การก่อตัวทางความคิด และความหมายว่าด้วย "ความอับอาย" ของชนชั้นนำสยาม ตั้งแต่ปลายอยุธยาจนถึง ต้นรัตนโกสินทร์ก่อนทศวรรษที่ 2390

Main Article Content

พีรพัฒน์ อินทรัตนรังษี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาความคิด และความหมายเกี่ยวกับ “ความอับอาย” ของชนชั้นนำ ตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ก่อนทศวรรษที่ 2390 โดยใช้แนวคิดประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึก คือ การมองการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ผ่านอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางสังคม ผ่านเอกสารจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก คือ เอกสารทางศาสนา ที่เน้นย้ำการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และเกิดการแบ่งกาละและเทศะ ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ กลุ่มที่สอง คือ งานเขียนวรรณกรรม ได้ช่วยอธิบายให้เห็นอารมณ์ความรู้สึก "อับอาย" ของชนชั้นนำที่สะท้อนความคิด และความหมายในวรรณกรรม ซึ่งเอกสารกลุ่มอื่นไม่ได้กล่าวถึง กลุ่มที่สาม คือ เอกสารพระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ ได้บันทึกให้เห็นพฤติกรรมที่น่าอับอายของชนชั้นนำ และการลงโทษในลักษณะรัฐนาฏกรรม ซึ่งเป็นมหรสพแสดงบุญบารมี ได้เชื่อมโยงไปยังเอกสารกลุ่มสุดท้าย คือ เอกสารกฎหมาย แสดงให้เห็นการลงโทษ ในลักษณะการประจานความผิดบนพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ผู้กระทำผิดรู้สึกอับอาย และผู้ชมรู้สึกว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องน่าอับอาย ภายใต้มาตรฐานของชนชั้นนำ ซึ่งทุกคนในสังคมต่างยอมรับมาตรฐานมาเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ความรู้สึก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2535). วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 2 (หมวดศาสนจักร) ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กุสุมา รักษมณี และคณะ. (2550). ศักดิ์ศรี และความอับอาย ในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, (บก.). (2519). ประวัติศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2540). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์..

ถาวร สิกขโกศล, (บก.). (2558). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับสมบูรณ์สามภาคและฉบับต่างสำนวน เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ซี. พี. ออลล์.

ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2561). หยดเลือด จารึก และแท่นพิมพ์: ว่าด้วยความรู้/ความจริงของชนชั้นนำสยาม, กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.

ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2555ก). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2555ข). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อ่าน.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). ปากไก่และใบเรือ. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557ก). กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพฯ: มติชน.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557ข). ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ ว่าด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ. กรุงเทพฯ: มติชน.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2555). ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวนที่ 1. กรุงเทพฯ: ลายคำ.

ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉบับหลวง ตรา 3 ดวง เล่ม 2. (2529). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง.

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่มที่ 1. (2558). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ลาลูแบร์, ซิมอน เดอ. (2557). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2549). บทพิจารณ์ว่าด้วยวรรณกรรมการเมืองและประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2546). พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. 2325-2352). กรุงเทพฯ: มติชน.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2556). “ความรู้สึกกับประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์ความรู้สึก”. ใน ด้วยรัก เล่ม 1: ปรัชญาและสาระของประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, (บก.). หน้า 129-173. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2558). โครงการ การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่: ประวัติศาสตร์สังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เทอดศักดิ์ ร่มจำปา. (2545). วาทกรรมเกี่ยวกับ “เกย์” ในสังคมไทย พ.ศ. 2508-2542. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ปรีดี หงษ์สต้น. (2557-2558, ตุลาคม-มีนาคม). เชือดไก่ให้ลิงดู: รัฐไทยกับการทำลายศัตรูด้วยนาฏกรรม. ใน วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 1(2): 53-99.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2533). "รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ในสยาม 2435-2475”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 17(1): 23-44.

กรมศิลปากร. ลิลิตพระลอ. กรุงเทพฯ: ศิลปากร. 2548, จาก https://vajirayana.org/ลิลิตพระลอ/ลิลิตพระลอ

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ประชาชนในรัฐนาฏกรรม (1). จาก https://www.matichonweekly.com/column /article_30805

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ประชาชนในรัฐนาฏกรรม (2). จาก https://www.matichonweekly.com/column /article_31366

พระคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน (THSV11). จาก https://www.bible.com/th/bible/174/GEN.3.7.THSV11

หอพระสมุดวชิรญาณ. (2462). ประชุมพระราชปุจฉา ภาคที่ ๓ พระราชปุจฉา ในรัชกาลที่ ๑ (ตอนที่ ๒). กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร. จาก https://vajirayana.org/ประชุมพระราชปุจฉา-ภาคที่-๓/พระราชปุจฉาที่-๒๕

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. การรับรู้ “กาละ-เทศะ” ในสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลง. จาก https://waymagazine.org/time-and-place-in-perception/