วารสารสิทธิ์ทรรศน์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT
<p><strong> นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสาร สิทธิ์ทรรศน์ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ พระพุทธศาสนา ปรัชญา มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย</p> <p><strong> กระบวนการพิจารณาบทความ :</strong> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double- blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ :</strong><strong> </strong>บทความวิจัย, บทความวิชาการ, และหรือบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong><strong>: </strong>ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก :</strong><strong> </strong>วารสารตีพิมพ์ 4 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม</p> <p>ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p>ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ :</strong> ยังไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</p> <p><strong>การติดต่อประสานงานและส่งบทความเผยแพร่ :</strong><strong> </strong></p> <ol> <li>สอบถามรายละเอียดเบื้องต้น เช่น รอบการเผยแพร่ หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ เป็นต้น โทร.093 5602069, 098 5865276</li> <li><a href="https://docs.google.com/document/d/1FwBHh13icZAJtUMutvXbJnNYcWw00eN4/edit?usp=drive_link&ouid=118374224778330717600&rtpof=true&sd=true">Clik คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/1QVwkgBXcpj6dRFc6lqsUehqOggQfrIc6/view?usp=drive_link">Clik เทมเพลตบทความวิจัย</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/1ofiH1lMlvrXUnz1jxODav-jZXZ6qdnE9/view?usp=drive_link">Clik เทมเพลตบทความวิชาการ</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/1FfATOd7-_yVta0cC_Re89Yjxytf6TcSV/view?usp=drive_link">Clik เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ</a></li> <li><a href="https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/">Clik ลงทะเบียนวารสาร และส่งบทความในวารสาร</a></li> <li><a href="https://drive.google.com/file/d/13r7G41Uljscfkp4cHYfkqzRTDqWjMXzP/view?usp=drive_link">Clik แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a></li> <li><a href="https://forms.gle/71t4w1n8rzj7bFXbA">Clik ลงทะเบียนส่งบทความ</a></li> <li><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">สแกนไลน์ กลุ่มวารสารสิทธิทรรศน์เพื่อการติดต่อประสานงานการเผยแพร่บทความ</span></span></span></span></li> </ol>
ดร.บุญเพ็ง สิทธิวงษา
th-TH
วารสารสิทธิ์ทรรศน์
3057-1057
<ul> <li>บทความนี้</li> </ul>
-
การบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/2108
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลนครขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลนครขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประชาชนผู้มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 378 คน กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน เครื่องมือใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น ประกอบการอภิปรายผล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยคัดเลือก และจําแนกข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ จัดทําบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนําข้อมูลไปเขียนเป็นรายงาน</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า : 1) สภาพการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลนครขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.04, S.D=.38) พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสั่งการ ด้านการวางแผน และด้านการควบคุม ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลนครขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นการ โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ ด้านการปกครองX<sub>5</sub> ด้านการทำงานX<sub>3</sub> ด้านความสัมพันธ์X<sub>1</sub> ด้านการบริหารงานX<sub>2</sub> ด้านการทำงานเป็นทีมX<sub>4</sub> มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .133, .255, .774, .910, -.376 ตามลำดับ และ 3) จำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารการบริหารจัดการในการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง จัดเตรียมแผนรองรับแนวทางการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารความเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารจัดการ ที่มีการเปลี่ยนแปลงความสำคัญในการบริหารการจัดการที่ได้ทำไปแล้วนั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์ ชี้แนะ และติดตามตรวจสอบการทำงานตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แยกแยะปัญหาในการตัดสินใจ โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหาแนวทางการบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารอย่างเหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p>
ชไมพร อ่อนสะอาด
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/issue/view/178
2025-06-30
2025-06-30
3 2
106
117
-
ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครู ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/2109
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเขิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครู (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครู และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครูในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน และกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ได้แก่ ผู้บริการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่และร้อยละ สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบการอภิปรายผล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา แล้วนําข้อมูลไปเขียนเป็นรายงาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า: 1) ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครูในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับปานกลาง อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.01, S.D=0.58) พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เห็นควรพัฒนา ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และด้านการวางแผน ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครูในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.06, S.D=0.52) พิจารณาเป็นรายด้านดังนี้ ปัจจัยด้านความโปร่งใสการให้บริการ ( =3.05, S.D=0.64) ปัจจัยด้านความสุภาพของบุคลากร ปัจจัยด้านความรวดเร็วการให้บริการ ปัจจัยด้านความสามารถของบุคลากร และปัจจัยด้านความถูกต้องของข้อมูล ตามลำดับ และ (3) จำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 อย่างจริงจัง จัดเตรียมแผนรองรับแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ที่มีทางการพัฒนาประสิทธิผล โดยคำนึงถึงการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญ ชี้แนะ และติดตามตรวจสอบการทำงานแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครู และการประเมินทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการครูอย่างมีประสิทธิผล</p>
