การพัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาเคมี โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์มัธยม
คำสำคัญ:
การคิดวิเคราะห์, การเรียนรู้แบบกระตือรือร้นบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น ของครูผู้สอน และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นร้อยละของเคอร์ลิงเจอร์ แบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบฝึกหัด แบบสังเกตการสอน แบบประเมินความเหมาะสมแผนการสอน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการทดสอบค่าที (t-dependent) คะแนนพัฒนาการ และคะแนนนพัฒนาการสัมพัทธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.64 และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 59.24 โดยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์สูงสุดอยู่ที่ 100.00 คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ต่ำสุดอยู่ที่ 25.00 2) การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการคิด ซึ่งจากการเปรียบเทียบการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3) คะแนนประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ E1/ E2 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้นี้ ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จัมมวล สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ฐิตนา เข็มมณี และคณะ. (2544). วิทยาศาสตร์ทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
พงศ์เทพ จิระโร. (2567). งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. นครนายก: มหาวิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา.
วัชระ เลาหเรี่ยดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. นครปฐม: กลุ่มการพิมพ์เพชรเกษม.
ศักดา ไชยกิจภิญโญ. (2548). วิธีการสอน (Active Learning). วารสารนวัตกรรมการสอน, 2(2), 1.
สมบัติ กาญจนารักษ์พงศ์. (2002). เทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน. กรุงเทพฯ: ธนอักษร.
สัญญา ภัทรากร. (2542). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบแอคทีฟที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาระดับมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริพร มโนพิชาเอดวัฒนะ. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในรูปแบบการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เรื่อง ร่างกายของมนุษย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุวิทธ์ มูลคำ. (2007). กลยุทธ์การสอนเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นท์.
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman.
Bloom, B.S.. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
Bonwell, Chareles c., and James. A. Eison. (1991). Active Learning; Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No.1. Washington, D. C. The George Washington University, School of Education and Human Development.
Mayers, C. and Jones, T. (1993). Promoting active learning: strategies for the college classroom. San Francisco: Jossey-Bass
Ministry of Education..(2553).. Basic Education Core Curriculum.. Buddhist era 2551 Printed No.3. Bangkok.: Jammuang Printing House Agricultural Cooperative of Thailand. Ltd.
Phongthep Jiraro. (2567). Research to develop learning Nakhon Nayok: St. Teresa International University
Sakda Chaikitpinyo. (2548). How to teach (Active Learning). Journal of teaching innovation. Vol. 2 No. 2 (2548) : 1.
Sanya Phattarakorn. (2542). The effects of organizing active learning on problem solving and mathematical communication abilities of mathayomsuksa iii students in probability. Master of Education Degree in Secondary Education at Srinakharinwirot University.
Siriporn Manopischaedwatthana. (2547). Development of an integrated science teaching and learning management model that emphasizes learners' participation in active learning on the human body. Educational thesis, Doctor of Philosophy, Graduate School Srinakharinwirot University.
Sombat Kanchanarakphong. (2002). Teaching techniques for students to develop thinking skills. Bangkok: Than Aksorn.
Suwit Munkham. (2007). Analytical teaching strategies. (4th printing). Bangkok: Prints.
Thitana Khaemmanee et al. (2544). Cognitive science. Bangkok: Academic Quality Development Institute.
Watchara Laoriandee et al. (2560). Proactive learning strategies to develop thinking and improve quality Education for the 21st Century. Nakhon Pathom : Phetkasem Printing Group.