แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ แบบการส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของครูในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

สุนันทา ซื่อสัตย์

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของครูในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของครูในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของครูในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวน 313 คน กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า: 1) การพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของครูในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการกำหนดนโยบายการปฏิบัติ ด้านการประเมินนโยบายในการปฏิบัติ และด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของครูในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การปรับตัวเข้าร่วมกิจกรรม (X4) การปรับตัวด้านอารมณ์แต่ละบุคคล (X3) และการปรับตัวด้านการเรียน (X1) ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425 .278 และ .044 ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ พบว่า 1) ควรเป็นหลักสูตรที่สนองตอบต่อสังคมในอนาคตและความต้องการของผู้เรียน 2) คนรุ่นใหม่มีความคิดและความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากโซเชียลมีเดีย 3) สนับสนุนการเรียนรู้ เช่น ลานกิจกรรม และลานสุขภาพอนามัย เป็นต้น 4) ครู และผู้ปกครองก็ต้องปรับบทบาทมาเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้มากกว่าเป็นผู้สอน 5) การเรียนการสอนจะมีลักษณะการผสมผสานหลากหลายวิธี (Blended Learning) ตามความต้องการของผู้เรียนและสังคม 6) สามารถในการยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลง (Resilience and Flexibility) 7) นำนโยบายของสถานศึกษาเป็นกรอบสนับสนุนการจัดการศึกษาที่ให้แนวปฏิบัติที่ชัดเจน 8) การวัดผลเพื่อเน้นพัฒนาการ (Formative Evaluation) ที่นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ 9) ประเมินออก วิเคราะห์ข้อบกพร่องและศึกษาเพิ่มได้จากเอกสารหรือสื่อในประเด็นต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window(พิมพ์ครั้งที่ 12).กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

จิรพล ระวังการ. (2555). การพัฒนาชุดฝึกแบบผสมผสานเรื่องการบริการของอาสาสมัคร องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ครุศาสตรอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พรินติ้ง เฮ้าส์.

ธัญวดี กำจัดภัย และ เกศรินทร์ สมราช. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อสร้างเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสารผ่านเว็บบล็อก สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 24(3), 169 – 179.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์

วงศ์.

ศิรยศ มหาขันธ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้งานระบบจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องบนแพลตฟอร์มออนไลน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิธร ลักษณะ. (2554). การศึกษารูปแบบการพัฒนาเว็บฝึกอบรมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP เพื่อเพิ่มสมรรถนะครูผู้สอนภายใต้โครงการไทยคิดคอม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและผู้เรียนในการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ : สกศ.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.