การก่อร่างและการเปลี่ยนแปลงของระบบเกียรติยศในสังคมไทย (พ.ศ. 2394 - 2468)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการก่อตัวและการเปลี่ยนแปลงของระบบเกียรติยศในสังคมไทยระหว่าง พ.ศ. 2394 – 2469 ผ่านการจัดการต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ศึกษาจากหลักฐานชั้นต้นและชั้นรองที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภณ์ของชนชั้นนำในช่วง พ.ศ. 2394 – 2469 แสดงให้เห็นการก่อร่าง การวางรูปแบบและการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับระบบเกียรติยศแบบใหม่ในสังคมไทยตั้งแต่การริเริ่มสถาปนาเครื่องหมายสัญลักษณ์แบบใหม่คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพัฒนาแบบแผนของเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อสร้างเป็นระบบความสัมพันธ์ภายในระบบเกียรติยศที่ชัดเจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการใช้คุณสมบัติการเป็นเครื่องแสดงความสัมพันธ์ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในการคัดแยกกลุ่มคนออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่รับรู้ในสังคมเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. (2537). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
การปิดทองแลการแห่พระพุทธชินราชไปวัดเบญจมบพิตร์. (ร.ศ. 120, 22 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18: 742.
กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. (2562). ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
แชรแวส นิโกลาส์. (2506). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร: ก้าวหน้า.
ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระ. (2558). ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.
เทพ บุญตานนท์. (2559). การเมืองในการทหารไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
นิรันดร วิศิษฎ์สิน. (2565). พ.ศ. 2408 เครื่องราชฯ ดารานพรัตน์ และดวงตราพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ณ
ฟองแตนโบล. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก www.thaimedal.com/th/เครื่องราชฯ-คารา
นพรัตน์/
ประกาศพระราชทานถานันดรแห่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี. (2461, 2 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 35: หน้า 2179.
ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 1 พ.ศ. 2394-2404. (2541). กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984).
ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2 พ.ศ. 2405-2411. (2541). กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984).
เปเลจจี เมาริตซิโอ. (2566). เจ้าชีวิตเจ้าสรรพสิ่ง. แปลโดย วริศา กิตติคุณเสรี. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
พระราชทานตราเครื่องราชอิศริยยศ. (จ.ศ. 1244, พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1: 556 - 557.
พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยาภรณ์ ตรารัตนวราภรณ์. (ร.ศ. 130, 1 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 28: 185-188.
พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี. (2461, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 35: 169-182.
ราม วชิราวุธ. (2559). ประวัติต้นรัชกาลที่ 6. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศิริพร ดาบเพชร. (2552). การเมืองเบื้องหลังพระราชพิธี : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างพิธีกรรมใหม่. ใน สายธารแห่งความคิด 3. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อวิชาการ วรุณยุพา สนิทวงศ์ฯ.
ศิริพร ดาบเพชร. นัยยะทางการเมืองของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๖. (2553 - 2554). วารสารประวัติศาสตร์. ฉบับพิเศษ 50 ปี เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: 30 – 47.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2550). ประมวลกฎหมายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุวรรณา สถาอานันท์. บรรณาธิการ. (2542). คำ: ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 ร.6 รล2/12-13 เรื่องพระราชกำหนดสำหรับผู้ที่จะรับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์และสัญญาบัตร (30 มกราคม ร.ศ. 130).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 เอกสารเบ็ดเตล็ด ร.6 บ.1.6/34 เรื่องพระราชกำหนดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว่าด้วยชั้นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการที่จะได้รับพระราชทาน (11-13 กันยายน 2466).
อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. (2527). สังคมไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2416. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.