ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ชากุลนา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • สุวรรณา ทันแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • ประจวบ แหลมหลัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, เข้าศึกษา, อุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1-2 กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครชีและมอร์แกนและเพิ่มร้อยละ 5 เป็น 300 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.90  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 90.00 อาศัยอยู่ภาคเหนือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.70 ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 94.30 มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.00-3.49 คิดเป็นร้อยละ 40.70 ผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 35.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อปี อยู่ระหว่าง 100,000 – 199,999 บาท คิดเป็นร้อยละ 45.70 การตัดสินใจกลุ่มที่มากที่สุดกำลังศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยชุมชน คิดเป็นร้อยละ 44.70 ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าศึกษา พบว่า มีเพียงปัจจัยด้านหลักสูตรที่อยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านการเงิน และปัจจัยด้านสถาบันอยู่ในระดับปานกลาง

References

กนกวรรณ ผันสำโรง, ณัฐริษา อำนวยศรี, รัชดาพร เทศรักษ์, และ สุรศักดิ์ แก้กลาง. (2561). ความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียนโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด.สืบค้นจาก http://fms.nrru.ac.th/home/research/public_html/images/stories/Research-2560/Student-Research/student61-9.pdf

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2565). จำนวนนิสิตแยกตามหลักสูตร. สืบค้นจาก https://reg.up.ac.th/content/all/information

คณะสาธารณสุขศาสตร์. (2564). ประวัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. สืบค้นจาก http://www.ph.up.ac.th/ContentRead.aspx?C=history-medicine

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. (2565). หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยชุมชน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 (มคอ.2). สืบค้นจาก http://www.ph.up.ac.th/ContentRead.aspx?C=CommunityHealthProgramNew01

จริยาภรณ์ โตเผือก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 7(2), 56–63.

พิชญาดา นวลสาย, และคณะ. (2563). การศึกษาสภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 20(1), 26–38.

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2558). Strategy, บทความสำหรับบุคคลทั่วไป, องค์ความรู้. สืบค้นจาก https://www.ftpi.or.th/2015/172

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุการตพิชา ปยะธรรมวรากุล. (2564). ความต้องการศึกษาต่อระดับหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(1), 33–46.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, Inc.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297–334.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2025

How to Cite

ชากุลนา ส. ., ทันแก้ว ส. ., & แหลมหลัก ป. . (2025). ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(2), e2081. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2081