) กรณีศึกษา “สุรินทร์-อุดรมีชัย-พระตะบอง” ในมิติเชิงมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เอเจียน แอมอนิเย. (2541). บันทึกการเดินทางในลาว ภาคหนึ่ง พ.ศ. 2438. แปลโดย ทองสมุทร โดเร และสมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
_________. (2541). บันทึกการเดินทางในลาว ภาคสอง พ.ศ. 2440. แปลโดย ทองสมุทร โดเร และสมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อคิน รพีพัฒน์. (2551). วัฒนธรรมคือความหมาย: ทฤษฎีและวิธีการของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
บทความภาษาไทย
กำพล จำปาพันธ์. (2563). แนวคิดประวัติศาสตร์อิสระสัมพัทธ์ (Autonomous History) กับการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมเมืองท่าชายทะเลตะวันออก. วารสารประวัติศาสตร์ 45 (1): 133-146.
จักรกริช สังขมณี. (2551). พรมแดนศึกษาและมานุษยวิทยาชายแดน: การเปิดพื้นที่สร้าง เขตแดน และการข้ามพรมแดนของความรู้. วารสารสังคมศาสตร์ 20 (2): 209-226.
ฐนพงศ์ ลือขจรชัย. (2566). การรับมือของสยามต่อฝรั่งเศสเหนือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงก่อนวิกฤติปากน้ำ ค.ศ. 1893. วารสารประวัติศาสตร์ มศว 48 (1): 321-350.
นัชชา อู่เงิน และคณะ. (2559). อีสานและลาวในทัศนของนักสำรวจชาวฝรั่งเศสจากรายงานการสำรวจในพุทธศตวรรษที่ 25 (พุทธศกราช 2401-พุทธศกราช 2446). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 35 (1): 12-21.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2565). ความเปลี่ยนแปลงต่อการรับรู้เรื่องพรมแดนของผู้คนในเขตปราสาทพระวิหาร. ใน สยามเขตร: หลากหลายมิติเขตแดนสยาม. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์.
พงษ์พันธ์ พึ่งตน. (2553). อีกด้านของปราสาท “พระวิหาร”: ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทย. วารสารลุ่มน้ำโขง 6 (1): 64-83.
สุธิดา ตันเลิศ. (2554). ประวัติศาสตร์นครจำปาศักดิ์และเมืองอุบลราชธานีในสายตาของ เอเจียน แอมอนิเย (Etienne François Aymonier, 1883-1884). มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 28 (2): 46-66.
แหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษ
Chakrabongse, Narisa.et al. (2006). Siam In Trade and War: Royal Maps of The Nineteenth Century. Bangkok: River Books.
Edwards, Penny. (2007). Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945. Chiang Mai: Silkworm Books.
Hall, D. G. E. (1963). Historians of South East Asia. London: Oxford University Press.
Loomba, Ania. (2005). Colonialism/ Postcolonialism. 3rd edition. New York: Routledge.
Osborn, E. Milton. (1997). The French Presence in Cochinchina and Cambodia. Bangkok: White Lotus Co. Ltd.
Scott, James C. (2009). The Art of Not Being Governed: An Anarchist History of Upland Southeast Asia. Yale University Press.
Smail, John R.W. (1961). On the Possibility of an Autonomous History of Modern Southeast Asia. Journal of Southeast Asian History 2 (2): 72-102.
แหล่งข้อมูลอิเลกทรอนิกส์
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556). คำเรียกชื่อแหล่งน้ำ. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, จาก http://legacy.orst.go.th
องค์การบริหารส่วนตำบลบึงมะลู. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, จาก https://buengmalu.go.th
Angkor Database. (2016). Etienne Aymonier. Retrieved December 21, 2023, from https://angkordatabase.asia/authors/etienne-aymonier
DBpedia. (2023). Étienne Aymonier. Retrieved December 20, 2023, from https://dbpedia.org/page/%C3%89tienne_Aymonier
Geneasta Famous Genealogies. (2023). Family tree of Etienne Aymonier. Retrieved December 20, 2023, from https://en.geneastar.org/genealogy/aymoniereti/ etienne-aymonier