ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ความรู้ทางโภชนาการ, นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ทางโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณะสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล แบบแจกแจงความถี่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ทางโภชนาการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
References
จุฑามาศ เมืองมูล และรุ่งรัศมี อาจศัตรู. (2562). พฤติกรรมการรับประทานอาหารหลังเลิกเรียนของนักเรียนโรงเรียนดอย
หลวงรัชมังคลาภิเษก ตำบลโชคชัย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2
พิษณุโลก 2562:,6 (ฉบับที่ 1) : 37-47.
บุญเรือง ชัยสิทธิ์. (2551). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุข
ศาสตร์มหาบัณฑิต) สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
ปุรินทร์ ศรีลักษณ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล
เครือข่ายภาคกลางสถาบันพระบรมราชชนก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล;
11
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
วารสารวิทยาการจัดการ. 3(1). 109-116. ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
กรุงเทพฯ:นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
รุสนี มาตาเยะ. (2550). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวมุสลิมในชนบท: กรณีศึกษาพื้นที่ในความรับผิดชอบของศูนย์
สุขภาพชุมชนบ้านแหร ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา. ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาธารณสุข).
วิทยาการสาธารณสุขสิรินธรยะลา.
วิภาวี ปั้นนพศรี. (2550). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของประชากรในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). ภาควิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
สุวรรณา เชียงขุนทด. (2556). ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนภาษีเจริญ. รายงานวิจัยเขตภาษีเจริญ.
กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565
Feldman, Robert H. L. (1983). Comunicating Nutrition to High School StudentIn Kenya. the Journal of
School Health. 53(2) :140-143.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.