การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการบินแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ วิทวัสสำราญกุล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ปิยพร เทพกูล

คำสำคัญ:

การับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย, พฤติกรรมความปลอดภัย, สายการบิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร, พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการบินแห่งหนึ่ง โดยผู้วิจัยได้พัฒนาแบบสอบถามจากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล และการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรของพนักงาน ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานสายการบินแห่งหนึ่ง จำนวน 270 ชุด แบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และทดลองแจกแก่กลุ่มตัวอย่างที่คล้ายกัน โดยมีความเชื่อมั่นที่ 0.75 ใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการทดสอบสมมติฐานตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลด้วยค่า t และ One - Way ANOVA และทดสอบสมมติฐานการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานสายการบินแห่งหนึ่ง ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 185 คน มีอายุระหว่าง 31-40 ปี จำนวน 131 คน มีการศึกษา ในระดับปริญาตรี หรือ เทียบเท่า จำนวน 258 คน มีตำแหน่งเป็นพนักงานประจำสำนักงาน จำนวน 154 คน มีอายุการทำงานต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 164 คน  และเคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย จำนวน 269 คน 2) พนักงานมีการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้านการเรียนรู้และการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.67, S.D.=0.49) 3) ระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานอยู่ในระดับนาน ๆ ครั้ง โดยด้านการรายงาน มีระดับคะแนนสูงที่สุด (Mean= 2.46, S.D. = 1.03) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ ตำแหน่งงานปัจจุบัน ประสบการณ์การฝึกอบรมแตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน และพนักงานที่มีตำแหน่งงานปัจจุบัน และประสบการณ์การฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมความปลอดภัยความปลอดภัยในการทำงานที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานโดยรวม ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

ศุภสุตา ชาญประไพ. (2563). ปัจจัยเชิงสำรวจการรายงานความปลอดภัยด้านการบินภาคสมัครใจตาม

แนวทาง องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ. สืบค้น 9 มีนาคม 2565. จาก

http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/9011/2/Fulltext.pdf

ฐิติกานต์ ฉลองไกรเดช1, ไอย์รัชรชา อมรพิพัฒนะ2. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบผลการเข้ารับการ

ฝึกอบรม หลักสูตรการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านการบินต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย

ของบุคลากรด้านการบินในประเทศไทย. สืบค้น 9 มีนาคม 2565. จาก https://so03.tci-

thaijo.org/index.php/JIRGS/article/download/251936/170395

เปรมินทร์ กุดแถลง, อภิรดา นามแสง, ธัญญรัตน์ คำเพราะ. (2564). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยของหน่วยบินสังกัดกระทรวงกลาโหม. สืบค้น 9 มีนาคม 2565. จาก

http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/download/13107/11138

Umut Oztekin. (2016). Employees Attitudes toward Safety Risk Management and Safety

Performance at U.S. Airports. สืบค้น 9 มีนาคม 2565. จาก https://repository.lib.fit.edu/bitstream/handle/11141/2539/OZTEKIN-THESIS-2018.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Paul O’Connor1, Angela O’Dea2, Quinn Kennedy3, Samuel E. Buttrey4. (2010). Measuring

Safety climate in aviation: A review and recommendations for the future. สืบค้น 9

มีนาคม 2565. จาก https://apps.dtic.mil/sti/pdfs/ADA533556.pdf

Edward L. Owen. (2013). ASSESSING THE STATUS OF AIRLINE SAFETY CULTURE AND

ITS RELATIONSHIP TO KEY EMPLOYEE ATTITUDES. สืบค้น 9 มีนาคม 2565. จาก

https://jewlscholar.mtsu.edu/server/api/core/bitstreams/b6c6126d-a2e7-4877-a2bf-

fbddfabbcd00/content

Kerstan S. Cole1, Susan M. Stevens-Adams2, Caren A. Wenner3. (2013). A Literature Review of

Safety Culture. สืบค้น 10 มีนาคม 2565. จากhttps://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.1082.8051&rep=rep1&type=pdf

David Freiwald1, Carolina Lenz-Anderson2, Erik Baker3. (2013). Assessing Safety Culture within

a Flight Training Organization.// สืบค้น 10 มีนาคม 2565,// จากhttps://commons.erau.edu/cgi/

Nektarios Karanikas1, Alfred Roelen2, Alistair Vardy3. (2019). Design, Implementation and

Perceptions of Safety Culture Prerequisites. สืบค้น 10 มีนาคม 2565. จากhttps://www.matec-conferences.org/articles/matecconf/pdf/2019/22/matecconf_icsc_eswc2018_01004.pdf

Åsa Ek and Roland Akselsson. (2007). Aviation on the Ground: Safety Culture

in a Ground Handling Company. สืบค้น 10 มีนาคม 2565. จาก https://www.researchgate.net/profile/Asa-Ek/publication/254304301_Aviation_on_the_Ground_Safety_Culture_in_a_Ground_Handling_Company/links/546f36b70cf2d67fc03101b3/Aviation-on-the-Ground-Safety-Culture-in-a-Ground-Handling-Company.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

How to Cite

วิทวัสสำราญกุล ก., & เทพกูล ป. . (2023). การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการบินแห่งหนึ่ง. วารสารการจัดการอุตสาหกรรมการบิน, 1(1), 18–34. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/KBUJAM/article/view/99