การพัฒนาทักษะการหาเหตุ-ผลจากการทดลอง ด้วยรูปแบบ Question Method ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารีวิทยาศรีมโหสถ

ผู้แต่ง

  • กิตติภณ พูลสวัสดิ์ โรงเรียนมารีวิทยาศรีมโหสถ

คำสำคัญ:

ทักษะการหาเหตุ-ผลจากการทดลอง, Question Method, โรงเรียนมารีวิทยาศรีมโหสถ

บทคัดย่อ

                      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจจากการหาเหตุ-ผลจากทดลอง โดยการสอนรูปแบบQuestion Method ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารีวิทยาศรีมโหสถ, เพื่อพัฒนาทักษะการสอนด้วยรูปแบบ Question Method ของครูวิชาวิทยาศาสตร์ และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจระหว่างก่อนเรียน กับหลังเรียนของนักเรียน โดยเก็บข้อมูลวิจัยจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 27 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน เก็บคะแนนในแต่ละแผนครั้งละ 10 คะแนน และมีคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ รวม 30 คะแนน สรุปผลการวิจัย พบว่ามีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ค่าเฉลี่ย = 65.87 โดยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์สูงสุด=100.00 คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ต่ำสุด=5.00  ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน กับหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้  E1/ E2 พบว่าค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีประสิทธิภาพในระดับดีมาก และพบว่าค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการสอนด้วยรูปแบบ Question Method โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด = 4.81  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กุลชญา พิบูลย์. (2561). ผลของการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสร้างข้อโต้แย้งโดยใช้แผนผังออนไลน์ร่วมกับแท็กคลาวค์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษา

ตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงไกร อภัยวงศ์. (2548). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการตั้งสมมติฐานนิรนัยที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลชิงวิทยาศาสตร์และมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. (2542). แนวคิดทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูพระนคร.

ชานนท์ คำปีวทา. (2559), การพัฒนาการให้เหตุผลชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างข้อได้แย้ง, (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมมณี. (2552) . รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ ฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์เทพ จิระโร. (2566). เอกสารประกอบการสอนการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป: วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา: นครนายก.

ภคพร อิสระ. (2557). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการ โต้แย้งร่วมกับเทคนิคการ

เรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารกในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราวรรณ ไชยมงคล, สกนธ์ชัย ชนะนูนันท์ และจินตนา กล่ำเทศ. (2560). "การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสืบเสาะ ที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธี การโต้แย้ง," วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 8(1),27-40.

English

Chaikamon, K. (2016). Development of scientific reasoning through argument-based instructional design. (Master’s thesis in Education). Naresuan University.

Chanthep, C. (1999). Scientific concepts. Bangkok: Pranakorn College of Education.

Jiraroh, P. (2023). Teaching materials for research data analysis using statistical software. St. Theresa International College: Nakhon Nayok.

Kammani, T. (2009). Alternative instructional models (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Khibun, K. (2018). The effects of argumentation-based instruction using online concept mapping and tag cloud on high school students’ scientific reasoning ability. (Master’s thesis in Education). Chulalongkorn University, Bangkok.

Kraiwong, K. (2005). The effects of hypothesis-deductive learning cycle on scientific reasoning and conceptual understanding in biology among high school students. (Master’s thesis in Education). Chulalongkorn University, Bangkok.

Ministry of Education. (2002). Handbook on teaching and learning in the science subject group. Bangkok: Organization for Cargo and Parcel Delivery Printing House.

Pakaporn, I. (2014). The effects of inquiry-based instruction combined with argumentation and cooperative learning techniques on chemistry learning achievement and scientific reasoning ability of high school students in regional science schools. (Master’s thesis in Education). Chulalongkorn University, Bangkok.

Phatarawan, C., Sakonchai, C., & Jintana, K. (2017). "Developing scientific reasoning on stoichiometry through inquiry-based learning driven by argumentation strategies," Journal of Science, Technology, and Environmental Learning Research Unit, 8(1), 27-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-28