การพัฒนาความรู้ความเข้าใจวิชาวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิคสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es สำหรับนักเรียนโรงเรียนอินเตอร์ทอทส์ ไตรลิงกวล
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, เทคนิคสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es, ความรู้ความเข้าใจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีการเก็บข้อมูลจากนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอินเตอร์ทอทส์ ไตรลิงกวล จำนวน 19 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ระหว่างเดือนมิถุนายน 2566 – เดือนกันยายน 2566 มีการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน มีการเก็บคะแนนในแต่ละแผนครั้งละ 10 คะแนน และมีคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ รวม 30 คะแนน มีการสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้
คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอินเตอร์ทอทส์ ไตรลิงกวล จำนวน 19คน พบว่านักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 74.35 และโดยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์สูงสุดอยู่ที่ 94.12 (นักเรียนจำนวน 1 คน) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ต่ำสุดอยู่ที่ 52.38 (นักเรียนจำนวน 1 คน)
การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิคสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es เปรียบเทียบการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 คะแนนประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ E1/E2 พบว่าค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้นี้ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้ แปลความได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการสอนฉบับนี้มีประสิทธิภาพในระดับดีมาก สามารถนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีพัฒนาความรู้ความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิคสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอินเตอร์ทอทส์ ไตรลิงกวล ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.86
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของนักเรียนต่อวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีพัฒนาความรู้ความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิคสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอินเตอร์ทอทส์ ไตรลิงกวล พบว่าค่าเฉลี่ย รวมอยู่ที่ 4.88
References
ภาษาไทย
กิติมา ปรีดีดิลก. (2520). ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ประเสริฐการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่13). กรุงเทพฯ: สุทธาการพิมพ์.
พงศ์เทพ จิระโร (2566). เอกสารคำสอน วิชาการวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ Research for Learning Development. คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
รสิตา รักสกุล. (2557). สัมฤทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยใช้ Active Learning ของนักศึกษาในรายวิชาการบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ (1325 - 1333). มหาวิทยาลัยรังสิต.
ราชบัณฑิต.(2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์ พับลิเคชั่น.
ศิพล รื่นใจชน. (2549). ความรู้ความเข้าใจในสิทธิของประชาชนเกี่ยวกับธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยายนต์ศึกษากรณี ประชาชนหมู่ 1 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบัญชี). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมิตตา พูลสุขเสริม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (active learning) ของผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาดวิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
อับดุลเลาะ อูมาร์ ณัฐินี โมพันธุ์ อาฟีฟี ลาเต๊ะ และอุสมาน สารี. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมี ที่มีต่อแบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30(1), 181-194.
English
Abdulloh Umar, Natthinee Mophan, Afifi Lateh, & Usman Sari. (2019). The effects of inquiry-based learning (5Es) on chemical equilibrium concepts, learning achievement, and satisfaction of Grade 11 students. Journal of Education, Prince of Songkla University, 30(1), 181-194. [In Thai]
Department of the Royal Academy. (1999). Royal Institute Dictionary B.E. 2542 (1999). Bangkok: Nanmee Books Publications.
Department of the Royal Academy. (2015). Contemporary Educational Terminology Dictionary, Royal Institute Edition. Bangkok: Office of the Royal Society.
Gitima Preedidilok. (1977). Philosophy of Education. Bangkok: Prasert Printing.
Phongthep Jiraro. (2023). Lecture Notes on Research for Learning Development. Faculty of Education, St. Theresa International College. [In Thai]
Phop Laohapaiboon. (1999). Science Teaching Methods (Revised Edition, 3rd Printing). Bangkok: Thai Watthana Phanit Printing House.
Rasita Raksakul. (2014). Effectiveness of integrated learning management using active learning among students in Modern Management and Leadership courses at King Mongkut’s University of Technology Thonburi. Proceedings of the National Academic Conference, 1325 - 1333. Rangsit University. [In Thai]
Sipon Ruenjaichon. (2006). Knowledge and understanding of people's rights regarding automobile and motorcycle hire-purchase businesses: A case study of Moo 1 residents, Tha Makham Subdistrict, Mueang District, Kanchanaburi Province. (Master’s Thesis in Accounting). Graduate School, Burapha University. [In Thai]
Sumitta Phulsuksom. (2016). The development of learning achievement and learning behavior through active learning management of third-year vocational certificate students in the Marketing Program, Santirat Vocational College under Royal Patronage. Bangkok: Santirat Vocational College under Royal Patronage. [In Thai]
Tissana Khammani. (2010). The Science of Teaching: Knowledge for Effective Learning Process Management (13th edition). Bangkok: Sutha Printing. [In Thai]