ตัวกระทำการภูมิอากาศ น้ำท่วม ฝนแล้งกับวิกฤตเศรษฐกิจสังคมสยามที่ก่อเกิดการปฏิวัติ 2475

Main Article Content

ชาติชาย มุกสง

บทคัดย่อ

การศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมไทยที่ผ่านมาจะให้ความสำคัญกับการพรรณนาวิเคราะห์ตัวกระทำการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นมนุษย์หรือมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แต่บทความนี้มีข้อเสนอหลักว่า ตัวกระทำการทางประวัติศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2475 นั้นคือ สภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศ การเกิดฝนตกหนักน้ำท่วม การเกิดฝนแล้งและอากาศแห้งแล้งเป็นสาเหตุตั้งต้นของเหตุการณ์ลูกโซ่ต่อมาคือเกิดผลผลิตทางเกษตรโดยเฉพาะเศรษฐกิจข้าวเกิดความเสียหายหนัก จนนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในทศวรรษ 2470 และยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกไปพร้อมกันด้วย โดยวิกฤตเศรษฐกิจของสยามก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่โครงสร้างระบบราชการที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ศักดินาแบบชนชั้นที่อาศัยชาติวุฒิแต่กำเนิดมากกว่าคุณวุฒิตามคุณธรรมความสามารถ ทำให้การสนองตอบต่อปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไม่สามารถแก้ไขได้ทันต่อความปรารถนาของประชาชน จนก่อให้เกิดระบอบอารมณ์ความรู้สึกความสิ้นหวังเบื่อหน่ายกระจายไปทั่วสังคม จนนำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นความหวังให้ประชาชนส่งเสียงมีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมืองมาแล้วอย่างเห็นได้ชัดเจนจากฎีกาของชาวนาและชนชั้นกลางที่ส่งมายังผู้ปกครองก่อนหน้านั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สจช. กส.12/1116 เล่ม 28 เอกสารกระทรวงเกษตราธิการ เรื่อง กรมชลประทานรายงานว่าอากาศในปี พ.ศ. 2471 แสดงว่า ฝนจะขาดแคลนไปจนถึงเดือนกันยายน จะได้ส่งให้เจ้าพนักงานรักษาน้ำส่งน้ำเข้าช่วยการทำนา ขอให้สั่งฝ่ายบ้านเมือง ช่วยเหลืออย่าให้ราษฎรเกี่ยวข้องกับการส่งน้ำ หรือลักตัดกันถนนของกรมชลประทาน แลให้ใช้น้ำโดยเขม็ดแขม่ กระทรวงได้ขอความช่วยเหลือไปยังกระทรวงมหาดไทยแล้ว (2471).

สจช. ร.6 ม,3.4/15 พระยาโบราณราชธานินทร์อุปราชมลฑลกรุงเก่ากราบบังคมทูลรายงานเรื่องระดับน้ำที่หลักศิลาหน้าเมืองกรุงเก่า (วันที่ 9 พฤศจิกายน 2460).

สจช. เอกสารรัชกาลที่ 6 กระทรวงนครบาล ร.6 น 7.11/2 เรื่อง ไข้หวัด (อินฟลูเอนซา) มีเรื่องแจกยา (26 ต.ค.- มี.ค. 2461).

สจช. ม-ร.7 รล 20/44 ฎีกานายเปลื้อง มีเมฆ เป็นหนี้รัฐบาล ขอพระมหากรุณาผ่อนผัน (15 ก.ค. 2470-7 มิ.ย. 2472).

สจช. ม-ร.7 รล20/55 ฎีกานายอยู่ เคยทำ เรื่องได้รับความกดขี่ จากนายอำเภอลาดหลุมแก้ว (21 ก.ค.-25 พ.ย. 2470).

สจช. ม-ร.7 /37/20.5/6 ฎีการาษฎร จ.ตราด ขอพระมหากรุณาลดเงิน (29 เม.ย. 2470-23 เม.ย. 2471).

สจช. ม-ร.7รล/37/ 20.5/8 ฎีกานายลั่น สุวรรณมุสิโก ขอพระมหากรุณาลดค่านา (10 มี.ค. 2470-2 ต.ค. 2471).

สจช. ม-ร.7รล20/128 ขุนมงคลประศาสน์ ถวายความเห็นเรื่องการค้าขาย และการทำนา (6-22 ส.ค. 2473).

