การวิเคราะห์ความจำเป็นของระบบบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ในการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด
คำสำคัญ:
ระบบบริหารจัดการ, เครื่องคอมพิวเตอร์, การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์, สถานการณ์โรคระบาดบทคัดย่อ
ระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์กับการแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานการณ์โรคระบาดมีความสำคัญใน การพัฒนาความก้าวหน้าขององค์กรเนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหลักในการปฏิบัติงานดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องได้รับ การแก้ไขเมื่อเกิดความเสียหายหรือความบกพร่องตามอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบกับในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีความเสี่ยง ซึ่งองค์กรจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการปฏิบัติงานเพื่อมาช่วยในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงนี้ บทความวิชาการนี้จึงมุ่งให้ความสำคัญกับระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่โดยการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบเดิม และสังเคราะห์การแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยระบบบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ซึ่งผลลัพธ์ในเชิงบวกที่ตามหลังจากใช้ระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ คือ 1) สามารถควบคุมและแก้ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากระยะไกล 2) สามารถตรวจสอบระยะเวลาการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ได้ 3) สามารถติดตามและค้นประวัติการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว 4) สามารถจัดทำรายงานประวัติการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ 5) สามารถประหยัดงบประมาณในการประสานงานแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์จนเกิดประสิทธิภาพด้าน ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการดำเนินงานในองค์กรสู่การลดใช้จ่ายด้านการจัดการคอมพิวเตอร์อย่างยั่งยืน
References
กนกวรา พวงประยงค์. (2564). สถานการณ์ผลกระทบ ความต้องการการช่วยเหลือ และการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(1), 266–286.
กิตตชัย อธิกุลรัตน์, ลลิดา นาคพรหม, และ กฤษดา ม่วงขาว. (2562). การพัฒนาระบบการจัดการซ่อมบำรุงด้วยคอมพิวเตอร์: กรณีศึกษา บริษัทผลิตถุงมือยาง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 4(2), 7–15.
กัลยา ใจรักษ์, รัฐ ใจรักษ์, และ อุบลวรรณา เกษตรเอี่ยม. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันศูนย์กลางการรับซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และไอทีในพื้นที่จังหวัดพะเยา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชนาธิป ไชยเหล็ก. (2563). Pandemic คืออะไร. The Standard. สืบค้นวันที่ 1 ตุลาคม 2566, จาก https://thestandard.co/what-is-pandemic/
ชลิดา ลิ้นจี่, กนกมณี หอมแก้ว, และ ลักษมี บุญเอี่ยม. (2565). การควบคุมภายในที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของคณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(2), 682–695.
ธนกฤต ผงผ่าน, และ ประยงค์ ฐิติธนานนท์. (2561). การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครือข่ายออนไลน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2), 75–83.
นาถตยา ขุนทอง, ราลี มณีรัตน์, และ ศุภฤกษ์ ชูธงชัย. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการงานซ่อมระบบเครือข่ายและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้วยบูทสแตรป ฟอนท์เอ็น เฟรมเวิร์ค. วารสารวิชาการซาย์เทค มรภ.ภูเก็ต, 2(1), 19–25.
ปัณณธร ขุนสอาดศรี. (2563). การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในระบบงานทะเบียนที่ราชพัสดุ กรณีศึกษาสำนักงานธนารักษ์พื้นที่นนทบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรรัตน์ แสดงหาญ. (2563). การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 14–33.
ภัทรพงษ์ อักษร. (2561). การพัฒนาระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (รายงานการวิจัยบุคลากร). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ระวีวรรณ พรรณราย. (2551). ระบบแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่. (สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ). สงขลา: วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่.
รัฐ ใจรักษ์, กัลยา ใจรักษ์, และ อุบลวรรณา เกษตรเอี่ยม. (2563). การจัดการความรู้ของระบบศูนย์กลางซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิคออนโทโลยี. ใน บทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 16 (NCCIT2020) (หน้า 17). คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ฤาชา ชูบรรจง. (2556). การะบบแจ้งซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา บริษัท พี เค จี เจอร์นีย์ ไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาองค์การและนวัตกรรมในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์, และ วรรณพร สารภักดิ. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาออนไลน์ด้วยกระบวนการ PDCA คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วันชนะ พรหมทอง. (2553). ระบบการแจ้งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิภาวรรณ เกษมสุขบท. (2563). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพัฒนาสู่องค์การดิจิทัล. (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สิทธี สามกองงาม, และ กิ่งกาญจน์ กันยิ่ง. (2563). การนำวิธีปฏิบัติไอทิล (ITIL) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบริการงานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการทดสอบซอฟต์แวร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 10(1), 47–56.
สุพิชญา วงศ์วาสนา. (2564). ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสาร กรณีศึกษา บริษัท บางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด (BFS). วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 25–26.
อริย์ธัช อักษรทับ. (2565). การปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมสู่ “ความปรกติใหม่” และการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในโครงการ “ทำงานเที่ยวได้รวมใจช่วยชาติ”. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(1), 108–119.
อุบลวรรณา เกษตรเอี่ยม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 6(2), 34–47.
อุไร หนูสันโดน. (2552). ระบบงานรับแจ้งและแก้ไขปัญหาสำหรับฝ่ายสนับสนุนระบบของบริษัท บ้านซอฟต์แวร์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เอกชัย ภคเลิศพงศ์. (2558). ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์. รายงานวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์. คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 319–340.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982–1003.
Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it?. Sloan Management Review, 15, 12–18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.