สุนันทา ซื่อสัตย์
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/issue/view/178
2025-06-30
2025-06-30
3 2
118
131
-
บทบาทหน้าที่ผู้นำชุมชนในศตวรรษที่ 21 ในเขตท้องที่อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/2110
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ผู้นำชุมชนในศตวรรษที่ 21 (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ผู้นำชุมชนในศตวรรษที่ 21 และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาบทบาทหน้าที่ผู้นำชุมชนในศตวรรษที่ 21 ในเขตท้องที่อําเภอกุมภวาปี จังหวัดยอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 359 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐและปราชญ์ชุมชน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ประกอบการอภิปรายผล ผลการวิจัยพบว่า: (1) บทบาทหน้าที่ผู้นำชุมชนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านขับเคลื่อนแผนชุมชน ด้านขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านการส่งเสริมทุนชุมชน ด้านส่งเสริมวิถีชีวิตชุมชน ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ด้านส่งเสริมอาชีพชุมชน และด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ผู้นำชุมชนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการแก้ไขปัญหา (X4) ด้านความรับผิดชอบ (X3) และด้านการวางแผน (X2) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .730 .348 และ .236 ตามลำดับ และ (3) จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมบทบาทหน้าที่ให้กับผุ้นำชุมชนในเรื่องการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ การอบรม การสร้างรายได้กับชุมชน การบริหารจัดการที่พึงประสงค์ ความเอาใจใส่ การปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ การปฏิสันฐานต่อลูกบ้านและชาวบ้านต่างถิ่น ตลอดถึงการบริหารจัดการที่ทั่วถึงทั้งประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมเพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทิภาพ</p>
ธวัช ทะเพชร
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/issue/view/178
2025-06-30
2025-06-30
3 2
132
146
-
สัมมนาการเมืองและการจัดการปกครองไทย : กรณีศึกษาปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/2103
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะรวมศูนย์อำนาจและความท้าทายในการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค การศึกษานี้อาศัยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย ตั้งแต่แนวคิดพื้นฐาน พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างการปกครองไทยยังคงมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง แม้จะมีความพยายามในการกระจายอำนาจผ่านกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ แต่ในทางปฏิบัติยังคงประสบปัญหาหลายประการ อาทิ การทับซ้อนของอำนาจหน้าที่ ความไม่ชัดเจนในการแบ่งภารกิจ ขาดความเป็นอิสระในการบริหารงบประมาณ และวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดติดกับระบบราชการแบบดั้งเดิม บทความนี้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการกำกับดูแลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานระดับภูมิภาค</p>
จิรวัฒน์ วัฒนถนอม
พันเอกชยพล คำสุวรรณ
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/issue/view/178
2025-06-30
2025-06-30
3 2
74
83
-
นักการเมืองกับการสื่อสารในยุคดิจิทัล ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจของประชาชน
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/2105
<p> การสื่อสารทางการเมืองในยุคดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ สื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการรณรงค์หาเสียงและสร้างความแตกแยกทางการเมือง การเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วทำให้เกิดปัญหาข่าวปลอมและการบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของนักการเมือง</p> <p> บทความนี้ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับการสื่อสารในยุคดิจิทัล โดยวิเคราะห์ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของประชาชน ผ่านแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง ทฤษฎีความไว้วางใจทางการเมือง และทฤษฎีสื่อดิจิทัล การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างการสื่อสารทางการเมืองที่มีความน่าเชื่อถือและสร้างความไว้วางใจจากประชาชนได้อย่างยั่งยืน การเข้าใจพลวัตของการสื่อสารทางการเมืองในยุคดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 21</p>
พระครูวิรุฬห์ปัญญาสาร
พระมหาอานันต์ เจริญศิริพัชร
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/issue/view/178
2025-06-30
2025-06-30
3 2
84
95
-
ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/article/view/2111
<p> </p> <p> การปกครองท้องถิ่น ถือเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในระดับฐานรากของสังคมไทย อย่างไรก็ตาม ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นไทยยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการบริหารงานท้องถิ่น โดยเฉพาะในด้านการวางแผน การตัดสินใจ และการตรวจสอบการใช้งบประมาณสาธารณะ พบว่าอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ขาดช่องทางหรือกลไกการมีส่วนร่วมที่ชัดเจน รวมถึงวัฒนธรรมทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ที่ยังฝังรากลึก แนวทางการแก้ไขปัญหาจึงควรมุ่งเน้นการสร้างเสริมศักยภาพประชาชนในด้านการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการสื่อสารสองทางระหว่างประชาชนกับภาครัฐ และยกระดับความโปร่งใสของการบริหารงานท้องถิ่นให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ การพัฒนาการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบจะช่วยยกระดับคุณภาพของการปกครองท้องถิ่นไทยให้มีความเข้มแข็ง โปร่งใส และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในระยะยาว</p>
มานพ เสียงล้ำ
พัณณิดา ไชยสิทธิ์
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SITT/issue/view/178
2025-06-30
2025-06-30
3 2
96
105