โอตาคุ (Otaku) ในสังคมไทย: ประวัติศาสตร์การกลายเป็นคนชายขอบทางวัฒนธรรมของผู้ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2550
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ของ “โอตาคุ” (กลุ่มผู้ชื่นชอบบริโภคการ์ตูน วิดีโอเกม เพลงสมัยนิยมและศิลปินไอดอลญี่ปุ่น การแต่งคอสเพลย์) ในสังคมไทย ซึ่งถูกทำให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” (cultural marginalized people) จากกรณีศึกษาผู้ชื่นชอบการ์ตูน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของ “โอตาคุ” ในสังคมไทย 2. อธิบายกระบวนการที่ “โอตาคุ” ถูกทำให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” 3. อธิบายถึงการสร้างพื้นที่ทางสังคม (social space) ของโอตาคุที่ใช้ในการสื่อสาร ต่อรอง แสดงตัวตน ในอีกมุมหนึ่ง บทความนี้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์ตัวบท (text) เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือ วิทยานิพนธ์ เว็บไซต์ต่าง ๆ ประกอบกับการนำเอาแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามาประยุกต์ใช้ในการตีความข้อมูล
จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่การ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาในสังคมไทย การบริโภคการ์ตูนญี่ปุ่นด้วยความชื่นชอบได้ถูกต่อต้านผ่านวาทกรรมกระแสหลักว่าการ์ตูนเป็นสิ่งไร้สาระ สิ่งเลวร้าย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนมีสถานะเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” ในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนและธุรกิจเอกชนเกี่ยวข้องการ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทยได้สร้างพื้นที่ทางสังคมในรูปแบบของกิจกรรมและพื้นที่ออนไลน์ให้ผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมโอตาคุได้พบปะ ทำกิจกรรมร่วมกัน แสดงถึงอัตลักษณ์ (identy) ของตนเพื่อต่อรองกับกระแสสังคมที่เบียดขับให้พวกตนเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลภา วจนสาระ. (2555). “มองหาความเป็นธรรมในสังคมไทยผ่านคนชายขอบ”. ใน กุลภา วจนสาระ และ กฤตยา อาชนิจกุล (บรรณาธิการ). ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
คาวางุจิ,โมริโนะซุเกะ . (2554). ซากุระกรรมศาสตร์. แปลและเรียบเรียงโดย ปฏิมา สินธุภิญโญ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
จรัล ดิษฐาอภิชัย. (2546). ก่อนจะถึง 14 ตุลา: บันทึกความทรงจำเกี่ยวกับพัฒนาการและบทบาทของขบวนการนักศึกษายุคถนอม-ประภาส. กรุงเทพฯ: เมฆขาว.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2541). “14 ตุลา: บันทึกประวัติศาสตร์”. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บรรณาธิการ). จาก 14 ถึง 6 ตุลา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
โดม ไกรปกรณ์. (2563). เส้นทางประชาธิปไตย . กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ทวิช จตุวรพฤกษ์ . (2541). เสียงจากชายขอบ: ศักดิ์ศรีความเป็นคนของชาวลีซอ. เชียงใหม่ : เครือข่ายชาติพันธุ์ศึกษาและศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา และเพื่อน. (2561). ครอบครัวจินตกรรม: บทวิพากษ์ว่าด้วยชุมชน การปกครอง และรัฐ. กรุงเทพฯ: Illumination Editions.
นันทขว้าง สิรสุนทร. (2545). “เมื่อวัฒนธรรมป๊อปจากญี่ปุ่นสร้างจักรวรรดิในยุคใหม่”, ใน เอกสารประชุมวิชาการ National Conference on Japanese Studies in Thailand เรื่อง บทบาทของญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ”. ปทุมธานี: โครงการญี่ปุ่นศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2549). วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณ. กรุงเทพฯ: มติชน.
นิรวาณ คุระทอง. (2553). ประวัติย่อการ์ตูนไทย. กรุงเทพฯ: เล็ดคอมมิค.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2563). การเมืองไทยร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปนัดดา ชำนาญสุข. (2531). “เบ้าหลอมความรุนแรงในเด็กและเยาวชนไทย”. ใน เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์ และคณะ. มิติทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงในเด็กและเยาวชน. นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2548). “ความคิดรวบยอดเรื่องการ์ตูน”. ใน นิพนธ์ แจ่มดวง และคณะ. การ์ตูน: โลกใบใหญ่ของความรักและจินตนาการ. กรุงเทพฯ: โครงการสื่อการ์ตูนเพื่อการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก.
ปุณยวีร์ จันทรขจร. (2557). โตเกียวเที่ยวนี้รวย. กรุงเทพฯ: สต็อคทูมอร์โรว์.
พีรพิชญ์ ฉั่วสมบูรณ์. (2557). 12-4-48 สิบสอง-สี่-สี่สิบแปด. กรุงเทพฯ: แซลมอนเฮ้าส์.
ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร. (2561). 140 ปี “การ์ตูน” เมืองไทย (ประวัติและตำนาน พ.ศ. 2417-2557).
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2561). ประวัติศาสตร์สำเหนียก. กรุงเทพฯ: มติชน.
วรัชญ์ วานิชวัฒนากุล. (2549). การสื่อสารความหมายใน “การ์ตูนไทยพันธุ์ใหม่” . กรุงเทพฯ: มติชน.
เวร์สแตปเปิน,นิโคลาส . (2564). การ์ตูนไทย: ศิลปะและประวัติศาสตร์. แปลโดย ชนิดา อรวัฒนานนท์. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2564). เมื่ออรุณจะรุ่งฟ้า: ขบวนการนักศึกษาไทย พ.ศ. 2513-2519 . กรุงเทพฯ: Illumination Editions.
สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ: จากความคิดสู่ความจริง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
BNK48 COMIC MOST DREAM vol. 1. (2018). กรุงเทพฯ: เซนชู พับลิชชิ่ง จำกัด.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2533, กุมภาพันธ์-กรกฎาคม). “เทววิทยาแห่งวาทกรรม: ทำความเข้าใจอำนาจแห่งวาทกรรมว่าด้วยนารายณ์สิบปาง”. สมุดสังคมศาสตร์ 12 (3-4): 175-191.
โดม ไกรปกรณ์. (2563, มกราคม-ธันวาคม). “ธุรกิจศิลปินไอดอล BNK48 ในกระแสความซบเซาของธุรกิจเพลงไทย: ประวัติศาสตร์ธุรกิจบันเทิงร่วมสมัย”. วารสารประวัติศาสตร์ 45: 191-210.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2531-2532, กันยายน-เมษายน). “จดหมายตอบ”. รัฐศาสตร์สาร 14-15 (3-4): 311-340.
“BNK 48 ฟีเวอร์ พวกเธอน่ารักมาก”. (2561, มกราคม). สุดสัปดาห์: 34-39.
เขมทัต พิพิธธนาบรรพ์. (2551). การแต่งคอสเพลย์ของกลุ่มวัยรุ่นไทยกับการสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรมย่อยและบทบาทของสื่อ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรรยา เหลียวตระกูล. (2540). พัฒนาการของภาพยนตร์การ์ตูนนำเข้าจากต่างประเทศที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน ภาควิชาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชญานุตม์ พัฒนสุวรรณ. (2549). การรับวัฒนธรรมสมัยนิยมจากญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทย กรณีศึกษาแฟนเพลงเจ-ป๊อป. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนิดา กำปั่นทอง. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2491-2500. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วาสนา ละอองปลิว. (2546). ความเป็นชายขอบและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของคนพลัดถิ่น . วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัจฉราพร แสนอาทิตย์. (2557). การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น พ.ศ. 2515-2527. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
“กลุ่มทุนญี่ปุ่น” พันธมิตรคู่ค้า ลงทุนไทยระยะยาวในหลายอุตสาหกรรม”. (2021). สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565, จาก https://forbesthailand.com/commentaries/special-report.
“แก๊งการ์ตูนแชเนล”. (2564). สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/แก๊งการ์ตูนแชเนล.
“แกร็บ” ดึง “BNK48” นั่งแท่นแบรนด์แอมบาสเดอร์ครั้งแรก หวังเข้าถึงโอตะ 10 ล้านรายในไทย”. (2018). สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565, จาก https://positioningmag.com/1198824.
“คุกกี้ฟีเวอร์! BNK48 เตรียมฟันพรีเซ็นเตอร์รวม 10 ตัวในปีนี้”. (2018). . สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565, จาก https://brandinside.asia/bnk48-fever-presenter-2018/
“จิตแพทย์ท้วง!รับรองสมาคม “อี-สปอร์ต” ห่วงทำเด็กติดเกม ก้าวร้าวรุนแรง”. (2561). . สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564), จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1576882.
“ช่อง 9 การ์ตูน”. (2564). สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ ช่อง_9_การ์ตูน.
“เดี๋ยวนี้เว็บบอร์ดการ์ตูนใหญ่ ๆ นอกจากพันทิพ ตุรกีมีที่ไหนบ้างอ่ะคะ”. (2556). สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565, จาก www.pantip.com/topics/3ท75738.
“ถึงลูกถึงคน ตอนหลุมดำ-ถกเรื่องการ์ตูน”. (2557). สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564, จาก www.youtube.com/watch?v=z8muom;5cwq.
“พันทิป.คอม”. (2565). สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565, จาก www.th.wikipedia.org/wiki/พันทิป.คอม.
“วิดีโอเกมในประเทศไทย”. (2564). สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วิดีโอเกมในประเทศไทย.
“อนิเมะ เฟสติวัล เอเชีย ไทยแลนด์ 2016 เอาใจคนรักการ์ตูนญี่ปุ่น”. (2016). สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565, จาก www.brandinside.asia/anime-festival-asia-thailand-2016/.
“[KG plus] Animent Weekend #23-สิ่งไม่เล็กที่เรียกว่า โอตาคุแมน”. (2557). สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก www.youtube.com/watch?v=Xk-6WSOJK28.
“Pluto Time to Play EP.308 โศกนาฏกรรม “หลุมดำ” วงการการ์ตูนไทย”. (2021). สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564, จาก www.youtube.com/watch?v=jfipouypbf8.
Ricchan Sama. (2561). “เมื่อ BNK 48 คือบันเทิงกระแสหลัก: รู้จักวัฒนธรรมโอตาคุจาก Sub Culture สู่ Main Stream”. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2561, จาก https://gmlive.com/otaku-meaning-from-sub-culture-to-main-stream-bnk 48.
The Cloud. (2563). “กิจจะรักมังงะ วุฒิ-วรวุฒิ วรวิทยานนท์ แฟนการ์ตูนญี่ปุ่นผู้เติบโตมาเป็น บ.ก. สำนักพิมพ์ที่บุกเบิกการ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทย กับความเชื่อว่า ‘ความชอบการ์ตูนจะติดตัวไปจนวันตาย’ ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563, จาก https://readthecloud.co/vibulkij/.
Kelts, Roland . (2006). Japanamerica How Japanese Pop Culture has Invaded the U.S.. New York: Palgrave Macmillan.