เสด็จประพาสต้นฉบับนายบ่าย ทบทวนภาพลักษณ์รัชกาลที่ 5 ในประวัติศาสตร์เสด็จประพาสต้น History from the Perspective of One Siamese Subject
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอหลักฐานการเสด็จประพาสต้น ร.ศ. 123/พ.ศ. 2447 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผ่านเอกสารรายงานของนายบ่าย เจ้าพนักงานรักษาคลองดำเนินสะดวกตอนใน กรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการ ที่ให้ข้อมูลการเสด็จประพาสต้นครั้งนั้นเพิ่มเติมไปจากจดหมายนายทรงอานุภาพ พระนามแฝงของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงใช้นิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้น เมื่อ ร.ศ. 123 รายงานของนายบ่ายมีรายละเอียดขบวนเรือพระที่นั่งทั้งหมด 59 ลำ ตรงข้ามกับความรับรู้ตามพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงนำเสนอการเสด็จฯ อย่างเงียบ ๆ ไม่ต้องการให้ใครล่วงรู้ จนกลายเป็นภาพลักษณ์รัชกาลที่ 5 มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับราษฎรของพระองค์ ขณะที่รายงานอย่างตรงไปตรงมาของนายบ่ายได้ให้ภาพลักษณ์การเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องถิ่นสยามอย่างสมพระเกียรติยศ เป็นที่ชื่นชมพระบารมีแก่อาณาประชาราษฎร์เสียยิ่งกว่าการเสด็จฯ อย่างเงียบ ๆ ด้วยเหตุนี้ ภาพลักษณ์รัชกาลที่ 5 จึงถูกชนชั้นนำสร้างขึ้นและผลิตซ้ำเพื่อประโยชน์ทางการเมือง แทนที่ความรับรู้ของสามัญชนร่วมสมัยอย่างนายบ่าย และกรณีจดหมายนายทรงอานุภาพเล่าเรื่องประพาสต้นสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นยอดของความเรียงเรื่องนิทาน (ในฐานะเรื่องแต่ง) ที่ดำรงราชานุภาพมาตราบปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารที่ยังไม่ตีพิมพ์
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงเกษตร กรมคลอง กส.11/316 เรื่องพนักงาน รักษาคลองภาษีเจริญแลดำเนินสะดวกบอกการที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จในคลอง.
หนังสือ บทความ และวิทยานิพนธ์
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2560). จดหมายเหตุความทรงจำของกรม หลวงนรินทรเทวี พิมพ์พร้อมกับฉบับเพิ่มเติม (พ.ศ. 2310 – 2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะตอน พ.ศ. 2310 – 2363). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ; และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2510). เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 16. พระนคร: กรมสรรพสามิต. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพหม่อมสนิท กฤดากร ณ เมรุวัด ธาตุทอง พระโขนง วันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2510).
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ; และ พิษณุโลกประชานาถ, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมหลวง. (2560). ถึงลูกชายเล็ก. บรรณาธิการโดย ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์; และ ไพศาล เปี่ยมเมตตาวัฒน์. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา (2455). จดหมายนายทรงอานุภาพเล่าเรื่องประพาศต้น เมื่อ ร.ศ. 123. พระนคร: (ม.ป.พ.).
ธงชัย วินิจจะกูล. (2544, พฤศจิกายน). ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม จากยุค อาณานิคมอำพรางสู่ราชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน. ศิลปวัฒนธรรม. 23(1): 56 – 65.
_______. (2546). ภาวะอย่างไรหนอที่เรียกว่าศิวิไลซ์ เมื่อชนชั้นนำสยามสมัยรัชกาลที่ 5 แสวงหาสถานะของตนเอง ผ่านการเดินทางและพิพิธภัณฑ์ทั้งในและนอกประเทศ. รัฐศาสตร์สาร. 24(2): 1 – 66.
_______. (2551, มิถุนายน – 2552, พฤษภาคม). เรื่อง, ลำดับเรื่อง, และโครงเรื่อง กับ ความรู้ประวัติศาสตร์. จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์. (12): 10.
ธิดา สาระยา. (2540). สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า จุลจอม จักรเอย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2546). ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
_______. (2557). ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์: ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน.
ประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2405 – พ.ศ. 2411 เล่ม 2. (2541). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ. (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2541).
ประยุทธ สิทธิพันธ์. (2552). ประวัติศาสตร์ประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง (ฉบับสมบูรณ์) เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
พรรณราย ชาญหิรัญ. (2559, กรกฎาคม – ธันวาคม). เสด็จประพาสต้น: การบันทึกกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจของชนชั้นนำสยามในสมัยรัชกาลที่ 5. วารสารไทยศึกษา. 12(2): 41 – 63.
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2547). ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น. กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง.
พิทยาลงกรณ, พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2518). สามกรุง. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ. (2557). สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (รวมเล่ม). มติชน: กรุงเทพฯ.
_______. (2561). พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่ 6). กรุงเทพฯ: มติชน.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2558). จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
วนิดา สถิตานนท์. (2511, ตุลาคม). เสด็จประพาสต้น. อนุสาร อ.ส.ท. 9(3): 39 – 40.
วีรยุทธ ศรีสุวรรณกิจ. (2549). การพักผ่อนหย่อนใจแบบตะวันตกของชนชั้นนำสยาม พ.ศ. 2445 – 2475. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
สรตี ใจสอาด. (2542). จดหมายเหตุรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: ต้นเค้าการเขียนสารคดีท่องเที่ยวยุคแรกของไทย. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2557). 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 1 ปัญญาชนแห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์. กรุงเทพฯ: โอเพ่น โซไซตี้.
_______. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่: ประวัติศาสตร์สังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อาทิมา พงศ์ไพบูลย์. (2547). คุณค่าของพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วบันทึกประจำวันการเสด็จประพาสในประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
อัจฉราพร กมุทพิสมัย. (2540). กบฏ ร.ศ. 130 กบฏเพื่อประชาธิปไตย: แนวคิดทหารใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์วิชาการ.
แอนเดอร์สัน, เบเนดิกท์. (2558). ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา: รวมบทความและปาฐกถาว่าด้วยการเมืองไทยสมัยใหม่. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
Books and Thesis
Peleggi, Maurizio. (2002). Lords of Things: The Fashioning of the Siamese Monarchy’s Modern Image. Honolulu: University of Hawai‘i Press.
Suwannakij, Sing. (2013). King and Eye: Visual Formation and Technology of the Siamese Monarchy. Dissertation, Ph.D. (History). Copenhagen: Graduate school The University of Copenhagen. Photocopied.
Wyatt, David K. (2003). Thailand: A Short History. 2nd Ed. Chiang Mai: Silkworm Books.