การอพยพของมุสลิมไทย ช่วงทศวรรษ 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตหนองจอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการอพยพของมุสลิมไทยในช่วงทศวรรษ 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตหนองจอกประวัติศาสตร์การอพยพของมุสลิมไทยนั้นจากการสำรวจเอกสารพบว่า มุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายูและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ต่อมามีการอพยพของมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูครั้งสำคัญในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในครั้งนั้นมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2550 เกิดการอพยพของมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูเข้ามายังพื้นที่บริเวณเขตหนองจอกจำนวนมาก ซึ่งมีความสำคัญและนัยทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นชุมชนเดิมของมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูและนัยทางการเมืองที่เป็นสาเหตุของการอพยพที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในด้านเวลา
ซึ่งอย่างไรก็ตามมุสลิมไทยที่อพยพเข้ามาในบริเวณเขตหนองจอก ก็ยังคงมีจุดมุ่งหมายเดิมที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือเพื่อการตั้งถิ่นที่มั่นคง การประกอบอาชีพที่สุจริตและสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนเองได้ เฉกเช่นเดียวกับมุสลิมไทยเชื้อสายอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกับพี่น้องต่างศาสนิก ต่างวัฒนธรรม อย่างปรองดอง สมานฉันท์ และสันติสุข โดยมีจุดร่วมกันคือ “การเป็นพลเมืองไทย” เช่นเดียวกันและเท่าเทียมกัน ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2506). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ (ฉบับหอสมุดแห่งชาติ). พระนคร : คลังวิทยา.
กุลภา วจนสาระ กฤตยา อาชวนิจกุล. (2555). ประชากรและสังคม 2555 : ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ. (2549). รายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.): เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์. ออนไลน์
ซูไวบะห์ โต๊ะตาหยง. (2561). อัตลักษณ์และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่ย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานใน กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิม เสรีไทย ซฮย 4. วิทยานิพนธ์ (การบริหารการพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน. (2551). ปัตตานีกับโลกมลายูและตำนานปาตานี. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่องโลกของอิสลามและมุสลิมในอุษาคเนย์. 28-29 พฤศจิกายน 2551
ปิยะ กิจถาวรและคนอื่น ๆ . (2551). ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กรณี: การอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และแนวทางแก้ไข. สงขลา : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มติชนออนไลน์. (2558). เบื้องหลังพิชิตคดี “ระเบิดราชประสงค์” สืบจาก “ฝักแคสีชมพู” โยงก่อการร้ายใต้?! ออนไลน์
รัชนี ไผ่แก้ว. (2545). วิถีชีวิตชาวไทยมุสลิมชุมชนหนองจอก.วิทยานิพนธ์ กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัชนี สาดเปรม. (2521). บทบาทของมุสลิมในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2453. วิทยานิพนธ์ (ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรวิทย์ บารู. (2553). ชาติพันธุ์มุสลิมไทย : กรณีชาวไทยเชื้อสายมลายู ใน หลากมิติมุมมอง : มุสลิมในแผ่นดินไทย.
วิบูลย์ หวังรวยนาม. (2547). วัฒนธรรมอิสลามของชาวไทยมุสลิมในเขตชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (ไทยศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2505). คำอธิบายเรื่องพงศาวดารอันเป็นมูลเหตุแห่งจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ใน จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ พิมพ์ในงานศพพระรัตนธัชมุนี (อิสสรญาณเถร). พระนคร : คลังวิทยา.
เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (2531) กลุ่มชาติพันธุ์ ไทยมุสลิม. กรุงเทพฯ : กองทุนสง่ารุจิอัมพร. สำนักข่าวอิสรา. (2554). ออนไลน์
อิบราเฮม-ซากรี. ประวัติมลายู ปัตตานี ( เอกสารพิเศษ กองโบราณคดี). มปป.
Thaihealth. (2022. June) . Voice of the Voiceless. (online)
wikipedia.org. เขตหนองจอก. online