สจช. ม-ร.7 รล 20.5/7 ฎีการาษฎร จ.ลำพูน ขอพระมหากรุณาลดค่านา (23 พ.ย. 2470-19 ต.ค. 2471).

สจช. ม-ร.7รล/20.5/11 นายผาด นายไล และราษฎร ต.ช้างน้อย และต.บ้านกระแซง อ.ราชคราม จ.พระนครศรีอยุธยา ขอพระมหากรุณาธิคุณลดหย่อนเงินอากรค่านา (7 พ.ค.-6 ก.พ. 2471).

“แจ้งความกระทรวงมหาดไทย”. ราชกิจจานุเบกษา 43 (20 มิถุนายน 2469): 1254 -1258.

แถลงการณ์สาธารณสุข, ปีที่ 2 เล่ม 2 (พ.ศ 2468-2469).

พระราชบัญญัติลักษณเก็บเงินค่านา ร.ศ. 119 ใน ราชกิจจานุเบกษา 17 (18 พฤศจิกายน ร.ศ.119 (2443)): 450-3.

ราชกิจจานุเบกษา 31(10 มกราคม 2557): 486-491.

ราชกิจจานุเบกษา 43(30 พฤษภาคม 2469): 1004.

ราชกิจจานุเบกษา 50(18 มีนาคม 2576): 993-995.

สามัคคีชัย (นามแฝง-จอมพล ป. พิบูลสงคราม). “ฉันเห็นอุทกภัยสองครั้ง.” ข่าวโคสนาการ, กันยายน 2485, หน้า 1370-74.

หลวงพยุงเวชชศาสตร์. ยุงก้นปล่อง. จดหมายเหตุทางการแพทย์. 19,4. (2479): 610.

กระทรวงสาธารณสุข. (2500). อนุสรณ์ กระทรวงสาธารณสุขครบ 15 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์.

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. (2562). ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย. แปลโดย อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.

กุหลาบ สายประดิษฐ์. (2557). เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475. กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร.

คารล ซี. ซิมเมอรแมน. (2477). การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทแห่งสยาม. แปลและเรียบเรียงโย ซิม วีระไวทยะ. พระนคร: ศรีหงส์.

ชนกพร ชูติกมลธรรม. (2563). Material Turn ในสาขาประวัติศาสตร์ ทฤษฎี Actor-Network กับแนวคิดวัตถุในฐานะผู้กระทำการทางประวัติศาสตร์. วารสาร

ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(1): 97–125. https://doi.org/10.14456/lartstu.2020.5

ชาติชาย มุกสง. (2563). จากปิศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์และโรคระบาดในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2560). ปฏิวัติ 2475. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชูศรี มณีพฤกษ์. (2550). นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ไชยันต์ รัชชกูล. (2560). อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์: การก่อรูปรัฐไทยสมัยใหม่จากศักดินานิยมสู่ทุนนิยมรอบนอก. แปลโดย พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.

ณัฐพล ใจจริง. (2565). ราษฎรปฏิวัติ: ชีวิตและความฝันใฝ่ของคนรุ่นใหม่สมัยคณะราษฎร. กรุงเทพฯ: มติชน;

ธีระ นุชเปี่ยม. (2559). ฝรั่งมองไทยในสมัยรัชกาลที่ 7: ตะวันออกที่ศิวิไลย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2540). การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์วิชาการ.

เบนจามิน เอ บัทสัน. (2560). อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม. แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์ และศศิธร รัชนี ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ประยูร ภมรมนตรี. (2517). บันทึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475. กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง.

ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน 2475. สถาบันปรีดี พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565,จาก https://pridi.or.th/th/libraries /1583202126

ปรีดี พนมยงค์. 2542 [2475]. เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ. พระนคร: สำนักงานการพิมพ์ ศ. ศิลปานนท์.

ปรีดี หงษ์สต้น. (2562). สยามมหกรรม: การเมืองวัฒนธรรมกับความช่วงชิงความเป็นสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มติชน.

พอพันธ์ อุยยานนท์. (2558). เศรษฐกิจไทยในสมัยรัชกาลที่ 7: รักษาเสถียรภาพปูพื้นฐานการพัฒนา. กรุงเทพฯ: คบไฟ,.

