การจัดระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้แต่ง

  • ธรรญชนก ขนอม คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • อนุกูล ศรีวรรณ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

คำสำคัญ:

ระบบข้อมูลการฝึกอบรม, นักวิจัยรุ่นใหม่, กูเกิลแอปพลิเคชัน; การออกแบบสื่อออนไลน์; การจัดการระบบ; ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรม รวมถึงเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารและผู้ดำเนินโครงการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม มี 3 ประเด็น ได้แก่ ผลงานด้านการวิจัยที่ผ่านมา ประเด็นที่สนใจในการศึกษาวิจัย เครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยที่สนใจ ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.93 และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.59 ระบบข้อมูลการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น สามารถจัดเก็บข้อมูลของหน่วยผู้จัดโครงการได้ครบถ้วนมากขึ้น ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร ในการส่งเอกสารและสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในระบบฐานข้อมูลงานวิจัยของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กนิษฐา อินธิชิต, วรปภา อารีราษฎร์, และ จรัญ แสนราช. (2561). การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 83–93.

จิรัชยา นครชัย. (2553). ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ณัฏฐนิช พยนต์ยิ้ม, ปภาอร เขียวสีมา, ลักษิกา สว่างยิ่ง, และ พรพัฒน์ ธีรโสภณ. (2565). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์ม และกูเกิลคาเลนดาร์ในการบริหารจัดการระบบจองห้องเรียน. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(2), 182–192.

บวร คลองน้อย, และ วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศในการทำงานทางทันตแพทย์. วารสารสุขศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 40(2), 147–164.

บัวพรรณ คำเฉลา, และ ศศิวรรณ ส่งต่าย. (2564). การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนให้คะแนนการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 335–347.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2565). โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่). สืบค้นจาก https://pr.nrct.go.th/information-nrct/วช-ร่วมกับเครือข่ายการวิจัย

อัชณี ซาอุรัมย์. (2564). การพัฒนาระบบการรับสมัครฝึกอบรมออนไลน์ของสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(1), 70–81.

อุไร ทองหัวไผ่. (2558). การทดสอบซอฟต์แวร์. วารสารเกษมบัณฑิต, 16(2), 140.

Clark, D. (2003). Instructional system design–analysis phase. Computing in Childhood Education, 1, 3–27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-06-2025

How to Cite

ขนอม ธ. ., & ศรีวรรณ อ. . (2025). การจัดระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(2), e1482. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1482