พระสนมมุสลิมในราชสำนักรัตนโกสินทร์

Main Article Content

พีรพัฒน์ เพชราบรรพ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการมีตัวตนและบทบาทเท่าที่ปรากฏตามหลักฐานของพระสนมมุสลิมในราชสำนักรัตนโกสินทร์ โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า พระสนมมุสลิมมีตัวตนและบทบาทในราชสำนักรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็นพระสนมมุสลิมนิกายชีอะห์ 3 ท่าน คือเจ้าจอมหงส์ ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจอมจีบ ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมลม้าย ในรัชกาลที่ 5 และพระสนมมุสลิมนิกายสุหนี่ 1 ท่าน คือเจ้าจอมตนกูสุเบีย ในรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้พระสนมมุสลิมทั้ง 4 ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าจอมมารดา กล่าวคือไม่มีพระราชโอรสธิดาถวายพระมหากษัตริย์ สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะกฎของศาสนาอิสลามที่ห้ามมุสลิมสมรสกับบุคคลนอกศาสนา ดังนั้นการเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระสนมของสตรีมุสลิมทั้ง 4 ท่านจึงไม่ได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา แต่เป็นไปเพื่อการเชื่อมสัมพันธ์ทางการเมือง และเพื่อเป็นหลักประกันในการแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จุฬาราชมนตรี (สัน), พระยา. บันทึกความทรงจำของท่านพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน). เอกสารส่วนบุคคล.

พ. อหะหมัดจุฬา. (2474). ใครเปนใคร. เอกสารส่วนบุคคล.

สจช. เอกสารรัชกาลที่ 5 กระทรวงยุติธรรม ม. ร.5 ย./2. เรื่องจัดตั้งตำแหน่งในกระทรวงยุติธรรมและศาลต่างๆ (13 ธันวาคม-มกราคม ร.ศ. 118).

โกมารกุลมนตรี, พระยา. (2546). เฉกอะหมัดและต้นสกุลบุนนาค. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

จงจิตรถนอม ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2521). บันทึกความทรงจำของหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล. ที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 2 พฤศจิกายน 2521. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์.

จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์. (2546). ขุนนางกรมท่าขวา : การศึกษาบทบาทและหน้าที่ในสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2153-2435. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. (2532). จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์: พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พิษณุโลกการพิมพ์.

เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. (2542). สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4). กรุงเทพฯ: กู๊ดวิล เพรส.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, และ กาญจนี ละอองศรี. (บก). (25552). โลกของอิสลามและมุสลิม: ในสยามประเทศไทย-อุษาคเนย์-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชาตรี นนทเกษ. (2540). อากาหยี่กับกุฎีเจริญพาศน์. ที่ระลึกเนื่องในวันบุญครบ 40 วัน มัรฮูมเสนาะ อากาหยี่ 10 สิงหาคม 2540.

ตาบทิพย์ จามรมาน, หม่อมราชวงศ์. (2552). พระบรมราชจักรีวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.

ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2507). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์. พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางอนงค์ เฑียรฆราษ (มารดา) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 21 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2507. กรุงเทพฯ: การพิมพ์เกื้อกูล.

ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 2. (2457). สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีดำรัสสั่งให้พิมพ์พระราชทานในงานศพฟักทองราชินิกูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส.

ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ. (2539). มุสลิมในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการหอสมุดกลางอิสลาม.

เสาวณีย์ จิตต์หมวด. (2524). วัฒนธรรมอิสลาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองทุนสง่า รุจิระอัมพร.

สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2545). ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

อาลี เสือสมิง. (2546). ประวัติศาสตร์ขุนนางมุสลิมสยาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสืออิสลาม.

แอนนา ลีโอโนเวนส์. (2562). อ่านสยามตามแอนนา. [แปลจาก The English Governess at The Siamese Court. โดยสุภัตรา ภูมิประภาส และสุภิดา แก้วสุขสมบัติ]. กรุงเทพฯ: มติชน.

จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์.(2550). กรุ่นระบั่นบนชั้นชะฎัต. วารสารสมาคมประวัติศาสตร์. 29: 217-258.

สำราญ ผลดี. (2559). จุฬาราชมนตรี : บทบาทและความสำคัญของผู้นำมุสลิมในประวัติศาสตร์สยาม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(23): 100-110.

สำราญ ผลดี. (2559). ประวัติศาสตร์ชุมชนมุสลิมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยรัตนโกสินทร์ถึงปัจจุบัน ศึกษาพื้นที่บางกอกน้อยและบางกอกใหญ่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(22): 67-79.

เกษิณี เภตรารัตน์. (2512). การแต่งงานของชาวไทยมุสลิม. ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรนันท์ ช่วงพิชิต. (2550). พิธีเจ้าเซ็น (อาชูรอ) : อัตลักษณ์และการธำรงชาติพันธุ์ของมุสลิมชีอะห์ในสังคมไทย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรศิริ บูรณเขตต์. (2540). นางใน : ชีวิตทางสังคมและบทบาทในสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5. สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณพร บุญญาสถิตย์. (2548). การตอบโต้และตอบสนองต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบตะวันตกของเจ้านายฝ่ายในในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2349-2468). ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สาระ มีผลกิจ. (2542). สตรีในราชสำนักสยาม ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ พ.ศ. 2349-2468. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์ บรรจุน. (2550). สตรีมอญในราชสำนักสยามสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2475. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. จดหมายเหตุรายวัน ของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://vajirayana.org/จดหมายเหตุรายวัน-ของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี-เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://vajirayana.org/พระราชพงษาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร-รัชกาลที่-๒

Family Tree of Malaysian Monarchs. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก https://i.redd.it/5x8fldnlknn91.jpg

Geni. Bendahara Sri Maharaja Tun Mutahir Tun Ali. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.geni.com/people/Bendahara-Sri-Maharaja-Tun-Mutahir-Tun-Ali/6000000008544976887

Geni. Tengku Safiah [Chao Chom Tengku Safiah]. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563, จาก https://www.geni.com/people/Tengku-Safiah-Chao-Chom-Tengku-Safiah/6000000002479399133

Geni. Sultan Mahmud IV Muzaffar Shah. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563, จาก https://www.geni.com/people/Sultan-Mahmud-Muzaffar-Shah-IV-Sultan-Lingga-ke-3-1835 -1857/6000000000911200719

Kesultanan Terengganu Islamiah Melayuwiah. Tengku Safiah Sultan Muhammad Mu'azzam Riau Lingga. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2563, จาก https://KesultananTranung/posts/2132257803760632

The Royal Ark. The Bendahara Dynasty GENEALOGY. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563, จาก https://www.royalark.net/Indonesia/lingga3.htm

ธีรนันท์ ช่วงพิชิต. (2563, 14 พฤษภาคม). สัมภาษณ์โดย พีรพัฒน์ เพชราบรรพ์, ที่ถนนเทศบาลสาย 2 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.