ยาสุกิจิ ยาตาเบ. (2550). บันทึกของทูตญี่ปุ่นผู้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475: การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม. แปลโดย เออิจิ มูราชิมา และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. กรุงเทพฯ: มติชน.

รายงานโครงการทดน้ำไขน้ำสำหรับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ ของ มิสเตอร์ เย โฮมาน วาน เดอร์ ไฮเด. (2555). พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพนาย

สวัสดิ์ วัฒนายากร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยากรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน 2555.

ลอรา ลี. (2551). ลมฟ้าอากาศพลิกประวัติศาสตร์โลก. แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก.

ศรัญญู เทพสงเคราะห์. (2562). ราษฎรธิปไตย: การเมือง อำนาจและความทรงจำของ (คณะ) ราษฎร. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศราวุฒิ วิสาพรม. (2559). ราษฎรสามัญหลังวันปฏิวัติ 2475. กรุงเทพฯ: มติชน.

สถิติพยากรณ์รายปีประเทศไทย บรรพที่ 20 พ.ศ. 2480-81. (2484). พระนคร: กองประมวลสถิติพยากรณ์.

สถิติพยากรณ์รายปีแห่งราชอาณาจักรสยาม บรรพ 19 พ.ศ.2478-79. (2479). พระนคร: กองประมวลสถิติพยากรณ์.

สิงห์ สุวรรณกิจ. (2563). ท่องสมุทรแห่งความรู้สึก: วิลเลียม เรดดี้กับประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึก. ใน วิธีวิทยาในการศึกษาประวัติศาสตร์. ชนิดา พรหมพยัคฆ์และณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว, (บก.). กรุงเทพฯ: ศยาม.

สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. (2566). เป็นจีนเพราะรู้สึก: ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุนทรีย์ อาสะไวย์. (2533). วิกฤตการณ์เศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวพันธุ์ สนิทวงศ ณ อยุธยา, ม.ร.ว. (2470). เรื่องเข้าของประเทศสยาม. พิมพ์ในงารพระราชทานเพลิงศพนายพันตรี หม่อมราชวงศ์ สุวพันธุ์ สนิทวงศ ณ อยุธยา. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ. (2563) โรคระบาดในประวัติศาสตร์ไทยไม่ได้มีแต่ ‘โรคห่า’ ว่าด้วยชาวสยามกับการเผชิญโรคระบาด. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก https://thematter.co/thinkers/disease-in-thai-history/106084

Boomgaard, Peter and Ian Brown (eds.). (2000). Weathering The Storm: The Economics of Southeast Asia in the 1930s Depression. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

Le Roy Ladurie, Emmanuel. (2017). The Territory of the Historian. Brighton: Edward Everett Root, Publishers, Co. Ltd.

Scot Barme. (2002). Woman, Man, Bangkok: Love, Sex and Popular Culture in Thailand. Chiang Mai: Silkworm books.

Subrahmanyan, Arjun. (2021). Amnesia: A History of Democratic Idealism in Modern Thailand. Albany, NY: State University of New York Press.

จิรวัฒน์ แสงทอง. (2546). ชีวิตประจำวันของชาวสยามในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2426-2475. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรวัฒน์ แสงทอง. (2565). ภาพยนตร์ยุคแรกเริ่ม ภาวะสมัยใหม่และการสร้างภาพยนตร์ในสยาม, วิทยานิพนธ์เสนอบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา.

ชาติชาย มุกสง. หมอกธุมเกตุและละอองธุลีพิษ: ประวัติศาสตร์ภูมิอากาศและปรากฏการณ์ของท้องฟ้าในสังคมไทย. (2565). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ภายใต้ชุดโครงการ “ท่องไปบนดวงดาว ก้าวลงบนดวงจันทร์: ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ในสังคมไทย” สัญญาเลขที่ B05F630089 เสนอหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).

ปฐมวดี วิเชียรนิตย์. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง ความคาดหวังของราษฎรที่มีต่อระบอบการเมืองใหม่ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475. เสนอต่อพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.

สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2558). การเปลี่ยนแปลงทางความคิดของชนชั้นกลางไทยกับ “เรื่องอ่านเล่น” ไทยสมัยใหม่ ทศวรรษ 2460- ทศวรรษ 2480. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.