การตรวจสอบกรดซาลิซิลิก (สารกันรา) ในอาหารประเภทผักดองและผลไม้ดอง ในเขตตลาดสดตำบลมะม่วงสองต้น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น
คำสำคัญ:
กรดซาลิซิลิค การปนเปื้อน ผักและผลไม้ดองบทคัดย่อ
งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งจำหน่ายกรดซาลิซิลิค รวมถึงแหล่งจำหน่ายขายส่งผักและผลไม้ดอง พร้อมทั้งทดสอบการปนเปื้อนของกรคชาลิซิลิค ในตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอพระพรม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาทดสอบ ได้แก่ผักดอง 5 ชนิด (ขิง ผักกาด หน่อไม้ กระเทียม และหัวไชโป๊ะ) และผลไม้ดอง 5 ชนิด (องุ่น มะม่วง มะดัน มะยม และมะขามดอง) โดยนำตัวอย่างทั้งหมดมาทดสอบหาการปนเปื้อนของกรคซาลิซิลิค ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น จากการศึกษาพบว่า กรดซาลิซิลิคมีจำหน่ายโดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีชื่อเรียกทางการค้าว่าสารกันบูดหรือสารกันรา
มีชื่อทางเคมี คือ โซดียมเบนโซเนต และโซดียมโปรปี โอเนต ซึ่งแหล่งจำหน่ายขายส่งผักเละผลไม้ดองที่สำรวจนั้น พ่อค้าแม่ค้ารับมาจากแหล่งจำหน่ายขายส่งตลาดหัวอิฐ เมื่อทำการสุ่มตรวจตัวอย่างพบการปนเปื้อนในผักและผลไม้ดอง คิดเป็นร้อยละ 51.14 และ 60.00 จะเห็นได้ว่าพบการปนเปื้อนกรดซาลิซิลิตทั้งในผักเละผลไม้ดอง เนื่องจากในกระบวนการหมักดองจำเป็นต้องเติมสารเคมีลงไปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น
References
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (26 สิงหาคม 2565). สารพิษในอาหาร. งานวิจัย...ใช้ได้จริง. สืบค้นจาก http://drug.pharmacy.psu.ac.h/Question.asp
เคมีอุตสาหกรรม. (26 สิงหาคม 2565). กรดซาลิซิลิ (salicylic acid). สืบค้นจาก https://www.siamchemi.com
ณัฐจรีย์ จิรัคกุล และคณะ. สารตกค้างในผักที่วางจำหน่ายในต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติครั้งที่ 6. 424-427.
นภาพร เชี่ยวชาญและคณะ. โครงการศึกษารูปแบบการจัดการความปลอดภัยอาหารกลุ่มผักและผลไม้กรณีสารเคมีเจือปนในอาหาร. ศูนย์ศึกษาระบบความปลอดภัยอาหารและโภชนาการสถาบันคลังสมองของชาติ.(RD001)01 22-25.
นิชนันท์ ธรรมวัฒน์. (26 สิงหาคม 2565). ซาลิซิลิก...กรดร้ายอันตราย...ตายผ่อนส่ง. รู้จักกินรู้จักใช้ได้ประโยชน์. สืบค้นจาก http:l/ecurriculum.my.ac.th
เรนู จุลศรี. อันตรายแฝงในอาหาร. Rชีววารสาร. 3(2) 2.
ศากุน เอี่ยมศิลา และคณะ. สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไทย เอกสารเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพ. 8(6) 1-4.
อัษฏาวุธ บังชุม. อันตรายที่เจือปนอยู่ในอาหาร. Rชีววารสาร. 3(2) 6-8.
National Food Institute. (28 สิงหาคม 2565). สารกันบูดในน้ำตองผัก. สืบค้นจาก https://oryor.com/oE0%B8%
AD%E0B89A2/detailmedia printing/848
Nfitr966. (28 สิงหาคม 2565). สารกันบูดในน้ำผักดองผลไม้ดอง. สืบค้นจาก http://www.blogth.com/blog/
Colum/Helth/4583.html กันยายน),6-8
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.