กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ: การรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ต้องการศึกษาการสร้างและการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในช่วงทศวรรษ 2460 จนถึงทศวรรษ 2500 โดยนับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานถึง 4 ทศวรรษ กว่าที่กรมอุทกศาสตร์จะสามารถกระทำการตรวจสอบและรักษาเวลามาตรฐานของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากกรมอุทกศาสตร์ประสบปัญหาขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้และความชำนาญในการใช้งานเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงส่งผลให้การปฏิบัติงานดังกล่าวได้รับผลกระทบไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกัน หน้าที่การตรวจสอบและรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้เป็นมาตรฐานสากลและเที่ยงตรงอยู่เสมอนั้น ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการความก้าวหน้าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการทหารเรือสมัยใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สจช. กต 79/38. เรื่อง กำหนดเวลารถไฟ สำหรับใช้ในกรุงสยาม.
สจช. ต.12.6/2 ประชุมนานาประเทศว่าด้วยอุทกศาสตร์ เช่นการทำแผนที่ทะเล และปรึกษากันด้วยเรื่องตารางน้ำขึ้นลง ที่กรุงลอนดอน.
สจช. ม ร6ก/8 พระราชกฤษฎีกาเรื่องเลื่อนเวลาเที่ยง.
สจช. ศธ. 0701.9/1606. เรื่อง การส่งสัญญาณเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย และการเทียบเวลามาตรฐานทางโทรศัพท์.
กรมทหารเรือ. (2449). ทำเนียบข้าราชการในกรมทหารเรือรัตนโกสินทร์ศก 125. พระนคร: โรงพิมพ์กองลหโทษ.
กองบรรณาธิการ. (2454, กรกฎาคม). การบอกเวลามาตรฐานประเทศไทย. นาวิกศาสตร์ 85(7): 14.
ขาว เหมือนวงศ์. (2562). การพิสูจน์การทรงคำนวณเพื่อการรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ใน พระจอมเกล้าฯ พระยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์”. สิกขา สองคำชุม. หน้า 52-75. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
ข่าวเสด็จพระราชดำเนิน. (ร.ศ.125 [พ.ศ.2449], 25 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 23 ตอน 35.
คณะกรรมการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรมอุทกศาสตร์. (2557). ประวัติกรมอุทกศาสตร์. ที่ระลึกเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 93 ปี วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2557.
คณะทำงานจัดทำหนังสือเผยแพร่วิทยาการของกรมอุทกศาสตร์. (2553). เวลามาตรฐานประเทศไทย. ที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากรมอุทกศาสตร์ ครบรอบ 89 ปี วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2553.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2504). พระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.
แชน ปัจจุสานนท์. (2509). ประวัติการทหารเรือไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2550). บันทึกรับสั่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทาน หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ประพัฒน์ จันทรวิรัช, พลเรือเอก. (2527). พระประวัติและพระราชกรณียกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญธรรม.
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตรา. (2462, 21 มีนาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 36 ตอน ก.
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2560, พฤษภาคม-สิงหาคม). ระบบเวลาสมัยใหม่ทศวรรษ 2460 ในฐานะกลไกควบคุมระบบราชการ การคมนาคมขนส่งของรัฐสยาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 9(2): 200-220.
มลิวัลย์ คงเจริญ. (2517). บทบาทและกิจการทหารเรือไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรจน์ หงษ์ประสิทธิ์, นาวาเอก. (2516, มีนาคม). การรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทย. นาวิกศาสตร์ 56(3): 165.
ลอย ชุนพงษ์ทอง. (2562). ความลับของสุริยุปราคาที่หว้ากอ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411. ใน พระจอมเกล้าฯ พระยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์”. สิกขา สองคำชุม. หน้า 194-216. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
วรพล ไม้สน. (2562). วิเคราะห์การคำนวณสุริยุปราคาเต็มดวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จากเอกสารร่วมสมัย. ใน พระจอมเกล้าฯ พระยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์”. สิกขา สองคำชุม. หน้า 219-310. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2552). วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
วิภัส เลิศรัตนรังสี. (2562). ก่อนจะเกิดสรรพคราสหว้ากอ: เส้นสมมติทางภูมิศาสตร์กับการทำนายอุปราคาของพระจอมเกล้าฯ. ใน พระจอมเกล้าฯ พระยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์”. สิกขา สองคำชุม. หน้า 152-193. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
สำรวจวิถีสมุทร. (ธันวาคม 2480). เวลา. นาวิกศาสตร์ 20(12): 3171.
Charles N. Robinson. (1894). The British Fleet: The Growth, Achievements, and Duties of the Navy of the Empire. London: George Bell and Sons.