การศึกษาความผูกพันและความสุขของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล อาบสีนาค กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 38 ม.8 ต.นาวุ้ง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี 76000
  • น้ำฝน แสงอรุณ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 38 ม.8 ต.นาวุ้ง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี 76000

คำสำคัญ:

ความสุขในการทำงาน, ความสุขในการศึกษา, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพัน และความสุขของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร จำนวน 327 คน และนักศึกษา จำนวน 1,990 คน จากวิธีการสุ่ม และคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของยามาเน่ ใช้แบบสำรวจ HAPPINOMETER จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาบรรยายลักษณะตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

1) บุคลากร : ระดับความสุข อยู่ในระดับมาก mean = 3.63, S.D.= 0.907) และความผูกพันต่อองค์กร อยู่ในระดับมาก ( mean = 3.72, S.D.= 0.933) ซึ่งบุคลากรมีความสุขในด้านใฝ่รู้ดี เป็นอันดับ 1 ( mean = 4.01, S.D. = 0.831)อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านจิตวิญญาณดี (mean = 3.89, S.D. = 0.814) อยู่ในระดับมาก และด้านน้ำใจดี (mean = 3.80, S.D. = 0.796) อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีคะแนนความสุขน้อยที่สุด คือ ด้านผ่อนคลายดี ( mean = 3.24, S.D. = 0.874) อยู่ในระดับปานกลาง

2) นักศึกษา : ระดับความสุข อยู่ในระดับมาก ( mean = 3.52, S.D.= 0.965) และความผูกพันต่อมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับมาก (mean = 3.65, S.D.= 0.888) ซึ่งนักศึกษามีความสุขในด้านผ่อนคลายดี เป็นอันดับ 1 ( mean = 3.84,S.D. = 1.067) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านจิตวิญญาณดี ( mean = 3.73, S.D. = 0.860) อยู่ในระดับมาก และด้านใฝ่รู้ดี ( mean = 3.73, S.D. = 0.877) อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีคะแนนความสุขน้อยที่สุด คือ ด้านสุขภาพเงินดี( mean = 2.55, S.D. = 1.020) อยู่ในระดับปานกลาง

References

กมลรัตน์ ทองสว่าง, และ ธนาวิทย์ กางการ. (2564). ความสุขของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ใน เอกสารการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (หน้า 1097–1104). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2557). ก้าวไปสู่องค์กรสุขภาวะ ก้าวไปเป็น Happy Workplace (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอทโฟร์พริ้นท์ จำกัด.

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, ภัทรกันย์ ติเอียดย่อ, จันทนี ปลูกไม้ดี, ศรัญญา ทิ้งสุข, สุพรรษา สุดสวาท, และ กนกพร สงปราบ. (2559). ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 34(5), 269–279.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2551). องค์กรแห่งความสุขด้วยความสุข 8 ประการ. หมอชาวบ้าน, 30(349), 18–25.

ชาโลมา กองสวัสดิ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขและความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(3), 185–195.

ตวงพร รุ่งเรืองศร. (2563). ความพึงพอใจและความผูกพันต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 9(2), 125–147.

ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์. (2565). การสำรวจระดับความผูกพันและแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารวิชาการ ปขมท., 12(1), 104–113.

ธรรญชนก ขนอม.(2563). ความสุขของบุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.วารสารวิชาการ ปขมท.9(3),12-20.

นัฐนรี ศรีชัย. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2564). แผนพัฒนาความเป็นเลิศและผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ระยะ 5 ปี. ใน ฐานข้อมูลสารสนเทศ กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://plan.pbru.ac.th/index.php (สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2565).

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะ, และ วรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส จำกัด.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, วรรณี หุตะแพทย์, สุกรต์ จรัสสิทธิ์, พัจนันท์ ศริรัตน์มงคล, ปรียา พลอยระย้า, มรุพัชร นามขาน, และ บุรเทพ โชคธนากุล. (2565). รายงานการสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข ความผูกพันองค์กรของคนทำงาน (ในองค์กร) ระดับประเทศ พ.ศ. 2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). การสนับสนุนระบบปัญญานิเวศเพื่อสร้างเสริมมหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะที่ยั่งยืน. ใน ฐานข้อมูลโครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://happythaiuniversity.com/ebook (สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2565).

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). รายงานผลการสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข ความผูกพันกับสถานศึกษา และสมดุลชีวิตกับการเรียนของนิสิต-นักศึกษาภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข ประจำปี 2564–2565. ใน ฐานข้อมูลสารสนเทศ โครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://happythaiuniversity.com/news?id=99 (สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2566).

สันต์ฤทัย ลิ่มวีรพันธ์. (2550). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ (Employee Engagement) กรณีศึกษา บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน). (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. ใน ฐานข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/y8mE (สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2566).

อุเทน หินอ่อน. (2563). คุณภาพชีวิต ความสุข และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. วารสารวิชาการ ปขมท., 9(3), 196–205.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology, 140, 1–55.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2025

How to Cite

อาบสีนาค ณ. ., & แสงอรุณ น. . (2025). การศึกษาความผูกพันและความสุขของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(2), e2055. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2055