การวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการ เครื่องนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรมิเตอร์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้แต่ง

  • ธนาภรณ์ มาศวรรณา ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

คำสำคัญ:

ต้นทุนการให้บริการ, จุดคุ้มทุนการให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์, เครื่องนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรมิเตอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและจุดคุ้มทุนของการให้บริการตรวจวิเคราะห์ฯ ด้วยเครื่อง Nuclear Magnetic Resonance spectrometer (NMR) ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยการเก็บข้อมูลต้นทุนตามความสัมพันธ์ของระดับกิจกรรมของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาพบว่า เครื่อง Solid-state NMR 400 MHz และ Solution-state NMR 500 MHz มีอัตราส่วนต้นทุนเงินสดคงที่: ต้นทุนผันแปร เท่ากับ 94.72 : 5.28 และ 90.05 : 9.95 ตามลำดับ และมีต้นทุนค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ เป็นต้นทุนที่ไม่ใช่เงินสดที่สูงที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 79.56 และ ร้อยละ 84.16 ตามลำดับ และมีต้นทุนค่าบำรุงรักษา-กรณีเติมฮีเลียมเหลว เป็นต้นทุนที่เป็นเงินสดที่สูงที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 27.35 และ ร้อยละ 42.65 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การที่จะบริหารงบประมาณให้ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพเต็มที่ คณะวิทยาศาสตร์จะต้องจัดสรรและควบคุมงบประมาณสำหรับปีงบประมาณถัดไป ในการให้บริการวิเคราะห์ฯ ด้วยเครื่อง Solid-state NMR 400 MHz และ Solution-state NMR 500 MHz เป็นจำนวนเงิน 649,514.28 และ 883,111.95 บาท ตามลำดับ รวมทั้ง ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ จะต้องให้บริการวิเคราะห์ฯ ด้วยเครื่อง Solid-state NMR 400 MHz โดยในแต่ละเดือนจะต้องมีจำนวนตัวอย่างส่งวิเคราะห์ ไม่ต่ำกว่า 42 ตัวอย่าง (อัตราสำหรับหน่วยงานราชการ) หรือ34 ตัวอย่าง (อัตราสำหรับหน่วยงานเอกชน) จึงจะคุ้มทุนต้นทุนที่เป็นเงินสดและสำหรับเครื่อง Solution-state NMR 500 MHz จะต้องมีจำนวนตัวอย่างส่งวิเคราะห์ ไม่ต่ำกว่า 73 ตัวอย่าง(อัตราสำหรับหน่วยงานราชการ) หรือ 62 ตัวอย่าง (อัตราสำหรับหน่วยงานเอกชน) การให้บริการวิเคราะห์ฯ ด้วยเครื่อง NMR ของศูนย์เครื่องมือฯ จึงจะสามารถอยู่รอดในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันได้

References

กัญญาณัฏฐ์ สาธกธรณ์ธันย์. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าคุ้มทุนของการจัดการศึกษา ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 39–54.

กรมบัญชีกลาง. (2557). หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานภาครัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.cgd.go.th (สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2566).

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2565). องค์ประกอบและการทำงานของเครื่อง NMR. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://science.buu.ac.th/nmrsci/index.php? (สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2566).

เจอีโอแอล. (2566). พื้นฐานวิทยาศาสตร์: นิวเคลียร์แมกโนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรมิเตอร์ (NMR). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://th.jeol.com/products/science/nmr.php (สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2566).

พรสวรรค์ อมรศักดิ์ชัย. (2555). โซลิดสเตทนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโคปี: หลักการและพื้นฐานเบื้องต้นของการทดลอง. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 28(1), 165–182.

วิรัญญา สุทัศนวิชานนะ. (2563). การใช้งานเครื่อง NMR สำหรับวิเคราะห์สารตัวอย่าง. ใน คู่มือการปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการ NMR ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (2565). เทคนิคนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.mtec.or.th/technical-service-2/nmr-spectroscopy/ (สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2566).

สำนักนิติการ สำนักงานอธิการบดี สจล. (2554). ประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่องการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานวิชาการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://law.kmitl.ac.th/wp-content/uploads/2018/02/j11.pdf (สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2566).

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2565). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://home.kku.ac.th/anuton/cost%20accounting/cost%20split.htm (สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2025

How to Cite

มาศวรรณา ธ. . (2025). การวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการ เครื่องนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรมิเตอร์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(2), e2049. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2049