ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระสถิรวัฒน์ ศรีธรรมวงศ์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย จำนวน 359 คน และกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย ผู้นำชุมชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย จำนวน 10 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า : (1) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความพึงพอใจ ด้านความถูกต้องและด้านความสามารถ ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย อย่างมีนียสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านหลักนิติธรรม (X1) ปัจจัยด้านหลักคุณธรรม (X2) ปัจจัยด้านหลักการมีส่วนร่วม (X4) และปัจจัยด้านหลักความรับผิดชอบ (X5) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .670 .037 .031 และ .009 ตามลำดับ และ (3) จำเป็นที่จะต้อมีการจัดตำแหน่งบุคลากรให้ตรงกับตำแหน่งของงานที่ทำ และควรมีการบริหารงบประมาณที่ตรงไปตรงมาและมีความโปร่งใสให้เพียงพอต่อภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นในการบริการประชาชนและมีข้อจำกัดในการใช้งบประมาณในการบริหารงานต่าง ๆ โดยมีการประสานงานที่ดีทำให้การทำงานราบรื่นและไม่มีความซับซ้อนต่อการบริหารงานต่าง ๆ และให้มีความทันสมัยตรงต่อความต้องการของผู้มารับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:

ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

จิรัตติกาล สุขสิงห์. (2565). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ

บุคลากรในองค์กรารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์(Journal of Interdisciplinary

InnovationReview, 5(1), 211 – 219.

บุญเพ็ง สิทธิวงษา, นรา สมบูรณ์ (2565) ได้ศึกษาเรื่องการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร

หน่วยงานท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี. ประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย ครั้งที่ 9 และ

ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ปริญญา สัตยธรรม. (2450). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา : บริษัท วายเอช เอส

อินเตอร์ เนชั่นแนลจํากัด. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ

องค์กร). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระอุทัย จารุธมฺโม (แก่นจำปา) สาโรช เผือกบัวขาว และพนิต ศรีประดิษฐ์. (2566). แนวทางการพัฒนา

สมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภอ

อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 42 – 51.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13.

กรุงเทพฯ : บริษัท เอส.อาร์ พริ้นติ้งแมส โปรดักส์ จำกัด.

พัชริญา พงษสุทัศน, วิชชุกร นาคธน. (2565). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยใชหลักอิทธิบาทธรรมของ

บุคลากรเทศบาลตำบลในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการและนวัตกรรม

ทางสังคมศาสตร์, 4(1), 153 – 163.

ณัฐวัฒน์สิริพรวุฒิ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ในการบริหารองค์การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

ณีรนุช นรินทร์. (2557). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนศรีเมือง สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

บูรพา.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2557). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจา

นุเบกษา.

สุทธิพงษ์ ศรี วิชัย. (2550). หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุ งเทพฯ : จุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.