ความเห็นต่อการใช้งานระบบ QR Code ในการตรวจครุภัณฑ์ของบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ:
QR Code, สถิติ, ความต้องการและปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเห็นที่มีต่อการใช้งานระบบ QR Code มาประยุกต์ใช้ในการทำงานในการตรวจครุภัณฑ์ของบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การศึกษาครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของ บุคลากรทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงปี พ.ศ. 2566 โดยการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจครุภัณฑ์ประจำปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 107 คน ในช่วงระหว่างเดือน มีนาคม - สิงหาคม ปี พ.ศ. 2566 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างผู้รับผิดชอบการตรวจครุภัณฑ์ จำนวน 80 คน การสุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย (Questionnaire) โดยใช้ข้อมูลทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เคยทำการตรวจครุภัณฑ์ทุกปี มีช่วงอายุ 31-40 ปี และ มีอายุงานมากกว่า 15 ปี ระดับความต้องการและปัญหาการประยุกต์ใช้งานระบบ QR Code ในการตรวจครุภัณฑ์ และ ความต้องการเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานระบบ QR Code เพื่อลดเวลาในการตรวจครุภัณฑ์ อยู่ในระดับปานกลาง จึงควรมีการที่จะสร้างแรงจูงใจ ให้ความสำคัญกับการยอมรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นแนวทางการวางแผนและพัฒนาด้านต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
References
กิตติ บุนนาค. (2549). ยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ โดยการใช้กระบวนการของการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management: RBM). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกื้อกูล ปรีเปรม. (2549). การพัฒนาระบบครุภัณฑ์และวัสดุผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศ). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จิรพร ซื่อจริง. (2555). ระบบการตรวจสอบย้อนกลับในการส่งออกผักสดโดยเทคโนโลยี QR code. สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. วิทยาการพิมพ์. อุบลราชธานี.
นพมาศ เสียมไหม. (2554). การศึกษาการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ e-Government (G2E) ของข้าราชการระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทยกับสำนักปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นฤเทพ สุวรรณธาดา, สมคิด แซ่หลี, และ สรเดช ครุฑจ้อน. (2556). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการบันทึกข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสำเร็จการศึกษาโดยนำเข้าข้อมูลผ่านระบบเก็บข้อมูลออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(2), 20–26.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
มัลลิกา เจริญสาร. (2554). ความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์) สังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สาวิตรี ทองประเสริฐ. (2549). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานพัสดุครุภัณฑ์บนเครือข่ายอินทราเน็ต กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโพธินิมิต. (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2535). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.
สุจิตรา สาราญใจ. (2560). การประยุกต์เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์กับการบริการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร. PULINET Journal, 4(3), 216–222.
สุธี เดชะวงศ์สุวรรณ. (2558). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้งานเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์จำลองการรักษา รุ่น Philips Big-bore 16 CT Simulator. (รายงานการวิเคราะห์). ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
อนุชา ชีช้าง. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ด้วยบาร์โค้ดสองมิติบนเครือข่ายอินทราเน็ต กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. (แบบเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ). มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.