การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์โดยวิธี Walkley & Black และวิธี Combustion
คำสำคัญ:
อินทรีย์คาร์บอน, ปุ๋ยอินทรีย์, Walkley & Black, Combustion Methodบทคัดย่อ
การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ 30 ตัวอย่าง ระหว่างวิธี Walkley & Black และวิธี Combustion พบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ เท่ากับ 37.46 + 0.07% และ 37.25+0.05% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนกระจายตัวอยู่ในช่วง 35-40%
โดยน้ำหนัก ค่าความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย และค่าความคลาดเคลื่อนของวิธี Walkley & Black จะมีแนวโน้มไปในทางลบมากกว่าทางบวก ในขณะที่วิธี Combustion มีค่ากระจายอย่างสม่ำเสมอทั้งทางบวกและทางลบ เพราะวิธี Walkley & Black เป็นวิธีทางเคมี ใช้หลักการออกซิไดซ์ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้โพตัสเซียม
ไดโครเมต และมีกรดซัลฟูริกเป็นตัวเร่งให้ความร้อนทำให้ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์และไม่สม่ำเสมอมีแนวโน้มน้อยกว่าความเป็นจริงมากกว่าวิธี Combustion ซึ่งให้ความร้อนโดยตรงที่อุณหภูมิ 9oC สามารถเกิดปฏิกิริยาที่สมบูรณ์มากกว่า เห็นได้จากค่าความไม่แน่นอนจากการวัดจากการคำนวณที่น้อยกว่า (0.05% โดยน้ำหนัก) เมื่อนำผลการทดสอบปริมาณอินทรีย์คาร์บอนทั้ง 2 วิธี ไปประเมินด้วยวิธีการทางสถิติแบบ t-Test : Pair Two Sample for Means พบว่าค่า t Stat น้อยกว่า ค่า t Critical สรุปได้ว่าวิธีการทดสอบปริมาณอินทรีย์คาร์บอนด้วยวิธี Walkley & Black และวิธี Combustion ในปุ๋ยอินทรีย์ให้ผลการทดสอบแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จึงสามารถใช้วิธี Combustion โดยใช้เครื่องวิเคราะห์คาร์บอนและไนโตรเจนแบบอัตโนมัติ (CN Analyzer) ทดสอบปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยุ่งยากในการทดสอบน้อยกว่า
References
กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องการขอขึ้นทะเบียน
การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน การขอแก้ไขรายการทะเบียนและการแก้ไขรายการทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์.
ราชกิจจานุเบกษา, 129(59ง), 12–14.
กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2548). ปุ๋ยอินทรีย์: การผลิต การใช้ มาตรฐานและคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชนิดา ศรีสาคร. (2563). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์อินทรีย์วัตถุในดินด้วยวิธี Walkley Black modified acid-dichromate digestion, FeSO4 titration method. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (หน้า 261–268). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ณัฐกร อินทรวิชะ, ศักดิ์ศรี รักไทย, ปราณี ศรีกอบัว, อติรัฐ มากสุวรรณ์, จตุพล คงสอน, และรุจิรา พินใย. (2562). การประยุกต์การวิเคราะห์อินทรีย์วัตถุด้วยวิธี Wet Oxidation อย่างง่ายเพื่อใช้ในภาคสนาม. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร, 3(2), 25–26.
บัญชา รัตนีทู. (2555). ปุ๋ยอินทรีย์กับการปรับปรุงดินเสื่อมสภาพ. วารสารนราธิวาสราชนครินทร์, 4(2), 119–121.
ศุภธิดา อ่ำทอง, ทวี ชัยพิมลผลิน, และชาคริต โชติอมรศักดิ์. (2561). ความสัมพันธ์ของคาร์บอนอินทรีย์โดยวิธีเพอร์แมงกาเนตออสซิไดส์เซเบิลกับอินทรีย์วัตถ์เพื่อเป็นดัชนีคุณภาพของดินปลูกลำไยและดินปลูกข้าว.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(1), 1–10.
สุทธิ์เดชา ขุนทอง, จิราพร สวยสม, สุรเชษฐ์ นาราภัทร์, กมรินทร์ นิ่มนวลรัตน์, และชัยสิทธิ์ วัฒนาวังจงสุข. (2562). ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนที่ถูกออกซิไดซ์จากการใช้วิธีวอร์คเลย์-แบลคหาอินทรีย์คาร์บอนในดินประเทศไทย. แก่นเกษตร, 47(4), 797–808.
George, W., & Latimer, Jr. (2019). Official methods of analysis of AOAC international (21st ed.). Maryland, USA: AOAC International.
Walkley, A., & Black, I. A. (1934). An examination Degtjareff method for determination soil organic matter and propose modification of the chromic acid titration method. Soil Science, 37, 29–38.
Williams, A., & Ellison, S. L. R. (2012). Quantifying uncertainty in analytical measurement (3rd ed.). UK: EURACHEM / CITAC Guide CG4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.