https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/issue/feed วารสารสิทธิ์ทรรศน์ 2025-03-31T17:36:05+07:00 Dr.Boonpeng Sittivongsa sitthat.journal@gmail.com Open Journal Systems <p><strong> นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสาร สิทธิ์ทรรศน์ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ พระพุทธศาสนา ปรัชญา มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย</p> <p><strong> กระบวนการพิจารณาบทความ :</strong> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double- blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ :</strong><strong> </strong>บทความวิจัย, บทความวิชาการ, และหรือบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong><strong>: </strong>ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก :</strong><strong> </strong>วารสารตีพิมพ์ 4 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม</p> <p>ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p>ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ :</strong> ยังไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</p> <p><strong>การติดต่อประสานงานและส่งบทความเผยแพร่ :</strong><strong> </strong></p> <ol> <li>สอบถามรายละเอียดเบื้องต้น เช่น รอบการเผยแพร่ หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ เป็นต้น โทร.093 5602069, 098 5865276</li> <li><a href="https://docs.google.com/document/d/1FwBHh13icZAJtUMutvXbJnNYcWw00eN4/edit?usp=drive_link&amp;ouid=118374224778330717600&amp;rtpof=true&amp;sd=true">Clik คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/1QVwkgBXcpj6dRFc6lqsUehqOggQfrIc6/view?usp=drive_link">Clik เทมเพลตบทความวิจัย</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/1ofiH1lMlvrXUnz1jxODav-jZXZ6qdnE9/view?usp=drive_link">Clik เทมเพลตบทความวิชาการ</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/1FfATOd7-_yVta0cC_Re89Yjxytf6TcSV/view?usp=drive_link">Clik เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ</a></li> <li><a href="https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/">Clik ลงทะเบียนวารสาร และส่งบทความในวารสาร</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/13r7G41Uljscfkp4cHYfkqzRTDqWjMXzP/view?usp=drive_link">Clik แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a></li> <li><a href="https://forms.gle/71t4w1n8rzj7bFXbA">Clik ลงทะเบียนส่งบทความ</a></li> <li><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">สแกนไลน์ กลุ่มวารสารสิทธิทรรศน์เพื่อการติดต่อประสานงานการเผยแพร่บทความ</span></span></span></span></li> </ol> https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/1693 การบริหารจัดระบบราชการในยุค AI 2025-03-31T16:20:10+07:00 มะลิ ทิพพ์ประจง thipprajongmali@gmail.com พระครูเกษมวัชรดิตถ์ thipprajongmali@gmail.com พระใบฏีกาสุชิณนะ อณิญฺชิโต thipprajongmali@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp;การบริหารจัดระบบราชการในยุค AI เป็นหัวข้อที่น่าสนใจและท้าทายเนื่องจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการในหลายภาคส่วน รวมถึงระบบราชการของภาครัฐด้วย การนำ AI เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดภาระงานที่ซับซ้อนแต่การบริหารจัดการระบบราชการในยุค AI ก็มีข้อควรระวังอยู่ในเรื่องของ จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่นที่จะมีการนำมาเปิดเผยที่จะส่งผลให้เกิดข้อเสียหายได้ถึงแม้ระบบ AI จะมีความทันสมัยแต่ก็มีควรที่จะต้องระวังในเรื่องดังกล่าวด้วยในการตัดสินใจเป็นไปอย่างแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/1695 รัฐบาลกับการเมืองไทยในอนาคต 2025-03-31T17:04:12+07:00 พระครูวิรุฬห์วัชรธรรม thipprajongmali@gmail.com มะลิ ทิพพ์ประจง thipprajongmali@gmail.com มณีวรรณ จันทร์ดี thipprajongmali@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเปลี่ยนของสังคมย่อมส่งผลให้ทุกประเทศในโลกนี้ต้อง พยายามสร้างความมั่นคงของประเทศตนเองให้มีความทันสมัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยก็ถือว่าต้องประสบกับสถานการณ์ดังกล่าวเบื้องต้นในการที่รัฐบาลหรือคณะผู้ที่จะเข้ามาบริหารดำเนินทางการเมืองก็ต้องมุ่งที่จะสร้างการเมืองที่มีความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับของประชาชนในประเทศและต่างประเทศ การเมืองไทยในยุคอนาคตผู้นำต้องมีความสามารถและมีความเก่ง ฉลาดสามารถที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่การแข่งขันในทุกมิติทั้งด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีเทคโนโลยี ภาษาต่างๆได้อย่างทันต่อสถานการณ์ของโลก สังคมต้องมีความเท่าเทียมเสมอภาค ความยุติธรรมการเข้าถึงการดูแลแก้ไขปัญหาต้องเสมอภาคเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพศหรือการถูกปฏิบัติก็ต้องไม่ลิดรอนสิทธิคนอื่นและคนนอกประเทศด้วยการเมืองต้องปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น สามารถตรวจสอบได้ทุกเวลาที่มีปัญหาได้อย่างชัดเจนโปร่งใส</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/1696 แนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัย ตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่ 2025-03-31T17:13:41+07:00 พระครูโอภาสธรรมรักษ์ (ชินกร เจียระนัย) Ladyhappylife88@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทแนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัยตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่ 2) เพื่อศึกษาระดับแนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัยตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัยตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 20 รูป/คน ประกอบด้วยพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญและมีองค์ความรู้เกี่ยวกับ&nbsp; แนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในเขตจังหวัดสุโขทัยตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้านการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัยตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่ตลอดจนระดับแนวทางทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัยตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่</p> <ol> <li class="show">การศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัยเน้นให้ความสำคัญในด้านการศึกษาทางปริยัติธรรมแผนกบาลีศึกษา เช่น โครงการ 1 ตำบล 1 มหาเปรียญ และแนวทางการพัฒนาในด้านการศึกษาคณะสงฆ์เป็นไปในทางที่ดี ทำให้พระสงฆ์สามเณรได้รับการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างทั่วถึง</li> <li class="show">ด้านบูรณาการยุคใหม่ที่ส่งผลต่อกระบวนการแนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ให้มีความสะดวกสบายในการเผยแพร่ธรรมะทางเทคโนโลยีและประชาชนสามารถร่วมบุญได้อย่างทั่วถึงโดยการใช้เทคโนโลยีทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงธรรมะได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา ซึ่งเป็นการตอบรับที่ดีทั้งความร่วมมือจากคณะสงฆ์ทุกฝ่ายเป็นอย่างดี</li> <li class="show">การจัดแข่งขันด้านการบริหารของคณะสงฆ์ ตำบลแต่ละอำเภอ โดยเน้นการศึกษาเป็นหลัก เช่นด้านความรู้ความสามารถ จัดให้มีการอบรม เช่นค่ายพุทธบุตร และการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ พระธรรมเทศนาขั้นพื้นฐาน เพื่อการเติบโตในอนาคตต่อไป และมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านออนไลน์ ผสมผสานแบบเดิม และแบบออนไลน์เป็นต้น</li> <li class="show">มีการส่งเสริมแนะนำแนะแนวให้ผู้มีความรู้ความสามารถ ต่อยอดเข้าถึงพระธรรมได้ในระดับต้น จนถึงระดับสูงได้ โดยจัดโครงการอบรมการใช้สื่อออนไลน์ อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ทันยุคทันสมัยตามสถานการณ์</li> <li class="show">แนวทางการพัฒนาบทบาท ของพระสงฆ์ ตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่ มีหลักการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย ทำให้พระสงฆ์ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการเผยแผ่ธรรมะให้ทันกับยุคสมัย ส่วนพระสงฆ์ที่สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีทางคณะสงฆ์จัดโครงการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการศึกษา ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น</li> <li class="show">ส่งเสริมให้พระสงฆ์ศึกษาด้านกฎระเบียบของสงฆ์เพิ่มเติม ตามหลักการจัดการองค์การยุคใหม่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในข้อกฎหมายมากยิ่งขึ้น แต่ยังขาดทุนทรัพย์ ที่จะสนับสนุน เช่นอุปกรณ์ บุคลากร ที่จะส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้กับพระสงฆ์ไม่เพียงพอ เป็นต้น</li> </ol> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/1698 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย ยุคดิจิทัลในเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3 จังหวัดบุรีรัมย์ 2025-03-31T17:20:44+07:00 สุนันทา ซื่อสัตย์ nongsano36@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ &nbsp;1) เพื่อศึกษาระดับการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัยยุคดิจิทัลในเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3 จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวน 313 คน กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า: &nbsp;1) ระดับการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัยยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง &nbsp;2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัยยุคดิจิทัล ได้แก่ การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ (X1) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียม (X4) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย (X3) และ การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา (X6) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 1.225 .850 .700 และ .463 ตามลำดับ และ 3) แนวทางการประกอบไปด้วย (1) สร้างความชัดเจนของนโยบายและจุดเน้นไปปฏิบัติ (2) กำหนดเป้าหมายการแก้ไขปัญหาของการนำนโยบายและจุดเน้นไปปฏิบัติ (3) กำหนดขั้นตอนและแผนการปฏิบัติ (4) สถานศึกษาได้นำนโยบายและจุดเน้นไปปฏิบัติอย่างจริงจัง (5) มีการติดตามประเมินผลในกระบวนการที่สอดคล้องโดยตรงกับนโยบายและจุดเน้นตามมาตรฐาน (6) จัดทำโครงการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ สอดคล้องกันอย่างชัดเจนของกระบวนการ และประเมินนโยบายอย่างสม่ำเสมอ (7) ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการนำนโยบายและจุดเน้นไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง (8) วางแผนให้สถานศึกษามีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นลและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินผล สรุปรายงาน (9) รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรม ในการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัยยุคดิจิทัลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และ (10) วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหาของนักเรียนอย่างเหมาะสม</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/1700 ปัจจัยความพึงพอใจต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวของประเทศไทยในภาคตะวันออก 2025-03-31T17:29:16+07:00 องอาจ ชวาลวิวัฒน Ladyhappylife88@gmail.com คณิศร สมมะลวน Ladyhappylife88@gmail.com ทัดฐ์สพล นนท์ทวีกิจ Ladyhappylife88@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความสำคัญความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวของประเทศไทยในภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์ความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวของประเทศไทยในภาคตะวันออก 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่มีผลต่อความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวของประเทศไทยในภาคตะวันออก โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ผลการ</strong><strong>วิจัยพบ</strong><strong>ว่า</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สภาพปัญหาและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวในภาคตะวันออก มีน้ำหนักเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.11, S.D. = 0.93) โดยเฉพาะด้านวิถีชีวิต (ค่าเฉลี่ย = 3.19, S.D. = 1.01) ด้านคุณค่า (ค่าเฉลี่ย = 3.14, S.D. = 0.90) และด้านคุณภาพชีวิต (ค่าเฉลี่ย = 3.12, S.D. = 0.85) ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของเรือหางยาวในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน อย่างไรก็ตาม ด้านประสบการณ์มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.02, S.D. = 0.95) ในด้านการอนุรักษ์ มีน้ำหนักเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.13, S.D. = 0.83) โดยด้านการรับรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.16, S.D. = 0.83) และการส่งเสริม (ค่าเฉลี่ย = 3.13, S.D. = 0.86) มีผลสำคัญที่สุด ในขณะที่ด้านการปฏิบัติมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.10, S.D. = 0.81) ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ระดับความพึงพอใจต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.09, S.D. = 0.94) โดยการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.10, S.D. = 0.98) รองลงมาคือการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 3.11, S.D. = 0.89) และคุณภาพของสิ่งแวดล้อมที่ เกี่ยวข้อง (ค่าเฉลี่ย = 3.10, S.D. = 0.98) ด้านความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.02, S.D. = 0.96) การวิเคราะห์เชิงสถิติพบว่าระดับการศึกษามีผลต่อความพึงพอใจต่อการอนุรักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) ในขณะที่เพศ อายุ และอาชีพไม่มีผลแตกต่างกัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับข้อเสนอแนะสำคัญที่มีผลต่อความพึงพอใจที่ ส่งผลต่อการอนุรักษ์เรือหางยาวของประเทศไทยในภาคตะวันออก คือการส่งเสริมการรับรู้ในระดับชุมชนและ ประเทศ ผ่านการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม เช่น การแข่งขันเรือยาว และการสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น และรัฐ เพื่อพัฒนาและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรือหางยาวในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติอย่างยั่งยืน</p> <p>&nbsp;</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/1701 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมรูปแบบการเรียน แบบสะเต็มศึกษา 2025-03-31T17:36:05+07:00 ธีรภัทร โคตรบรรเทา teerapat.kho@neu.ac.th ปิยวรรณ โคตรบรรเทา teerapat.kho@neu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) ให้มีนักเรียนจำนวนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) รายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มที่ 2 &nbsp;สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์&nbsp; ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.637&nbsp; 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบSTEM เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จากจำนวนนักเรียน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเด็กทั้งหมด มีคะแนนการประเมินผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม (2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76 ,S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( &nbsp;= 4.8 ,S.D.= 0.45) ด้านบรรยากาศในการเรียน ( = 4.76,S.D.= 0.53) และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( = 4.72,S.D.= 0.62) ตามลำดับ</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย