พระราชชายา เจ้าดารารัศมี กับงานโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในนครเชียงใหม่

Main Article Content

สรัสวดี อ๋องสกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์บทบาทด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในนครเชียงใหม่  ผลงานส่วนใหญ่ทรงดำเนินการหลังจากเสด็จกลับมาประทับนครเชียงใหม่อย่างถาวร หลัง พ.ศ.2457/1914 จนถึง พ.ศ.2476/1933 ปีที่พระองค์สิ้นพระชนม์


ผลการศึกษา พบว่า พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ให้ความสนพระทัยในงานโบราณคดีสนองพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ประกอบกับความสนพระทัยส่วนพระองค์ด้วย ผลงานทรงเป็นทั้งองค์อุปถัมภ์การศึกษาค้นคว้าในโครงการเรียบเรียงพงศาวดารนครเชียงใหม่ และค้นคว้าด้วยพระองค์เอง โดยทรงงานสำรวจและค้นคว้าแหล่งโบราณคดี จนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของสยามประเทศชื่นชมยกย่อง พระราชชายา เจ้าดารารัศมีว่า เป็นผู้มีความรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ดียิ่งในมณฑลพายัพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สมาคมสืบสวนของบุราณในประเทศสยามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว .วารสารสมาคมประวัติศาสตร์. 2551 (30) : 22-27. หจช.ร. ค.12.3/16 เจ้าดารารัศมีกู้เงิน หรือจำนองตลาดที่เชียงใหม่ (11 กันยายน – ตุลาคม 2466)

แก้วนวรัฐ,เจ้า (เรียบเรียง). (2477). พระประวัติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พิมพ์ในงานถวายพระเพลิง ปีจอ พ.ศ.2477.

ดำรงราชานุภาพ,พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. (2555). อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์.เชียงใหม่:บุณย์ศิริงานพิมพ์.

วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. บรรณาธิการ. (2542). เจ้าพ่อหลวง. เชียงใหม่.รูป.

วรชาติ มีชูบท. (2554). พระราชชายา เจ้าดารารัศมีศรีแห่งนครเชียงใหม่.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2515). คนดีเมืองเหนือ. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2515). ประชุมตำนานลานนาไทย. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง 27 มกราคม 2533.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าวงศ์จันทร์ (ณ เชียงใหม่) คชเสนี 29 ตุลาคม 2540.

ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2528). บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อและขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของประเทศไทย พ.ศ. 2464-2523. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.